ยา...หมดอายุ?
รองศาสตราจารย์ ดร. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
78,674 ครั้ง เมื่อ 2 ช.ม.ที่แล้ว | |
2013-09-15 |
ถึงแม้ยาที่ผลิตมานั้นจะผ่านกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยา และผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาอย่างเข้มงวดแล้ว แต่ไม่อาจคงคุณภาพนั้นไว้ได้ตลอดกาล เนื่องจากยาแต่ละชนิดมีความคงตัวแตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไป ยานั้นๆ จะมีคุณภาพเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีการกำหนดอายุการใช้ยา เพื่อไม่ให้มีการจัดเก็บยาไว้นานจนเกินไปจนยาหมดอายุและเสื่อมสภาพลงจนมีผลให้คุณภาพลดน้อยลงไปจากเดิม หรือมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการรักษา หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ยาได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าการกำหนดวันหมดอายุเป็นการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของยานั่นเอง และด้วยเหตุนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ยาแผนปัจจุบันทุกชนิดเป็นยาที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลากด้วย
สำหรับความหมายของวันหมดอายุ หรือวันสิ้นอายุของยา คือวันที่กำหนดอายุการใช้ยาสำหรับยาที่ผลิตในแต่ละครั้ง เพื่อแสดงว่ายาดังกล่าวมีคุณภาพมาตรฐานตามข้อกำหนดตลอดช่วงระยะเวลาก่อนถึงวันสิ้นอายุของยา หากยาเหล่านั้นอยู่ภายใต้สภาวะการจัดเก็บที่ถูกต้องตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตตั้งแต่วันที่ผลิตจนถึงวันสิ้นอายุของยา ซึ่งการกำหนดวันหมดอายุและสภาวะการจัดเก็บยาเป็นข้อมูลซึ่งได้จากการศึกษาความคงตัวของตัวยานั่นเอง
ดังนั้นหากยาถูกเก็บไว้นานเกินกว่าวันหมดอายุ ผู้บริโภคจึงไม่อาจทราบถึงคุณภาพของยานั้นได้ นอกจากนี้ หากการจัดเก็บยาไม่เป็นไปตามสภาวะการจัดเก็บที่แนะนำ หรือยาถูกเปิดใช้ หรือเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ก็อาจส่งผลให้ยาเสื่อมสลายได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่มีความคงตัวต่ำอายุยาย่อมสั้นลง ประชาชนในฐานะผู้บริโภคจึงควรทราบวิธีการสังเกตยาหมดอายุ ซึ่งจะเป็นวิธีการตรวจสอบคุณภาพยาอย่างง่ายที่ผู้ใช้ยาสามารถทำได้เอง ข้อควรรู้พื้นฐานในการพิจารณาวันหมดอายุของยา มีดังนี้
ทั้งนี้ ยาที่จะมีคุณภาพที่ดีอยู่ในช่วงที่กำหนดจนถึงอายุยาที่กล่าวข้างต้น ยาเหล่านั้นจะต้องอยู่ภายใต้การจัดเก็บที่เหมาะสมตามที่แนะนำโดยบริษัทผู้ผลิตด้วย เพราะหากมีการจัดเก็บที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ไวต่อสภาวะแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้น ยาจะเสื่อมสภาพ หรือมีคุณภาพลดลงต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดก่อนวันหมดอายุที่ระบุได้ นอกจากนี้ การสังเกตลักษณะทางกายภาพของยาร่วมด้วยจัดเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะหากยามีลักษณะที่เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว ก็อาจอนุมานได้ว่าคุณภาพของยาน่าจะเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน
![]() |
การคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล ตามวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (price performance) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
กินอะไร เลี่ยงอะไร ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคย้ำคิดย้ำทำ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
มะรุม พืชที่ทุกคนอยากรู้ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การใช้ยาในหญิงมีครรภ์ : ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
บัวหลวง...สัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
กลูต้าไธโอน (glutathione) ทำให้ขาวจริงหรือ?? 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ .. ที่นี่มีคำตอบ 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
เก็บยาในโรงพยาบาลให้ถูกวิธี 2 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome