หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลของการใช้ chlorhexidine dressings ในหอผู้ป่วยวิกฤต

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน เมษายน ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,540 ครั้ง
 
มีการใช้แนวทางปฏิบัติต่างๆ หลายวิธี เพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดการติดเชื้อในระบบเลือดผ่านทางสายสวน (catheter-related bloodstream infections) มีการศึกษาแบบ multicenter, randomized, controlled study เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้ chlorhexidine gluconate-impregnated sponge (CHGIS) dressing ในการลดอุบัติการณ์ดังข้างต้นนี้ โดยสุ่มผู้เข้าร่วมทำการศึกษาเป็นสี่กลุ่ม คือ กลุ่มแรกได้รับวิธีมาตรฐานทั่วไป กลุ่มที่สองได้รับ CHGIS dressing ทุกวัน กลุ่มที่สามได้รับการเปลี่ยน dressing ทุกสามวัน กลุ่มสุดท้ายได้รับการเปลี่ยน dressing ทุกเจ็ดวัน มีผู้เข้าร่วมทำการศึกษา 1,636 คน ซึ่งเป็นผู้ที่เข้ารับการศึกษาในหอผู้ป่วยวิกฤตตั้งแต่เดือนธันวาคม 2006 ถึง พฤษภาคม 2008 ที่ต้องใส่ arterial cathether, central venous catheter, หรือใส่สายสวนทั้งสองชนิดเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง โดยสายสวนทุกชนิดใส่ให้ผู้ป่วยโดยวิธีเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่าการใช้ CHGIS dressing มีผลลดอุบัติการณ์ของ major catheter-related infection (CRI) จาก 1.4 เหลือ 0.6 ต่อ 1,000 วันที่ใส่ cathether (p=0.03) โดยไม่พบ chlorhexidine-resistant pathogens แต่พบอุบัติการ์การเกิดผื่นแพ้สัมผัสมากขึ้นในกลุ่ม chlorhexidine คือ ร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่พบร้อยละ 1 เมื่อพิจารณา cathether colonization rates ระหว่างกลุ่มที่เปลี่ยน dressing ทุกสามวันกับกลุ่มที่เปลี่ยน dressing ทุกเจ็ดวันพบว่าใกล้เคียงกัน จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า การใช้ CHGIS dressing ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดการติดเชื้อในระบบเลือดผ่านทางสายสวนได้
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้