ศิษย์เก่ารำลึก

บอกเล่าประสบการณ์ผ่านประสบการณ์ตรงของศิษย์เก่าเภสัชมหิดล
   

โดย รศ. ดร. ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร ศิษย์รุ่น 1 - ศิษย์เก่าเภสัชมหิดลรุ่นที่ 1

644  Views  

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร..รุ่นพี่..อาจารย์..ผู้บังคับบัญชา

นักศึกษารุ่น 1 (ปี 2511) เรียนปีหนึ่ง ปีสอง ที่ตึกจานบินคณะวิทยาศาสตร์ เรามีรุ่นพี่ ดูแล พูดคุย ทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อขึ้นปีสามพวกเราต้องข้ามมาที่พญาไท ซึ่งเป็นนักศึกษากลุ่มเดียว ไม่มีรุ่นพี่ อาจารย์ประดิษฐ์มีความเข้าใจสถานการณ์ของนักศึกษาอย่างพวกเรา จึงจัดอาจารย์ที่ปรึกษาหนึ่งท่านต่อนักศึกษา 2-3 คน และจัดให้พบปะสนทนากันเสมอ จัดให้มีนายกและกรรมการสโมสร เพื่อร่วมกิจกรรมกับคณะอื่น ทริปบอท (Trip Botany) อาจารย์ก็มาร่วมงานสันทนาการตอนเย็น และได้ร่วมรำวงแล่นแต สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน เมื่อพวกเราขึ้นปีสี่ อาจารย์ก็ชวนพวกเราขึ้นรถตู้ไปร่วมทริปบอทกับน้อง มีการเตรียมหนังสือเพลงไปด้วย อาจารย์จะร่วมร้องเพลงกับพวกเรา โดยเฉพาะเพลงที่มีฝ่ายหญิงฝ่ายชาย อาจารย์จะร้องเป็นฝ่ายชาย ที่จำได้ คือเพลงข้องจิต ระหว่างที่พวกเราร้องเพลงอย่างสนุกสนาน รถก็ลื่นไถลลงข้างทาง อาจารย์หันมามองพวกเราด้วยความห่วงใยโดยไม่พูดอะไร แล้วก็เดินทางต่อไป 

ชีวิตดำเนินต่อไปในคณะเภสัชศาสตร์พญาไท พวกเราก็ดื้อรั้นต่อต้านตามวัย แต่ก็ไม่เคยมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้น เพราะอาจารย์ประดิษฐ์เป็นผู้มีเมตตาต่อผู้อื่นเสมอ ในแววตาที่น่าเกรงขามแฝงด้วยความเมตตาห่วงใยเสมอ 

รัก เคารพและระลึกถึงอาจารย์เสมอ

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

อาจารย์คือผู้สร้าง : อาจารย์เขียนโครงการและจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ขึ้นในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อสร้างเภสัชกรให้เพียงพอ สร้างความมั่นคงด้านเภสัชกรรมของประเทศ ซึ่งต่อมาก็คือ คณะเภสัชศา...

คิดถึงครู รุ่นที่ 11

From here we can go everywhereวรรคทอง ของ อ.ประดิษฐ์ หุตางกูร ท่านกล่าวประโยคนี้เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในการต้อนรับเภสัชมหิดลรุ่น 4 ที่ข้ามฟากมาจากตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ ที่อยู่บนถนนพระรามหก มาเรี...

ภญ.บุษบา จินดาวิจักษณ์ รุ่นที่ 4

เมื่อข้ามฟากมาอยู่ปี 3 ที่คณะเภสัช นั้น ผมข้ามมาด้วยความผิดหวัง ในตอนนั้นอยากเรียนแพทย์ แต่ต้องมาเรียนเภสัช จึงไม่ยอมมาเรียน แต่กลับไปอยู่บ้านที่สระบุรีเฉยๆ เที่ยวเล่นไปวันๆ อาจารย์ประดิษฐ์จึงให้ อ.พิ...

เจริญ จูพาณิชย์ รุ่นที่ 4

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา