หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

GERD ในทารกและเด็ก

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มิถุนายน ปี 2547 -- อ่านแล้ว 7,801 ครั้ง
 


Gastro-esophageal reflux และ gastro-esophageal reflux disease (GERD) พบในทารกได้บ่อยกว่าที่พบในเด็กหรือผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากหลอดอาหารและกระเพาะอาหารของทารกยังเจริญไม่เต็มที่ อีกทั้งทารกได้รับของเหลวเป็นปริมาณสัดส่วนที่มากกว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ พันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในบางครอบครัว อาการทางคลินิกที่พบส่วนใหญ่จะเป็นการขย้อน (regurgitation) และอาเจียน ซึ่งอาการดังกล่าวมักหายไปในช่วงอายุ 1 ถึง 3 ปี ส่วนอาการของ GERD ที่พบในเด็กจะคล้ายในผู้ใหญ่ การรักษาจะขึ้นกับอายุและความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ในรายที่มีอาการไม่รุนแรงโดยเฉพาะในทารกอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่ควรให้คำอธิบายถึงการปฏิบัติตัว ตลอดจนให้อาหารข้นขึ้นเพื่อลดสัดส่วนที่เป็นน้ำลง มีการใช้ prokinetic drugs เช่น metoclopramide แต่ยังไม่มีการยืนยันถึงประสิทธิผล ส่วนยาลดกรดไม่แนะนำให้ใช้เป็นเวลานาน สำหรับในรายที่มีอาการ GERD ขั้นปานกลางจนถึงรุนแรง ยายับยั้งการหลั่งกรด เช่น histamine-2-receptor antagonists และ proton pump inhibitors (PPIs) ให้ประสิทธิผลดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ PPIs ในผู้ที่มีภาวะของหลอดอาหารอักเสบ (esophagitis) เกิดขึ้น ยา PPIs บางตัวได้การยืนยันประสิทธิผลให้ใช้ในทารกและเด็กได้ เช่น omeprazole และ lansoprazole แต่ต้องปรับลดขนาดยาลง
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้