บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย พจนีย์ สุริยะวงค์ ลูกศิษย์ และอาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา

675  Views  

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ผู้อยู่ในความทรงจำของดิฉัน

เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ม.แพทยศาสตร์ ที่เรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ดิฉันรับรู้ได้ว่า อาจารย์ประดิษฐ์ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ที่จะอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ปฏิบัติงานได้สมศักดิ์ศรี ให้เป็นคนใฝ่รู้และซื่อสัตย์สุจริต 

เมื่ิอมาทำงานเป็นอาจารย์ที่คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ได้เป็นเพื่อนร่วมงาน (ผู้ใต้บังคับบัญชา) ของ อาจารย์ประดิษฐ์ ดิฉันก็ได้ประจักษ์ชัดในความทรงจำ ว่าอาจารย์มีเรื่องที่น่าชื่นชมอีกมากมาย การทำงานด้วย มีความอบอุ่น เมื่ออาจารย์ประดิษฐ์ มอบหมายงานให้ทำ ท่านจะบอกเสมอว่า ขอให้ทำให้เต็มที่ มีปัญหาขอให้บอก อาจารย์จะรับผิดชอบ และแก้ปัญหาให้ ทำให้ทำงานได้ด้วยความสบายใจ หรือเมื่อมีการประเมินงาน/บุคคล ท่านจะมีความเป็นกลาง เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

ความรู้ ประสบการณ์การทำงาน ที่ได้รับจาก อาจารย์ประดิษฐ์ ดิฉันก็ได้จดจำ และนำมาใช้ประโยชน์ตลอดการทำงานจนเกษียณงาน และใช้ในการดำรงชีวิตมาจนปัจจุบัน

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร จะอยู่ในความทรงจำของดิฉันตลอดไป

 

ด้วยความรักและเคารพ

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

บูชาคุณครู “ประดิษฐ์ หุตางกูร ก่อนเริ่มบทความนี้ขอบูชาคุณครูด้วยบทร้อยกรองของอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ครูคือครู“ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาลใช่อยู่ที่เรียกว่า ครู อาจารย...

รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง เฉลิมศรี ภุมมางกูร ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ประดิษฐ์ หุตางกูร ศตวรรษน้อมรำลึก ประกอบด้วยปลื้มประโยชน์ไม่ประมาท                ประวัติการณ์เภสัชศาสตร์ประดิษฐ์ศร...

วงศ์สถิตย์  ฉั่วกุล ศิษย์เภสัชมหิดล รุ่น 8 และอาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

ด้วยความเคารพอย่างสูง เรื่องสั้นเล่าสู่กันฟังด้วยตัวอักษร ในฐานะลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อรำลึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร คณบดีคนแรกของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยความเคารพอย่างส...

มัณฑนา ภาณุมาภรณ์ ลูกศิษย์ และอาจารย์ภาควิชาเภสัชกรรม

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา