Knowledge Article


สมองเสื่อมกับยาที่ต้องระวัง


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : http://images.indianexpress.com/2016/09/dementia-main.jpg
35,128 View,
Since 2017-09-24
Last active: 1m ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +


ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรสูงอายุจำนวนมาก และภาพรวมของประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ “สังคมสูงวัย” (aged society) และในอีก 7-10 ปีข้างหน้าจะเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (completed aged society)



ภาพจาก : http://images.indianexpress.com/2016/09/dementia-main.jpg

ดังนั้นโอกาสที่จะมีจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมจึงสูงมากขึ้นตามลำดับ ภาวะสมองเสื่อมแบ่งได้หลายประเภท ตัวอย่างเช่น ภาวะสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease), Vascular dementia, Lewy body dementia และ Frontotemporal dementia เป็นต้น

โรคต่างๆ ที่นำมาสู่ภาวะสมองเสื่อมดังกล่าวข้างต้น แม้จะมีสาเหตุและพยาธิสภาพในสมองที่แตกต่างกัน แต่จะส่งผลทำให้สารสื่อประสาท (neurotransmitters) ในสมองหลายตัวมีปริมาณลดลง เช่น acetylcholine, , norepinephrine และ dopamine เป็นต้น สารสื่อประสาทโดยเฉพาะ acetylcholine มีความสำคัญกับกระบวนการเก็บความจำ เมื่อมีปริมาณลดลงจึงทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมมีอาการหลงลืม ไม่สามารถจำเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ในขณะที่ norepinephrine และ dopamine มีความสำคัญกับสมาธิ ความตั้งใจ แรงจูงใจ ในการทำงานต่างๆ ให้สำเร็จ เมื่อสารสื่อเหล่านี้ลดลงจะทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมขาดความกระตือรือร้น มีอารมณ์เฉยชา เซื่องซึมได้

ดังนั้นการใช้ยาที่มีผลลดการทำงานหรือต้านการทำงานของสารสื่อประสาทที่กล่าวมาข้างต้นนี้ อาจส่งผลให้อาการหลงลืมหรืออาการเซื่องซึมในผู้ป่วยสมองเสื่อมยิ่งมีอาการเลวลงได้



กรณีต้องใช้ยารักษาอาการแพ้หรือน้ำมูกไหลซึ่งจะได้ผลดีจากการใช้ยาแก้แพ้กลุ่มที่ทำให้ง่วง แต่ในผู้ป่วยสมองเสื่อมหากใช้ยากลุ่มนี้อาจทำให้ผู้ป่วยสับสน วุ่นวายมากขึ้น ควรเปลี่ยนไปใช้ยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วง เช่น loratadine, fexofenadine, desloratadine เป็นต้น เนื่องจากยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงจะไม่รบกวนการทำงานของ acetylcholine

นอกจากนี้ยังมียาบางกลุ่มที่ไปคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้หย่อนตัวลงโดยไปลดการทำงานของสารสื่อประสาท norepinephrine เช่น ยาที่ใช้ในภาวะต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia) ได้แก่ terazosin, doxazosin, tamsulosin และ alfuzosin ยาเหล่านี้เมื่อผ่านเข้าไปในสมองอาจจะทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมร่วมด้วยมีอาการเซื่องซึม อ่อนแรง (asthenia) หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรใช้ในขนาดต่ำเท่าที่จำเป็น และติดตามอาการข้างเคียงเหล่านี้ในผู้ป่วยด้วย
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.