Knowledge Article


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 10


รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา
ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
14,384 View,
Since 2013-09-04
Last active: 3m ago
https://tinyurl.com/youqd24u
Scan to read on mobile device
 
A - | A +
ซองบรรจุภัณฑ์จากการขึ้นรูป บรรจุ และปิดผนึก

ซองบรรจุภัณฑ์มีหลักการบ่งชี้ร่องรอยการแกะที่ดีและสามารถปกป้องผลิตภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อมได้ดี ในสายการผลิตนั้นจะใช้เครื่องขึ้นรูปซอง บรรจุผลิตภัณฑ์ และปิดผนึก (f/f/s, forming, filling and sealing equipments) ทั้งในแนวตั้งหรือแนวนอนซึ่งมีหลักการทำงานแตกต่างกัน

สำหรับการขึ้นรูป บรรจุ และปิดผนึกในแนวตั้ง ดังแสดงในรูปที่ 1 แผ่นฟิล์มจะเข้าไปอยู่เหนือปลอกขึ้นรูปทรงกระบอก (tube forming collar) และรอบๆ กระบอกบรรจุในแนวตั้ง ซึ่งผลิตภัณฑ์จะถูกหยอดลงในซองขึ้นรูป กระบอกบรรจุทำหน้าเป็นด้ามจับที่ควบคุมการเกิดซอง และเป็นที่พักพิงขณะทำการปิดผนึกตามแนวยาว ซึ่งอาจเป็นการปิดผนึกแบบครีบหรือทับซ้อน ทำให้เกิดฟิล์มรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง ที่ด้านล่างกระบอกบรรจุดังกล่าวมีตัวปิดผนึกเคลื่อนที่เข้าออก (reciprocating sealer) จะทำการปิดผนึกตรงก้นซองที่บรรจุผลิตภัณฑ์ และส่งไปให้ใบมีดตัดตรงก้นออก ซึ่งจะเป็นส่วนปากที่ปิดผนึกของซองก่อนหน้านี้ การบรรจุใช้แรงโน้มถ่วง จึงมีประโยชน์ในการบรรจุผงยา แกรนูล ยาเม็ด และของเหลวที่มีคุณสมบัติไหลดี1



สำหรับการขึ้นรูป บรรจุ และปิดผนึกในแนวนอน ดังแสดงในรูปที่ 2 ซึ่งจะใช้บรรจุได้ในปริมาณน้อยกว่าระบบแรก เนื่องจากการขึ้นรูปเป็นซองที่ค่อนข้างแบน ในระบบนี้แผ่นฟิล์มจะถูกทบตรงกลางระหว่างตัวปิดผนึกตามแนวตั้งที่เคลื่อนที่เข้าออก 2 ตัว ให้เป็นซองที่ถูกปิดผนึกด้านข้าง ต่อมาบรรจุผลิตภัณฑ์บนปากซอง และปิดผนึกด้านบนของซองต่อไปด้วยตัวปิดผนึกตัวบน และส่งไปตัดตรงระหว่างด้านข้างของซอง1

การจะได้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติต้านการแกะสูงขึ้น จะต้องให้มีการปิดผนึกของพื้นผิวภายในติดต่อกัน โดยใช้วัสดุที่มีขีดการปิดผนึกที่ดี ได้แก่ PE, PVA (พอลิไวนิลอะซีเตต) PVDF (พอลิไวนิลลิดีนฟลูออไรด์, Surlyn®) สามารถฉีกขาดได้เมื่อต้องการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ ผิวของชั้นนอกจะต้องมีคุณสมบัติถูกพิมพ์ได้ดีและทนความร้อน เพราะจะต้องสัมผัสกับแท่งปิดผนึกที่ร้อน นอกจากนี้ชั้นนอกสุดจะต้องแข็งแรงเข้ากับเครื่องจักรได้ดี และขนย้ายได้ง่าย อาจใช้วัสดุอื่น ได้แก่ พอลิเอสเทอร์ และเซลโลเฟน ซึ่งมีข้อดีที่ใส ผิวมัน และต้านการเจาะ (puncture resistance)1



ผลิตภัณฑ์ที่ไวต่อความชื้นและออกซิเจนควรใช้ฟอยล์อะลูมิเนียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลามิเนต ได้แก่ PE/ฟอยล์/PE หรือ พอลิเอสเทอร์/PE/ฟอยล์/PE เป็นต้น1

เอกสารอ้างอิง

  1. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.