หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ขนาดเส้นรอบคออาจนำมาช่วยประกอบการวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุงได้

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน กันยายน ปี 2556 -- อ่านแล้ว 5,085 ครั้ง
 
ในปัจจุบัน body mass index (BMI), waist circumference (WC) และ waist to hip ratio (WHpR) เป็นค่าที่นิยมใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

Jing-ya Zhou และคณะ ทำการศึกษาว่า เส้นรอบคอ (neck circumference, NC) จะสามารถใช้ทำนายความเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วนลงพุงได้เช่นกันหรือไม่ การศึกษานี้ได้ทำในกลุ่มตัวอย่างชาวจีนจำนวน 4,201 ราย อายุระหว่าง 20-85 ปี กลุ่มตัวอย่างได้รับการวัดขนาดเส้นรอบคอ ขนาดร่างกาย ความดันโลหิต รวมถึงตรวจปริมาณสารต่างๆ ในเลือด ผลการศึกษาพบว่าขนาดเส้นรอบคอมีค่าแปรผันตรงกับค่าความดันโลหิต systolic และ diastolic (r=0.250 และ 0.261) ระดับน้ำตาลในเลือด (r=0.177) ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด (r=0.240) ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด (r=0.143) และ ระดับไขมัน LDL ในเลือด (r=0.088) แต่แปรผกผันกับระดับไขมัน HDL ในเลือด (r=-0.202) ในกลุ่มตัวอย่างชาย ส่วนในกลุ่มตัวอย่างหญิงได้ผลคล้ายเคียงกันยกเว้นระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าขนาดเส้นรอบคออาจนำมาใช้ทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วนลงพุงได้ ในชาวจีน โดยผู้ทำการศึกษาแนะนำว่าจุดตัด (cut-off point) ของขนาดเส้นรอบคอสำหรับประกอบการวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง ได้แก่ ≥37 cm สำหรับผู้ชาย และ ≥33 cm สำหรับผู้หญิง

Key words: neck circumference, metabolic syndrome, ขนาดเส้นรอบคอ, โรคอ้วนลงพุง


คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
neck circumference metabolic syndrome ขนาดเส้นรอบคอ โรคอ้วนลงพุง
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้