บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย นางพรรณี ชูชีพ หัวหน้าหน่วยสารบรรณ

1428  Views  

ขอรำลึกอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร

ดิฉัน น.ส.พรรณี บูรณศิลป์ อายุ 21 ปี เข้ารับราชการ ณ คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2514 โดยมี อ.ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นผู้สัมภาษณ์ และรับเข้ามาทำงาน ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ สำนักงานเลขานุการ ซึ่งมีนายเกษม สุวคนธ์ เป็นหัวหน้าสำนักฯ 

ในขณะนั้น อาจารย์ประดิษฐ์ เป็นรักษาการคณบดี ท่านเป็นบุคคลน่าเกรงขาม น่ากลัว ไม่ยิ้ม ไม่พูด แลดูเป็นคนดุ ท่านเป็นมาตรฐานชายไทยรูปร่างสูงใหญ่ ยอมรับว่าดิฉันและเพื่อน ๆ กลัวท่านมาก ดิฉันมาทำงานทุกวัน ไม่เกเร แต่มาสายต้องคอยหลบท่านทุกเช้า เพราะท่านจะมายืนอ่านหนังสือพิมพ์ ที่โถงชั้น 1 อาคารเก่า (อาคาร 2) ใครเข้าคณะฯ ท่านจะเห็นทุกคน 

เราทุกคนทำงานตามที่หัวหน้าสำนักฯ สั่งการ ต่อมาคุณเกษมได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ดิฉันไม่มีความคิดที่จะปฏิบัติงานด้วยตนเอง ได้แต่ทำตามคำสั่งล้วน ๆ ดิฉันไม่รับผิดชอบงาน ชอบแต่งตัวสวย แต่งหน้างาม ทันสมัยมาก ทำงานให้เสร็จไปวัน ๆ ดิฉันก็พอใจแล้ว หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย คือจ่ายเงินเดือนให้บุคลากรของคณะ ลงทะเบียนรับ-ส่งเอกสาร จัดเก็บเอกสาร แต่หาไม่เคยเจอเลย เพราะดิฉันไม่มีพื้นฐานด้านนี้มาเลย ในที่สุด อาจารย์ประดิษฐ์เรียกประชุม ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกตั้งแต่เข้ารับราชการ ดิฉันถูกตำหนิมากมายเรื่องหาเอกสารไม่พบ เก็บเอกสารไม่เป็นระบบ ไม่มีความคิดสร้างสรร ดิฉันเสียใจมาก ไม่คิดว่าตัวเองผิด คิดและดำเนินการเงียบ ๆ เพื่อจะโอนย้าย ไปติดต่อหน่วยราชการหลายแห่ง ช่วงนี้คุณวิไลวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการคณะแทนคุณเกษม ซึ่งเกษียณหลังจากมีการประชุม ประมาณ 2 เดือน 

อาจารย์ประดิษฐ์ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ถ่ายรูปร่วมกัน (นางพรรณี ชูชีพ ยืนแถวหลังสุด คนขวาสุด)

ต่อมา สำนักงานอธิการบดี เปิดอบรมหลักสูตรการจัดเก็บเอกสาร ไม่ต้องสงสัย ดิฉันได้ถูกเสนอชื่อเข้ารับการอบรม 2 สัปดาห์ ณ สำนักงานอธิการบดี (ขณะนั้นอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ตึกอำนวยการ ชั้น 2) ทุกคณะและทุกสถาบันต่างก็ส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมในครั้งนี้ จึงได้ทราบว่า มีปัญหาทุกคณะเรื่องจัดเก็บเอกสารเหมือน ๆ กัน หลักสูตรเน้นไปให้จัดเก็บในแนวทางเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย วิทยากร ได้รับเชิญมาจากสำนักงบประมาณ เก่งมาก ๆ เลยคะ นี่คือจุดเริ่มต้นของดิฉันในอาชีพข้าราชการที่จะเป็นข้าราชการที่ดี ซึ่งมี อาจารย์ประดิษฐ์ เป็นผู้จุดประกาย ให้ชีวิตใหม่แก่ดิฉันในการครองงานเป็นข้าราชการที่ดี 

นางพรรณี ชูชีพ เข้าอบรมหลักสูตรการจัดเก็บเอกสาร จัดโดยสำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ไฟแรงมาก เบิกอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ หมกมุ่นกับอุปกรณ์ทั้งวัน ในที่สุดสำเร็จโดยดี คณะกรรมการมาตรวจการดำเนินงาน ดิฉันเป็น 1 คน จากคณะเภสัชศาสตร์ (น่าจะมี 4 หน่วยงาน) ที่ได้รับรางวัลคะ และได้เข้ารับรางวัลจากท่านอธิการบดี (ในขณะนั้น ศาสตราจารย์ณัฐ ภมรประวัติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี) ในห้องประชุม อกม. และการประชุมคณบดี ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ดิฉันตื่นเต้นมาก เหลือบไปเห็น อาจารย์ประดิษฐ์ อมยิ้ม ดิฉันดีใจสุด ๆ คะ หลังจากนั้นดิฉันตั้งใจทำงานมาก การจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ เป็นไปด้วยดีและได้เป็นแนวทางให้ภาควิชา และหน่วยงานต่าง ๆ ของคณะเภสัชศาสตร์ นำไปเป็นแนวทางจัดเก็บเอกสาร และได้นำผลงานไปขอเลื่อนระดับ ตั้งแต่ซี 4, ซี 5 และซี 6 พร้อมทั้งได้ขอเลื่อนเป็นหัวหน้าหน่วยสารบรรณ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร มา ณ ที่นี้

นางพรรณี ชูชีพ รับรางวัลผลงานการจัดเก็บเอกสาร จากท่านอธิการบดี (ในขณะนั้น ศาสตราจารย์ณัฐ ภมรประวัติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี)

ขอเขียนเรื่องส่วนตัวสักนิด... ได้รับเกียรติสูงสุดจากท่าน อาจารย์ประดิษฐ์ เป็นประธานกล่าวถวายพระพรในงานสมรสของ น.ส.พรรณี บูรณศิลป์ กับนายนัทธี ชูชีพ ณ สโมสรราชนาวี ท่าเตียน เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2518.....ขอบพระคุณคะ

อาจารย์ประดิษฐ์ กล่าวถวายพระพรในงานสมรสของ น.ส.พรรณี บูรณศิลป์ กับ นายนัทธี ชูชีพ

ตอนสุดท้าย... ดิฉันเสียใจ เสียดาย ใจหาย วันที่ท่านจากโลกนี้ไป หลายคนได้ไปกราบศพท่าน อาจารย์ประดิษฐ์ ณ โรงพยาบาลราชวิถี ท่านนอนนิ่งเหมือนคนนอนหลับ พวกเราล้อมรอบศพท่าน และก้มลงกราบท่าน ต่อมาได้ไปร่วมรดน้ำศพท่านที่วัดตรีฯ และสุดท้ายได้ไปร่วมฌาปณกิจท่าน.......

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ผู้อยู่ในความทรงจำของดิฉันเมื่อครั้งเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ม.แพทยศาสตร์ ที่เรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ดิฉันรับรู้ได้ว่า อาจารย์ประดิษฐ์ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ที่จะอ...

พจนีย์ สุริยะวงค์ ลูกศิษย์ และอาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา

อาจารย์ผู้เป็นที่เคารพอย่างสูงอาจารย์ประดิษฐ์เป็นหลาย ๆ อย่างในชีวิตของลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสพบอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นครั้งแรกเมื่อเริ่มเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ในชั้นเรียนปีที่&nbs...

วิมล ศรีศุข ศิษย์เภสัชจุฬาฯรุ่น 30/เภสัชมหิดลรุ่น 0 และอาจารย์ภาควิชาอาหารเคมี

อาจารย์ประดิษฐ์… ผู้เป็นเสมือนพ่อคอบดูแลลูก (ลูกน้อง)เริ่มเข้าทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2512 ดิฉันประทับใจ อ.ประดิษฐ์ มาก ท่านเป็นเสมือนพ่อคอยดูแลลูก (ลูกในที่นี้ ที่จริง...

รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง อรุณี สาระยา ภาควิชาจุลชีววิทยา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา