หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Topical Tretinoin Gel Improved Acne in Preadolescents: Study

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มิถุนายน ปี 2553 -- อ่านแล้ว 2,833 ครั้ง
 
ข้อมูลจากการศึกษาขนาดเล็กที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตที่ทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพของ 0.04% tretinoin รูปแบบเจลในการรักษาสิวในเด็กที่มีอายุอยู่ในช่วงก่อนวัยรุ่น (อายุระหว่าง 8-12 ปี) แบบ open-label ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า 0.04% tretinoin รูปแบบเจลให้ผลดีในการรักษาสิวและผู้ป่วยทนต่อยาได้ดี

แม้ว่าสิวจะเป็นปัญหาหลักในเด็กวัยรุ่น แต่ในเด็กที่มีอายุอยู่ในช่วงก่อนวัยรุ่นจำนวนมากกลับพบปัญหาการเป็นสิวด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่ร่างกายของเด็กมีการหลั่งฮอร์โมนเพศชายออกมามาก (adrenarche) ในช่วงแรกของวัยเจริญพันธุ์ ดังนั้นการรักษาสิวตั้งแต่ระยะแรกๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็นจากสิวและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของเด็กวัยนี้ได้ดี

Dr. Lawrence Eichenfield และคณะของโรงพยาบาลเด็กใน San Diego ได้นำเด็ก 40 คน (เป็นผู้หญิง 33 คน) ที่มีปัญหาสิวระดับความรุนแรงน้อย – ปานกลาง มาทำการศึกษา โดยอายุเฉลี่ยของเด็ก (mean age) คือ 10.7 ปี และค่ากลางของอายุเด็ก (median age) คือ 11 ปี การศึกษาทำโดยให้ผู้ทดลองทา 0.04% tretinoin รูปแบบเจล ในปริมาณยาเท่ากับการกดยาจากภาชนะบรรจุ 2 ครั้ง (pumpful) วันละ 1 ครั้ง โดยไม่ทำการรักษาด้วยวิธีอื่นเลย เมื่อครบ 12 สัปดาห์ พบว่ามีเด็ก 36 คนที่อยู่จนจบการศึกษา มี 33 จาก 36 ของผู้ทดลอง มีปัญหาด้านสิวลดลง ค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินความรุนแรงของสิว (The mean Evaluator\’s Global Severity Score) เมื่อเริ่มทดลองมีค่าเท่ากับ 2.6 (คะแนน 0-5 คะแนน 0 คือ ไม่มีปัญหา) เมื่อครบ 12 สัปดาห์ การประเมินแบบ ITT (intent-to-treat) ค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินความรุนแรงของสิว (The mean Evaluator\’s Global Severity Score) เท่ากับ 2.1 (p < 0.001) และค่าเฉลี่ยทางเลือกของคะแนนประเมินความรุนแรงของสิว (The mean Alternative Evaluator\’s Global Severity score) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 3.1 เป็น 2.4 (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยของรอยแผล (non-inflammation inflammation และ total lesions) ลดลง 37.3% มีผู้ทดลอง 15 คน พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการรักษา โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 3 สัปดาห์แรกของการรักษา และมีอาการน้อยกว่า 1 สัปดาห์ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาหมายรวมถึง การระคายเคืองทางผิวหนัง (skin irritation) การอักเสบภายหลัง (postinflammatory) การเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี (pigment change)และการสัมผัสแสงแดด (sunburn)

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้