โดย ปราโมทย์ ชลยุทธ์ - ศิษย์เก่าเภสัชมหิดลรุ่นที่ 1
1561 Views |
ข้อมูลเฉพาะรุ่น 1
ปี 1 (พ.ศ.2512) เข้ามาจำนวน 150 คนอยู่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกเตรียมเภสัชศาสตร์ พอขึ้นปี 2 มีลาออกไปสอบเอนทรานซ์ใหม่ประมาณ 5 คน พอขึ้นปี 3 (พ.ศ. 2514) สมัครมาคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท 40 คน ที่เหลือไปจุฬา ประมาณ 100 คน (ที่เหลือเป็น repeater ตามมาภายหลัง)
จำนวณ 40 คนที่มาเป็นรุ่น 1 ล้วนๆ 35 คน (ที่เหลือเป็นรุ่น 0 จำนวณ 5 คนซึ่งจบพร้อมรุ่น 1 แท้ๆ 3 คน 2 ใน 3 คนนี้เป็นอาจารย์ในคณะฯ) พอมาเรียนมีรุ่นพี่คณะอื่นมาเรียนสมทบอีก 4 คน (3 คนผู้ชาย retire มาจากศิริราชและผู้หญิง 1 คนจากคณะวิทย์จากที่อื่น) รวมทั้งหมด 49 คน เรียนจบปี 5 (พ.ศ. 2517) มี 42 คน (38 คนเป็นรุ่น 1, 3 คนเป็นรุ่น 0 และ 1 คนเป็นรุ่นพี่สมทบจากคณะวิทย์) รุ่นพี่จากศิริราช 3 คนต้องซ้ำชั้นทั้งหมด รุ่น 1 มีเป็นอาจารย์ที่คณะเภสัชมหิดลประมาณ 8 คน จบ ดร. 13 คน เสียชีวิตแล้ว 6 คน
ทันทีที่ก้าวเข้ามาในคณะ ทางคณะนัดปฐมนิเทศ (คิดว่างั้น) ก่อนเปิดเรียน ที่สำคัญมีการถ่ายรูปหมู่ตั้งแต่อธิการบดี รองอธิการบดีมาร่วมด้วย ตึกสมัยนั้นเป็นตึก 3 ชั้นของ ม. แพทยศาสตร์เดิม บางส่วนเป็นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ. ปี 1 ที่มาฝากไว้ ตึกอาคาร Asian Union ยังเป็น office ที่ทำงานของต่างชาติอยู่
ประธานรุ่น
ปี 3-4: อำพล ไมตรีเวช
ปี 5: ยงยุธ บุญญงมณีรัตน์
วิชาที่ อ. ประดิษฐ์ สอน
ปี 3: Pharmacy Orientation
ปี 5: Manufacturing
ความทรงจำ อ. ประดิษฐ์
ตอนปี 3
(1) มีวิชา Special Lecture: มีการเชิญรุ่นพี่อาวุโสที่ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานด้านต่างๆมาเล่าประสบการณ์การทำงาน วิชานี้เรียกความสนใจจากพวกเราเป็นอันมาก เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่พวกเรามาก หลายท่านอยู่ในแวดวงที่พวกเราไม่คาดคิด เช่น อยู่โรงเบียร์ตราสิงห์ โรงงานสุราบางยี่ขัน (เหล้าแม่โขง) โรงงานไอศกรีมโฟร์โมสต์ ทุกชั่วโมงวิชานี้ อ. ประดิษฐ์จะเป็นผู้กล่าวแนะนำอาจารย์พิเศษเหล่านี้ด้วยตนเอง อ.ประดิษฐ์ จะพูดทุกครั้งว่าเภสัชกรเราทำอะไรได้หลายๆอย่างในแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ บางท่านอยู่ในการเมืองก็มี (ภก. วรพจน์ วงศ์สง่า
(2) บรรยากาศการเรียนปี 3 เข้มข้นมาก มีการสอบแลปกริ๊ง (Botany) บ่อยมาก จึงต้องกินข้าวไปดู sheet ไป มีอยู่ครั้งนึงที่ อ. ประดิษฐ์กำลังสอนแต่พวกเราไม่ค่อยฟังมัวแต่แอบดู sheet เตรียมสอบ อ.ประดิษฐ์ พูดทักเชิงดุว่าทำไมไม่ฟังกัน แค่นั้นพวกเราก็ต้องฟังเพราะปกติก็เกรงกลัวอาจารย์อยู่แล้ว
(3) กิจกรรมด้านแข่งเกมส์กีฬาก็มีตอนก่อนปีใหม่ วันนั้นมีจัดเลี้ยงตอนกลางวันบนดาดฟ้า(มีหลังคา) ตึกหลัง 4 ชั้น ทำให้เพิ่มความคุ้นเคยระหว่างศิษย์กับอาจารย์มากขึ้น อ.ประดิษฐ์ กล่าวอวยพรปีใหม่กับพวกเรา (สาระจำไม่ได้)
(4) มีรายการพบปะคณบดีที่พวกเราเรียกๆกันว่า Meet the Dean อ.ประดิษฐ์ จะเรียกพวกเราไปคุยด้วยทีละคน วันละ 2-3 คนจัดตามคิว มี อ. ผู้ใหญ่ร่วมพูดคุยด้วย (อ. ฉวี อ. เฉลา อ. สุคนธ์) เหมือนกับว่าต้องการทราบ background และดูแววว่าพวกเราแต่ละคนจะมีโอกาสเติบโตก้าวหน้าทางด้านใดบ้าง โดยเฉพาะการชักชวนเป็นอาจารย์ที่คณะ (คิดว่างั้น)
(5) มีกิจกรรมอบรมการเข้าสังคมและนั่งร่วมโต๊ะรับประทานอาหารฝรั่ง มีคุณหญิงนวลผ่อง เสนาณรงค์เป็นอาจารย์พิเศษบรรยาย และไปซ้อมจริงที่ รร. ดุสิตธานี มีการฝึกซ้อมกล่าวเชิญประธานในงานเลี้ยงให้โอวาท (เรียกเสียงเฮฮากันพอควร)
(6) มีการเรียนวิชา Anatomy อ. ประดิษฐ์เชิญคณาจารย์แพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มาเป็นชุดบรรยายทั้งทฤษีและไปดูของจริง (ศพอาจารย์ใหญ่ดองฟอร์มาลิน) ที่จุฬาฯ ทำให้พวกเราได้มีโอกาสใกล้ชิดอาจารย์แพทย์เหล่านั้นที่รู้จริง
(7) วิชา Biochemistry เชิญอาจารย์จากคณะวิทย์ มหิดลมาสอน เช่น ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ดร.สุวิทย์ เพียรกิจกรรม
ตอนปี 4
ถ้าจำไม่ผิดจะมีวิชา Clinical Pharmacy มีการเชิญอาจารย์แพทย์ทั้งที่ศิริราช (นายแพทย์วีกิจ วีรานุวัตติ์) และรามาธิบดี (นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ) มาสอน ทำให้มีความรู้และเข้าใจมากขึ้น
ตอนปี 5
ชา Manufacturing รู้สึกว่าวิชานี้เองที่อาจารย์เองที่ถูกกับจริตของผม ยิ่งตอนไปฝึกงานที่ Atlantic มีรุ่นพี่ที่มารู้ภายหลังว่าเป็นศิษย์เอก (ภก. อมร เอี้ยวฉาย) ของ อ. ประดิษฐ์ ด้วย เลยยิ่งชอบใหญ่ เลยตัดสินใจตอนนั้นว่าถ้าจบจะทำด้านโรงงาน
วิชา Manu และ Business English (อ. วัชรี แนวบุญเนียน) 2 วิชานี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ผมมีวันนี้
ความทรงจำ อ. ประดิษฐ์ ตลอดช่วงปี 3-4-5
เนื่องจากสถานที่เป็นตึกเก่าของ ม. แพทยศาสตร์และยังเป็นสถานที่เรียนบางส่วนของ ม. สงขลา (มอ.) อ.ประดิษฐ์ จึงต้องเป็นพ่อบ้านควบคุมดูแลการปรับปรุงอาคารต่างๆและงานทาสี ทำไปเวียนไปเรื่อยๆจนมาถึงตึก Asian Union ที่ส่งมอบคืนให้กับคณะเภสัชฯ อ. ประดิษฐ์ยังให้พวกเราได้เข้าไปนั่งเป็นเคล็ดเพราะจวนจะสอบไล่ปี 5 อยู่แล้ว
คุณูปการของท่าน อ. ประดิษฐ์
ความที่ท่านอาจารย์รู้จักคนในวงการทำงานและการศึกษาอย่างกว้างขวาง จึงทำให้พวกเรารุ่น 1 ได้มีโอกาสรับรู้ความหลากหลายของอาชีพที่ผ่านการเรียนเภสัชและมีอาจารย์พิเศษมากมาย (ยังมิได้กล่าวถึงวิชากฎหมาย บัญชี) ทำให้พวกเราแม้จะเรียนหนักแต่ก็มีแรงบันดาลเต็มเปี่ยมด้วยเช่นกัน ขอคารวะในคุณูปการของท่านอาจารย์มา ณ ที่นี้ จากประโยคที่ว่า From here we can go everywhere นั้น ไม่แน่ใจว่าได้ยินตั้งแต่สมัยเรียนแล้วหรือยัง แต่จากการที่ท่านอาจารย์ได้เปิดโลกทัศน์กับเปิดมุมมองที่หลากหลายให้กับพวกเรา จึงไม่สงสัยเลยสำหรับประโยคที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวกับพวกเราชาวเภสัชมหิดลทั้งปวงและจดจำกันมาถึงปัจจุบัน
ปาจรีย์ประดิษฐ์ไท้ เทียบบิดรแห่งศิษย์เภสัชกร ท่านสร้างรังสฤษฏ์สถาพร เภสัช มหิดลนาคุณก่ออนันต์กว้าง เกริกฟ้าเกรียงไกร &nbs...
ทุกคนในภาพนี้ยิ้มอย่างมีความสุข-สนุกสนาน เมื่อมองภาพนี้แล้วทำให้ต้องยิ้มตาม ความประทับใจของภาพนี้ คือ อาจารย์ประดิษฐ์ ที่เราไม่ค่อยได้เห็นอิริยาบถแบบนี้ในคณะฯ ทำให้หวนรำลึกถึงเหตุการณ์ในคืนนั้น ก...
From here we can go everywhereวรรคทอง ของ อ.ประดิษฐ์ หุตางกูร ท่านกล่าวประโยคนี้เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในการต้อนรับเภสัชมหิดลรุ่น 4 ที่ข้ามฟากมาจากตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ ที่อยู่บนถนนพระรามหก มาเรี...
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome