บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย ยุวดี วงษ์กระจ่าง อาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล อาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ สมใจ นครชัย อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา

703  Views  

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ในความทรงจำ

เมื่อเอ่ยนามอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ทุกคนคงจะนึกถึงอาจารย์ที่สูงสง่าน่าเกรงขาม มีความเป็นผู้นำ มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล อาจารย์สนับสนุนให้มีการก่อตั้งร้านยา เพื่อเป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ซึ่งนับเป็นร้านแรกของคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย และผลักดันให้ทุกภาควิชาเข้ามามีส่วนร่วม ทำงานร่วมกัน อีกทั้งได้มีการนำความรู้ที่มีมาใช้ในร้านขายยา เป็นการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ และเป็นการเรียนรู้ปัญหาของชุมชนและนำกลับมาใช้ในการสอนนักศึกษาได้อีกทางหนึ่ง

อาจารย์ประดิษฐ์เป็นผู้ที่มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ท่านเป็นผู้อุทิศตัวและทุ่มเทให้กับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอย่างมาก อาจารย์เป็นคนพูดน้อย มีชีวิตที่เรียบง่าย สมถะ และขยันมาทำงานแต่เช้า วันไหนที่ไม่ได้ไปประชุมนอกคณะฯ อาจารย์จะเดินมาทานข้าวกลางวันที่โรงอาหารและนั่งที่เดิมที่นั่งเป็นประจำคือเก้าอี้ติดประตูทางเข้าโรงอาหาร สั่งอาหารเมนูเดิมข้าวผัด กับ โอเลี้ยง อาจารย์เป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือ วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย แม้ท่านเกษียณไปแล้วท่านก็ยังแวะมาที่คณะเสมอๆ  จำได้ว่าครั้งสุดท้ายที่เจอกับอาจารย์คือท่านเดินเข้ามาในร้านยาของคณะ ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มอย่างมีความสุข แม้ว่าอาจารย์จะจากไปนานแล้ว ความทรงจำที่เกี่ยวกับอาจารย์ยังคงอยู่และแจ่มชัดเสมอ

อาจารย์ประดิษฐ์ จะคงอยู่ในใจของอาจารย์คณะเภสัช มหิดลตลอดไป

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูรผู้คิด ผู้สร้างและผู้ให้ของชาวเภสัชมหิดล          ในฐานะลูกศิษย์และลูกน้อง ท่านอาจารย์เป็นบุคคลตัวอย่างทั้งด้านความคิด การ...

พร้อมจิต ศรลัมพ์ ลูกศิษย์ และอาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูรครูผู้บุกเบิก ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้เสียสละ          เป็นความโชคดีที่ดิฉันสอบติดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในปี...

ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์ ลูกศิษย์ และอาจารย์ภาควิชาเภสัชกรรม

“จำเนียร รำลึกถึง อาจารย์ประดิษฐ์”ขอเรียกตัวเองว่าจำเนียร ในเนื้อหาที่เขียนนี้ จำเนียร เริ่มทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณปี พ.ศ. 2509 ขณะนั้น อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นเลขานุก...

นางจำเนียร ภวังคนันต์ เจ้าหน้าที่ธุรการ

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา