เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เชื้อโปรโตซัว และจิตเภท


รองศาสตราจารย์แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 65,738 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 09/10/2556
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์และแมวที่มีมายาวนาน ตั้งแต่การเลี้ยงแมวเพื่อใช้ในจับหนูหรือสัตว์อื่นๆที่คอยทำลายธัญญพืช-ผลผลิตทางเกษตร ในปัจจุบันแมวเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมประจำบ้าน ที่แน่นอนว่าต้องเกี่ยวข้องกับโรค-เชื้อก่อโรคชนิดต่างๆได้แก่ แบคทีเรีย โรคจากรา โปรโตซัว และพยาธิ แต่โรคทางจิตเภทมีความสัมพันธ์เช่นใดกับแมว 
ตำราที่เขียนในปีค.ศ. 1896 โดย Kraepelin ที่กล่าวถึงข้อสังเกตว่าโรคจิตเภทที่เรียกว่า dementia praecox หรือ schizophrenia อาจเกิดจากโรคติดเชื้อที่ส่งผลต่อสมอง และมีผู้ตั้งสมมติฐานถึงโรคจิตเภทที่อาจเกิดจากความอ่อนแอทางกายภาพหรือแม้แต่จากโรคติดเชื้อบางชนิด ต่อมา พบว่าในผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติทางพฤติกรรมบางอย่าง มีผลสืบเนื่องจากโรคติดเชื้อ เช่น โรคมาเลเรีย เมื่อติดเชื้อโปรโตซัว Plasmodium โรคไข้ง่วงหลับหรือ sleeping sickness จากเชื้อ Trypanosoma เป็นต้น มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากโดย Torrey เมื่อปี 2549 ที่พบความเชื่อมโยงที่ชัดเจนมากขึ้น ระหว่างผู้ป่วยจิตเภทและการติดเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii (T. Gondii
T. gondii เป็นโปรโตซัวที่อาศัยในเซลล์ การสืบพันธุ์มีทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทำให้พบรูปร่างมากกว่าหนึ่งแบบ ได้แก่ Oocyst, Tachyzoites, Bradyzoites พัฒนาจาก Tachyzoites โดยเจริญแบ่งตัวช้าๆเพื่อปรับให้ดำรงชีพอยู่ได้ในเนื้อเยื่อเช่น กล้ามเนื้อ สมอง เซลล์ประสาท ของเจ้าบ้าน ทำให้เกิดอาการโรคที่เรื้อรังในโฮสท์เจ้าบ้าน (definitive host) ซึ่งเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ได้แก่ แมวบ้านทั้งหลายนี้เอง นอกจากนี้ ยังพบ T. gondii ได้ในสัตว์กัดแทะ เช่น หนู ในสัตว์เศรษฐกิจเช่น หมู วัว ควาย แพะ แกะ และสัตว์ที่คนนำมาเป็นอาหาร 
โรค Toxoplasmosis ที่พบครั้งแรกในสัตว์ฟันแทะที่แอฟริกาเหนือ และติดต่อมาสู่คนได้จึงเป็นโรคจากสัตว์สู่คน (zoonosis) ที่พบทั่วโลก จากการที่แมวกินเนื้อสัตว์ที่มี bradyzoites หรือกิน oocyst ที่ปนเปื้อนในดิน โดยในลำไส้แมว oocyst แตกตัวเป็น sporozoite มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศเพิ่มจำนวนอยู่ในลำไส้ ท้ายสุดอุจจาระของแมวนี้มี oocyst ปนเปื้อนออกมา ในลักษณะไข่ที่มีเปลือกหุ้มและทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ทำให้เกิดการปนเปื้อนอยู่ในดิน ในธรรมชาติ แปลงผัก พืช ผลไม้ ส่วนสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น สัตว์กินเนื้อหรือสัตว์กินพืช ที่กิน oocyst เข้าไป จะเจริญเป็น cyst ในกล้ามเนื้อหรือ bradyzoites 
ในคนนั้นจะเกิดโรค toxoplasmosis เมื่อกิน bradyzoites หรือ oocyst โดยได้เชื้อที่ปนเปื้อนดังต่อไปนี้

  • บริโภคเนื้อสัตว์เช่น เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อวัว ที่มี cyst และปรุงแบบสุกๆดิบ
  • ได้รับเชื้อจากการปนเปื้อนในลักษณะ
    • ทำงานเกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์ที่มีโปรโตซัวแล้วใช้มือที่ปนเปื้อนหยิบจับอาหาร
    • การใช้ภาชนะ มีด เขียงที่ปนเปื้อนจากการใช้กับเนื้อสัตว์ที่มีโปรโตซัว
      • การรับเชื้อหลังสัมผัสกับมูลแมว
        • ทำความสะอาดถาดขับถ่ายของแมวที่ขับโปรโตซัวออกมาในการถ่ายมูล
        • การสัมผัส-กินหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนมูลแมวหรือดินที่ปนเปื้อน
      • การให้เลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ แต่พบได้น้อยมาก
      • การถ่ายทอดจากครรภ์มารดาสู่ทารก
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Carruthers VB, Suzuki Y. Effects of Toxoplasma gondii infection on the brain. Schizophr Bull. 2007;33: 745-751.
  2. Cetinkaya Z, Yazar S, GeciciO, Namli MN. Anti-Toxoplasma gondii antibodies in patients with schizophrenia- preliminary findings in a Turkish Sample. Schizophr Bull. 2007; 33 (3): 789-791.
  3. Dickinson F, Boronow J, Stallings C, Origoni A, Yolken R. Toxoplasma gondii in Individuals With Schizophrenia: Association With Clinical and Demographic Factors and With Mortality. Schizophr Bull. 2007; 33(3): 737–740.
  4. Fond G. et al. Toxoplasma gondii: a potential role in the genesis of psychiatric disorders. Encephale. 2013; 39:38-43. (Abstract)
  5. Hinze-Selch D, Da?ubener W,Eggert L, Erdag S, Stoltenberg R,Wilms S. A controlled prospective study of Toxoplasma gondii infection in individuals with schizophrenia: beyond seroprevalence. Schizophr Bull. 2007; 33:782-788.
  6. Ling VJ, Lester D, Bo Mortensen P, Langenberg PW, Postolache TT. Toxoplasma gondii Seropositivity and Suicide rates in Women. J Nerv Ment Dis. 2011; 199(7): 440–444.
  7. Postolache TT; et al. Toxoplasma gondii and suicidal behavior. Neurology, psychiatry and brain research. 2012; 18:77.
  8. Torrey EF, Bartko JJ, Lun ZR, Yolken RH. Antibodies to Toxoplasma gondii in patients with schizophrenia: a meta analysis. Schizophr Bull. 2006; 33(3):729-736.
  9. Torrey EF, Bartko JJ, Yolken RH. Toxoplasma gondii and other risk factors for schizophrenia: an update. Schizophr. Bul. 2012; 38(3):642-647.
  10. Zhang Y. et al. Toxoplasma gondii Immunoglobulin G Antibodies and Nonfatal Suicidal Self-Directed Violence. J Clin Psychiatr. 2012; 73(8): 1069-1076.


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ดอกคาโมมายล์ 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้