เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บวบขม


รองศาสตราจารย์ ดร.วีณา จิรัจฉริยากูล ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 35,295 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 24/11/2555
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

 
บวบขม เป็นพืชวงศ์ Curcubitaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes cucumerina L. บวบขมเป็นไม้เถาพาดพันต้นไม้อื่น ขึ้นเองตามริมน้ำ ลำต้นเป็นร่องมีขนและมือเกาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปกลม ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึก 5 แฉก แผ่นใบกว้าง 8-12 ซม. เส้นใบเป็นร่องลึกเห็นชัด ดอกเพศผู้ สีเหลือง มีก้านชูดอกยาว 6-16 ซม. ดอกออกเป็นกระจุกชิดกัน ก้านชูดอกย่อยสั้น ดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองตามซอกใบ ฐานรองดอกอวบสีเขียวเข้ม ผลรูปกลมรี หัวท้ายแหลม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ผิวสีเขียวขรุขระเล็กน้อย จุดประสีขาวทั่วผล ลายสีเขียวเข้มตามความยาวของผล เมล็ดอ่อนสีขาวจำนวนมากอัดแน่นเป็นแถว เมื่อแก่สีดำรูปหยดน้ำ แบน กว้าง 0.4-0.5 ซม. ยาว 0.8 ซม. 
บวบขมเป็นพืชในเขตเอเซียเขตร้อน สรรพคุณพื้นบ้าน ผลหรือเถาเข้าตำรับยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ ยาไทยใช้ผลสดฟอกศีรษะ แก้คัน รังแคและฆ่าเหา เถาและราก ต้มน้ำเป็นยาลดไข้ ระบาย แก้อักเสบต่างๆ ฟอกเลือด ขับระดู และใช้ในท่อน้ำดีอักเสบ 
ผลบวบขมมีรสขม เพราะมีสารชื่อ คิวเคอร์บิตาซินปริมาณมาก คิวเคอร์บิตาซินเป็นสารขมที่เป็นลักษณะเฉพาะของพืชวงศ์คิวเคอร์บิตาซี เป็นสารกลุ่มไทรเทอร์ปีนที่มีออกซิเจนจำนวนมาก คิวเคอร์บิตาซินหลักในบวบขมเป็นคิวเคอร์บิตาซิน บี คิวเคอร์บิตาซิน บี แสดงฤทธิ์แรงในการยับยั้งเซลล์มะเร็งช่องคอและจมูก (KB cell) เซลล์มะเร็งเต้านมชนิด ER positive และ ER negative 
การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในรูปน้ำคั้น จัดเป็นการใช้แบบแผนโบราณ การเตรียมน้ำคั้นจากผลบวบขม สามารถเตรียมได้โดยคั้นน้ำจากผลสด 10-11 ก. ซึ่งเป็นขนาดที่ใช้ต่อวัน จะได้น้ำคั้นประมาณ 1 มล. ซึ่งจะมีคิวเคอร์บิตาซิน บี 0.12 มก. ให้ดื่มน้ำคั้นหลังอาหารเช้าหรือเย็น การเตรียมน้ำคั้นสามารถเตรียมให้พอใช้ได้ 2-3 วัน โดยเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น

แหล่งอ้างอิง/ที่มา


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


บวบขม 1 วินาทีที่แล้ว
ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด 2 นาทีที่แล้ว
2 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้