หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การให้ paracetamol คู่กับ ibuprofen อาจไม่ช่วยเพิ่มฤทธิ์ระงับปวด

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน สิงหาคม ปี 2556 -- อ่านแล้ว 47,437 ครั้ง
 
​อาการปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลันเป็นอาการที่พบได้บ่อยในแผนกฉุกเฉิน Dr. Adam J. Singer และคณะ ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ระงับปวดจากการให้ยาแก้ปวดสองชนิดคู่กัน คือ พาราเซตามอล และ ไอบูโพรเฟน ในคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉินด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน โดยมีสมมติฐานว่าการให้ยาแก้ปวดสองชนิดที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน น่าจะมีประสิทธิภาพในการระงับอาการปวดได้ดีขึ้นเทียบเท่ากับการใช้ยาแก้ปวดอย่างแรง เช่น ยากลุ่ม opioids และน่าจะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงน้อยกว่า อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่า



​ในการศึกษานี้ ทำในคนไข้ 90 รายที่ เข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉินด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลันจากการบาดเจ็บเล็กน้อย โดยสุ่มแบ่งคนไข้ออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับพาราเซตามอล 1 g อย่างเดียว กลุ่มที่ได้รับไอบูโพรเฟน 800 mg อย่างเดียว และ กลุ่มที่ได้รับยาทั้งสองควบคู่กัน โดยไม่มีการกำหนดระดับความปวดขั้นต่ำก่อนคัดคนไข้เข้าการศึกษา กำหนดเพียงให้คนไข้มีระดับความปวดมากกว่า 0 (สเกล 0-10)



​ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสามกลุ่มมีคะแนนความปวดลดลงหลังจากทานยา 1 ชั่วโมง โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดของทั้งสามกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ มีค่าเท่ากับ 59 (สเกล 0-100), 61 และ 62 ในกลุ่มที่ได้รับไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล และ ยาทั้งสองควบคู่กัน ตามลำดับ



​อย่างไรก็ตาม ผู้ทำการศึกษาระบุว่าการศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น จำนวนตัวอย่างน้อยเกินไป ตัวอย่างยังมีความแตกต่างกันมาก การศึกษาทำที่สถานที่เดียว และไม่มีการปิดบังผู้ทำการศึกษาขณะทำการประเมิน เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องขนาดยาที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งใช้เพียงขนาดเดียว และยังทำการสังเกตและประเมินในช่วงระยะเวลาสั้นๆ การทำการศึกษาที่แก้ไขข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้อาจได้ผลการศึกษาที่แตกต่างออกไปได้



Key words: analgesic, paracetamol, ibuprofen, combination, musculoskeletal pain, ระงับปวด, ปวดกล้ามเนื้อ
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้