ศิษย์เก่ารำลึก

บอกเล่าประสบการณ์ผ่านประสบการณ์ตรงของศิษย์เก่าเภสัชมหิดล
   

โดย ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์ - ศิษย์เก่าเภสัชมหิดลรุ่นที่ 1

1172  Views  


 

เห็นรูปนี้ทีไร คิดถึงวันเวลาที่เรียนเภสัช ตอนเรียนอยู่ปี 3 ปี 4 อาจารย์พเยาว์ต้องพาพวกเราไปเดินป่าเพื่อให้รู้จักต้นไม้หลายๆชนิดที่มีประโยชน์ และให้เก็บตัวอย่างต้นไม้มาอัด herbarium ทุกครั้งที่ออกไปนอกคณะ จะมีอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านติดตามไปด้วย เหมือนพ่อแม่ไปดูแลลูกๆ ทั้งอาหารการกิน และที่พัก พูดได้เลยว่าอยู่ดี กินอร่อย และทุกเย็น หลังอาหารจะมีกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ เช่นเล่นเกมส์ การแสดง จากนั้นแยกย้ายกันกลับที่พัก แต่เพื่อนๆก็ยังชวนไปคุยกันต่อ ที่บ้านพักเพื่อนหลังใดหลังหนึ่ง และมีการทำขนมเลี้ยงด้วย ทุกเย็นอาจารย์ประดิษฐ์จะไปร่วมคุยและรับประทานขนมฝีมือลูกศิษย์ด้วยความเป็นกันเอง

วันนึง พวกเรา (ที่อยู่บ้านเดียวกัน) ตกลงกันว่า เราก็น่าจะทำขนมเลี้ยงบ้าง แต่ทุกคนทำขนมไม่เป็น สรุป เราจะทำต้มถั่วเขียวกับน้ำตาล เราซื้อถั่วเขียว 1 กก. และน้ำตาลทรายขาว 1 กก. ใส่หม้อต้มเสร็จก่อนไปรับประทานอาหารเย็น หลังกิจกรรมเราก็เรียนเชิญอาจารย์และชวนเพื่อนๆมารับประทานต้มถั่วเขียว พวกเรามาถึงบ้านพักก่อน ตกใจ ถั่วพองเต็มหม้อ น้ำหายไปแยะ ตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยการตักถั่วออก เติมน้ำ (ไม่มีน้ำตาลเหลือแล้ว) เสริฟ์แบบนี้แหละ ทุกคนที่กิน…เงียบ no comment อาจารย์ประดิษฐ์ยิ้มและพูดว่า “ขนมของสาวๆบ้านนี้ อ่อนหวานจัง”

อยากเรียนอาจารย์ว่า คำๆนี้ หนูเอามาใช้จนทุกวันนี้เลยค่ะ เวลาใครถามว่า ต้องการให้ใส่น้ำตาลกี่ช้อนในกาแฟ หนูจะตอบว่า เราเป็นคนอ่อนหวาน

ตอนเรียนปี 5 พวกเราต้องทำ special project เราทำแลปกันจนมืด กว่าจะเสร็จก็ทุ่มสองทุ่ม มืดขนาดนั้น อาจารย์ประดิษฐ์ ก็ยังอยู่คณะ อาจารย์จะขึ้นมาดูแลความเรียบร้อย ก่อนกลับบ้าน แต่ในใจพวกเรา อาจารย์อยู่คณะเพื่อดูแลความปลอดภัยของพวกเรา 

แม้แต่เวลามีงานเลี้ยงสังสรรค์ อาจารย์ก็จะมาร่วมงานด้วยทุกครั้ง พูดคุยกับพวกเราอย่างเป็นกันเอง แต่จริงๆแล้ว พวกเราก็รู้ดีว่า อาจารย์มาดูแลความปลอดภัยของพวกเราเหมือนพ่อตามมาดูแลลูก 

 

ความเอื้ออาทร ความเมตตาของอาจารย์อยู่ในความทรงจำของหนูเสมอค่ะ

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

อาจารย์คือผู้สร้าง : อาจารย์เขียนโครงการและจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ขึ้นในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อสร้างเภสัชกรให้เพียงพอ สร้างความมั่นคงด้านเภสัชกรรมของประเทศ ซึ่งต่อมาก็คือ คณะเภสัชศา...

คิดถึงครู รุ่นที่ 11

ย้อนกลับไปในช่วงที่นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 13 ข้ามฟากมาเรียนต่อปีที่ 3 ถึงปีที่ 5 ที่คณะเภสัชศาสตร์โดยตรง เราโชคดีที่ได้มีโอกาสเรียนวิชา Pharmacy Orientatio...

ภก. พรชัย ศรีศุภวินิจ เขียนในนามศิษย์รุ่น 13 รุ่นที่ 13

ในปี 2525 ดิฉันเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสพบท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร อาจารย์ได้เล่าถึงเรื่องราวการทำงานโรงพยาบาลอำเภอของรุ่นพี่มหิดลรุ่น 6-7 และอาจารย์ได้ให้คำแนะ...

รศ.ดร.จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ รุ่นที่ 11

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา