หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประสิทธิผลของ valsartan กับ amlodipine ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง: VALUE trial

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มิถุนายน ปี 2547 -- อ่านแล้ว 22,291 ครั้ง
 


ตามที่มีรายงานว่ายาที่ให้ผลในการป้องกัน mortality และ morbility ที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ยากลุ่ม calcium antagonists และ angiotensin-converting enzyme inhibitors นั้น ได้มีผู้ทำการศึกษาแบบ randomized, double-blind trial โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเข้าร่วม 15,245 คน มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยการศึกษาสิ้นสุดลงเมื่อได้จำนวนผู้ป่วยที่เกิด mortality และ morbility ที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 1,450 คน ซึ่งค่าเฉลี่ยของการติดตามผลการศึกษาประมาณ 4.2 ปี ผลการศึกษาพบว่ายาลดความดันโลหิตทั้งสองชนิดให้ประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตได้ดีไม่แตกต่างกัน แต่ในช่วง 1 เดือนหลังการใช้ยาพบว่า amlodipine สามารถลดความดันโลหิตได้ดีกว่า valsartan นอกจากนี้ทางด้านการเกิด mortality และ morbility ของระบบหัวใจและหลอดเลือดและ stroke ก็ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่า valsartan จะพบอุบัติการณ์ของ myocardial infarction มากกว่า amlodipine อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.02) ก็ตาม ส่วนการชะลอการเกิดโรคเบาหวานนั้น พบว่า valsartan สามารถลดอุบัติการณ์ได้มากกว่า amlodipine อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.0001)

ในด้านผลข้างเคียง พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา amlodipine มีอาการบวม (peripheral edema) มากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา valsartan ถึง 2 เท่า และยังพบโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับยา valsartan พบอาการเวียนศีรษะ ปวดหัว ท้องเสีย และเจ็บหน้าอก มากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา amlodipine

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้