Eng |
รองศาสตราจารย์ ดร.อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อายุรเวทเป็นศาสตร์การแพทย์ของชาวอารยันหรือชาวฮินดู มีหลักเกณฑ์ในการใช้สมุนไพรที่ลึกซึ้ง โดยมีหลักในการจำแนกสมุนไพร 5 ประการคือ
1. Rasa แบ่งออกเป็น 6 รส ได้แก่
2. Guna คือ คุณสมบัติ ที่ได้ผ่านการใช้จากชาวอารยันโบราณและบันทึกต่อๆกันมาคือ Materia Medica ของอินเดีย จักได้กล่าวโดยละเอียดต่อไป
3. Veerya คือ กำลัง อันเนื่องมาจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ตัวยาจะมีกำลังเป็นร้อน (Ushna Veerya) หรือเย็น (Sheeta Veeraya) ตัวยาร้อนทำให้เกิดการวิงเวียน กระหายน้ำ หงุดหงิด ไม่สบาย เหงื่อออก ความรู้สึกแสบร้อน ระงับไอ และวาตะ เพิ่มน้ำดีและช่วยย่อย ตัวยาเย็นลดน้ำดีเพิ่มวาตะและเสมหะ ทำให้มีแรงและความสุข บำรุงโลหิต เมื่อให้ยาที่มีผลเหมือนกับอาการโรคที่เป็นดังที่กล่าวว่า Similia similibus curantur ในการรักษาแบบ homeopathy คือหลักการที่คนป่วยจากการได้รับความร้อนจะต้องรักษาด้วยยาร้อนแต่มีผลทำให้เย็น และเช่นเดียวกันกับโรคจากความเย็น ไม่เชานนั้นจะมีผลร้าย
4. Vipaka คือ การแปรเปลี่ยนของสมุนไพรเมื่อเข้าไปในร่างกายมนุษย์ เมื่อถึงกระเพาะถูกกับน้ำย่อยจะถูกสลายและกลายเป็นอย่างอื่น มีสรรพคุณเปลี่ยนไปจากปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิด สภาวะที่เปลยี่ยนแปรไปของตัวยาเรียกว่า Vipaka โดยขึ้นกับรสยา ถ้าเป็นรสเค็มจะกลายเป็นหวาน รสขมและรสฝาดกลายเป็นเผ็ด ส่วนรสหวาน เปรี้ยว เผ็ด มี Vipaka คงเดิม ยกเว้นข้าวมีรสหวานแต่ด้วยอิทธิพลจากร่างกายกลายเป็นเปรี้ยว สมอไทยมีรสฝาดแต่ในร่างกายเป็นรสหวาน Sweet Vipaka บำรุงเสมหะ ลดวาตะและน้ำดี Sour Vipaka เพิ่มน้ำดีลดวาตะและเสมหะ ขณะที่ Pungent Vipaka ทำให้เกิดโรควาตะ ลดเสมหะและน้ำดี ดังนั้นผลในการรักษาจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับรสยาเพียงอย่างเดียวแต่ยังขึ้นอยู่กับรสของ Vipaka ของตัวยานั้นด้วย
5. Prabhava คือ ความเฉพาะของตัวยานั้นๆ มียาหลายตัวที่มี ทั้ง 4 ข้อข้างต้นเหมือนกันแต่ผลของยาต่างกัน เช่น Madhusarava (Madhuca longifolia) และ Draksha (Vitis vinifera) ต่างก็มีรสหวาน เย็น หนัก และมี sweet vipaka แต่ตัวแรกทำให้ท้องผูกในขณะที่ตัวหลังช่วยระบาย คุณสมบัติอันนี้เรียกว่า Prabhava อีกตัวอย่างคือ เจตมูลเพลิงขาว Chitraka (Plumbago zeylanica) และ Danti (Croton polyandrum) ต่างก็มีรสเผ็ด ร้อน เบา pungent vipaka แต่ ตัวแรกช่วยย่อยในขณะที่ตัวหลังเป็นยาถ่ายอย่างแรง
จากหนังสือ History of Hindu Medical Science โดย Bhagvat Sinh Jee ได้บันทึกรายชื่อสมุนไพรที่ใช้ในอายุรเวทและมีการใช้ประโยชน์ในการแพทย์แผนไทยด้วย ซึ่งมีชื่อสันสกฤต ชื่อวิทยาศาสตร์และสรรพคุณในการแพทย์ตะวันตกและสรรพคุณทางอายุรเวท เปรียบเสมือน Materia Medica
เป็นคุณสมบัติข้อ 2 Guna ของการพิจารณาการใช้ประโยชน์สมุนไพร
ลำดับ | สรรพคุณทางฮินดู | สรรพคุณทางแพทย์ | ชื่อสันสกฤต | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อไทย | สรรพคุณไทย* |
1 | Angamarda-prashamana | antispasmodic | Vidarigandha | Costus speciosus | เอื้องหมายนา | แก้ปวดเกร็ง |
2 | Anulomana | cathartic | Haritaki | Terminalia chebula | สมอไทย | ยาถ่าย |
3 | Arshogna | haemostatic | Indrayava | Wrightia antidysenterica | ตระกูลเดียวกับโมกมัน | หยุดเลือด |
4 | Artavotpadaka | emmenagogue | Jotishmati | Cardiospermum helicacabum | โคกกระออม | ขับประจำเดือน |
5 | Ashmarighna | litholytic | Gokshura | Tribulus terrestris | โคกกระสุน | สลายนิ่ว |
6 | Bhedana | purgative | Katuki | Picorrhiza kurroa | โกฐก้านพร้าว | ยาถ่าย |
7 | Chardinigrahana | anemetic | Dadima | Punica granatum | ทับทิม | ถ่ายพยาธิ |
8 | Chhedana | laxative | Marichi | Piper nigrum | พริกไทย | ยาระบาย |
9 | Dahaprashamana | antipyretic | Ushira | Andropogon nardus | ตะไคร้หอม | แก้ไข้ |
10 | Dambha | escharotic | Bhallataka | Semecarpus anacardium | มะม่วงหิมพานต์ | กัดหูด ตาปลา |
11 | Deepaneeya | stomachic | Pippalimoola | Piper longum | ดีปลี | บำรุงธาตุ |
12 | Garbhasravi | ecbolic | Grinjana | Daucus carota | แครอต | บีบมดลูกเร่งคลอด |
13 | Grahi | carminative | Jeeraka | Cuminum cyminum | ยี่หร่า | ขับลม |
14 | Kafahara | antiphlegmagogue | Bibheetaka | Terminalia bellerica | สมอพิเภก | ระงับเสมหะ (ไตรธาตุ) |
15 | Kafakara | phlegmagogue | Ikshu | Saccharum officinarum | อ้อย | กระตุ้นเสมหะ (ไตรธาตุ) |
16 | Kandughna | antipsoric | Chandana | Santalum album | จันทนา | แก้คัน |