บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง เสริมสิริ วินิจฉัยกุล ภาควิชาชีวเคมี

1488  Views  

"พระคุณที่ยิ่งกว่า  พระคุณที่สาม"

ดิฉันเป็นศิษย์คนหนึ่งของ "ท่านอาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร" ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรียนหลักสูตร 5 ปี รุ่นที่ 4 พ.ศ. 2502-2507 จบเป็นบัณฑิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ท่านอาจารย์คือ ครูผู้สอนวิชา Physical Pharmacy เรียนชั้นปีที่ 4 และวิชา Manufacturing Pharmacy เรียนชั้นปีที่ 5

 

ท่านอาจารย์ ร้ํูจักดิฉันตั้งแต่ยังเด็ก อายุุประมาณ 8-9  ขวบ อยู่ชั้นประถมปีที่ 2   เพราะท่านเป็นเพื่อนกับพี่สาวของดิฉันคือ ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง สสี ปันยารชุน การที่ดิฉันได้เป็นเภสัชกรหญิง และได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ในรั้วจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก็ด้วยการสนับสนุนจากท่านอาจารย์ ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการคณะฯ

 

เมื่อมีการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตั้งอยู่บนถนนศรีอยุธยา ท่านอาจารย์ได้รับตำแหน่ง คณบดี ดิฉันได้ย้ายตามท่านมาเมื่ิอ พ.ศ. 2514 มาเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน และมาร่วมเป็นผู้บุกเบิกคณะใหม่ ที่ทุกอย่างดูเหมือนเริ่มต้นจาก 0 จากตึกเก่าของคณะวิทยาศาสตร์ที่อยู่ติดถนนศรีอยุธยาซึ่งเป็นถนนใหญ่ ท่านอาจารย์ให้เหตุผลว่า "ต่อไปเราจะตั้งร้านขายยาของคณะฯ ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง ทำเลริมถนนใหญ่จะดีกว่าแน่"  นี่คือ วิสัยทัศน์เริ่มแรกของท่านอาจารย์

 

จากการที่มีท่านอาจารย์เป็นผู้นำของภารกิจบุกเบิกตั้งคณะฯ  จึงได้เห็นความทุ่มเท ความเหน็ดเหนื่อย ความอดทน ได้เรียนรู้หลาย ๆ อย่างของการเป็นผู้นำ อาทิ 

1) การรับบุคลากรเข้าทำงาน ท่านมีเหตุผลว่า "ต้องการรับอาจารย์ใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากที่ต่าง ๆ กัน  เพื่อจะได้ความแตกต่าง 

2) ผลที่ตามมาจากข้อ 1)  ทำให้ท่านมีความรู้สึกว่า "เหมือน ยุงรำคาญ ที่มาร้องใกล้หูเวลานั่งเล่นตอนค่ำๆ”

3) จากการอยู่กับคนหมู่มาก มาจากที่ต่าง ๆ กัน เป็นแหล่งฝึกความอดทน "ผมกลัวเหลือเกินว่า วันหนึ่งมันจะระเบิดออกมาเมื่อทนไม่ไหว" 

4) อาจารย์พอใจหรือยังคะที่คณะฯ เจริญมาถึงขั้นนี้แล้ว? คำตอบคือ "สิ่งที่ผมอยากเห็นที่สุดก่อนเกษียณ อยากเห็นคณะฯ เราเปิดสอนระดับปริญญาเอก"

 

สิ่งที่ดิฉันได้รับจากท่านอาจารย์เป็นข้อคิดเสมอมาก็คือ  "การเป็นลูกน้องที่ดีนั้น ง่ายกว่าการเป็นหัวหน้าที่ดี มากมายหลายเท่าจริงๆ”

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

ดิฉันทำงานที่ภาควิชาจุลชีววิทยาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นคณบดี ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่ตั้งใจทำงานมาก และรักคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่สุ...

รองศาสตราจารย์ อารมณ์ พงษ์พันธุ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา

มีผู้ขอให้เขียนสั้นๆเพื่อรำลึกถึงผู้ที่มีคุณูปการใหญ่หลวงต่อวิชาชีพเภสัช ต่อคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้แต่นึกในใจว่าโจทย์นี้ยาก เพราะคุณความดีของท่านไม่สามารถเขียนสั้นๆได้ แต่อยากจะยกตั...

รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง สุทิน ศิริไพรวัน ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

“100 ปี แห่งชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร”เนื่องในโอกาสที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะมีการจัดงาน “100 ปี แห่งชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร” อดีคคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่...

นางแก้วมณี คุ้มภัย เจ้าหน้าที่บุคคลและเลขานุการคณบดี

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา