หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Could Reducing Salt Consumption Prevent Cardiovascular Events?

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มกราคม ปี 2553 -- อ่านแล้ว 1,571 ครั้ง
 
แนวทางในการรักษาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจในปัจจุบันแนะนำปริมาณเกลือที่ควรได้รับ คือ ไม่เกิน 5-6 กรัมต่อวัน (ประมาณ 1 ช้อนชา) ซึ่งปริมาณการบริโภคเกลือของประชากรผู้ใหญ่ในทวีปยุโรปตะวันออกและเอเชียนั้นพบว่ามากกว่า 12 กรัมต่อวัน

จากการศึกษาชนิด meta-analysis ของ prospective study จำนวน 13 ชิ้นที่ได้รับการตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1966 จนถึง 2008 ซึ่งมีการติดตามผลอย่างน้อย 3.5 ปี จนถึง 19 ปี มีจำวนผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 177,025 ราย พบว่าในระหว่างที่ติดตามผลนั้นพบการเกิด vascular event มากกว่า 10,000 ครั้ง โดยในกลุ่มบริโภคเกลือปริมาณมาก (high-intake group) จะพบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิด stoke (relative risk, 1.23; 95% confidence interval, 1.06–1.43; P=0.007) และ cardiovascular disease (RR, 1.14; 95% CI, 0.99–1.32; P=0.07) ซึ่งหลังจากที่ตัดข้อมูลการศึกษาที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปพบว่าการเกิด cardiovascular disease นั้นมี pooled relative risk ประมาณ 1.17 (CI, 1.02–1.34; P=0.02) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่บริโภคเกลือน้อย (low-intake group) โดยปริมาณของเกลือที่บริโภคของทั้งสองกลุ่มนี้จะต่างกันประมาณ 5 กรัม ( 86 mmol ของโซเดียม) ต่อวัน

ข้อมูลจากการศึกษาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการรับประทานเกลือในปริมาณมากจะมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิด stroke และ cardiovascular event อย่างมีนัยสำคัญ และการลดปริมาณเกลือที่รับประทานต่อวันลง 5 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา) น่าจะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิด stroke และ cardiovascular event ได้ 23% และ 17% ตามลำดับ

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้