คำไว้อาลัย

จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ "ครูประดิษฐ์"
   

โดย วงศ์สถิตย์  ฉั่วกุล ศิษย์เภสัชมหิดล รุ่น 8 และอาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

865  Views  

ประดิษฐ์ หุตางกูร ศตวรรษน้อมรำลึก

 

ประกอบด้วยปลื้มประโยชน์ไม่ประมาท                ประวัติการณ์เภสัชศาสตร์ประดิษฐ์ศรัย

ดิษฐ์ดำริดารดาษสมุนไพร                                       อุทยานก้าวหน้าไกลพัฒนา

หุตาจารย์ให้หนักแน่นไม่หนักจิต                       สมานมิตรมุ่งเรียนรู้ปรารถนา

ตางตำแหน่งติตรึกตรองตริเมตตา                               กรุณามุทิตาสถาพร        

กูรประสิทธิ์วิทยาเกื้อกูลศิษย์                           กล้าเก่งกาจประกอบกิจสโมสร

ศตพรรษศรัณยูเอื้ออาทร                                        ศันสนะเภสัชกรศิษย์เก่าไกร

    วรรษวศะวยายามเวทวิศิษฏ์                           วิภาวีวิทย์วิจิตวินิจฉัย

น้อมสำนึกน้อมนำมาน้อมจิตใจ                                  น้อมนำให้ครูสดใสนิรันดร

          รำไพพรรณรจนารมเยศ                                รอบคอบรู้รัตน์วิเศษสาส์นสิขร

ลึกซึ้งสิทธิ์สิทธาจารย์เภสัชกร                                   สิบสามรุ่นที่ครูสอนล้วนอาลัย

น้อมบูชามาอัญเชิญพระไตรรัตน์                       พุทธคุณหนุนสวัสดิ์นิรัติศัย

ธรรมคุณพร้อมเพิ่มพูนเสริมบุญให้                               สังฆคุณเอื้อน้ำใจได้สุขเทอญ

 

ความหมายของคำประพันธ์ “ประดิษฐ์ หุตางกูร ศตวรรษน้อมรำลึก”

 

ประกอบด้วยมี มีมาก เช่น ประกอบด้วยเมตตา
ปลื้มชอบใจถูกใจมาก เบิกบานยินดีมาก
ประโยชน์(ปฺระโหฺยด) สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้ ผลที่ได้ตามต้องการ สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ เช่น ประโยชน์ของการศึกษา ประโยชน์ของโรงเรียน
ไม่ประมาท
  1. ไม่ขาดความรอบคอบ เลินเล่อ ขาดความระมัดระวังเพราะทะนงตัว "อย่าประมาทเรื่องไฟฟ้า"  
  2. ไม่ดูหมิ่น ดูถูก
ประวัติการณ์

(ปฺระหฺวัดติกาน ปฺระหฺวัดกาน) เหตุการณ์ที่สำคัญ หรือมีค่าควรแก่การบันทึก หรือจดจำไว้

"วันนี้มีคนเข้าชมงานมากเป็นประวัติการณ์"

เภสัชศาสตร์(เพ-สัด-ชะ-สาด) วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องยาแก้ บำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค พร้อมทั้งการฝึกอบรมทางด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ วิชาชีพ และธุรกิจ
ประดิษฐ์(ปฺระดิด) สร้างขึ้น คิดขึ้น จัดทำขึ้น ตั้งขึ้น
ศรัย(ไส) ที่พักพิง ที่พึ่งพิง ที่อาศัย ที่ร่มเย็น
ดิษฐ์(โบราณ) ท่าน้ำ ดิตถ์
ดำริ(ดำ-หริ) ตริ คิด ไตร่ตรอง ตรึกตรอง
ดารดาษ(ดา-ระ-ดาด) ดาษ ดาษดา มากมาย เกลื่อนกลาด มีทั่วไป เต็มไปหมด
สมุนไพรผลิตผลธรรมชาติได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ หรือบำรุงร่างกาย เช่น เกลือ นอแรด กระดองหมึก ลำโพงพิมเสน กระวาน ดีปลี
อุทยาน(อุด-ทะ-ยาน) สวน
ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ พัฒนาขึ้น
ไกลห่าง ยืดยาว นาน
พัฒนาทำให้เจริญ ทำให้ก้าวหน้า
หุตาจารย์ผู้รู้ในการบูชา
ให้มอบ สละ อุทิศ ยก
หนักแน่นมั่นคง ไม่ท้อถอย ไม่หวั่นไหว หรือคล้อยตามง่าย ๆ
ไม่หนักขนาดเบา เบาแรง บอบบาง เล็กน้อย นิดหน่อย ว่องไว คล่องแคล่ว จาง ง่าย จัดการได้ง่าย ไม่ลำบาก เล่น ๆ ร่าเริง เหลาะแหละ ปล่อยตัว 
จิต
  1. ใจ สิ่งที่ทำหน้าที่คิด นึก รับความรู้สึก
สมาน
  1. ทำให้สนิท ทำให้ติดกัน เชื่อม ผูกพัน
มิตร
  1. เพื่อนสนิทที่รักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ รักกันฉันมิตร
มุ่ง
  1. หมาย ตั้งใจ ตั้งหน้าทำ
เรียนรู้
  1. การศึกษา การเรียน การเล่าเรียน
ปรารถนา
  1. มุ่งหมาย ประสงค์ อยากได้ ต้องการ
ตาง(โบ; กลอน) คำใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น ทุกทั่วสัตวตื่นตาง แตกเต้า (ตะเลงพ่าย) ต่าง ก็ว่า
ตำแหน่งที่ตั้ง ที่อยู่ แห่งที่ หน้าที่ความรับผิดชอบ
ติตำหนิ ชี้ข้อบกพร่อง
ตรึกตรองคิดใคร่ครวญ คิดทบทวน ตริตรอง ไตร่ตรอง
ตริคิด ตรึกตรอง
เมตตาความรัก และความเอ็นดู ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
กรุณาความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ใช้ประกอบหน้ากิริยาแสดงการขอร้องอย่างสุภาพ
มุทิตาความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีเป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔
สถาพรยั่งยืน ยืนยง มั่นคง เช่น สถิตสถาพร
กูรอังกูร = หน่อ หน่อเนื้อเชื้อไข เชื้อสาย มักใช้ อังกูร เป็นส่วนท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร
ประสิทธิ์ความสำเร็จ ทำให้สำเร็จ
วิทยาความรู้ มักใช้ประกอบกับคำอื่น
เกื้อกูลช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เจือจาน อุดหนุน
ศิษย์ผู้ศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้จากครู หรืออาจารย์ ผู้ที่อยู่ในความดูแลของอาจารย์
กล้าอาจหาญ ไม่เกรงกลัว ไม่ครั่นคร้าม
เก่งกาจกล้าหาญ ไม่กลัวเกรงสิ่งใด
ประกอบประสมหรือปรุงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
กิจการงาน ธุระ เรื่องที่ต้องทำ
สโมสรที่สำหรับร่วมประชุมพบปะกัน ร่วมพบปะชุมนุมกัน
ศตพรรษ(สะ-ตะ-พัด) รอบ ๑๐๐ ปี
ศรัณยู(สะ-รัน-ยู) ผู้เป็นที่พึ่ง
เอื้อเอาใจใส่ มีน้ำใจ
อาทรความเอื้อเฟื้อ ความห่วงใย ความเอาใจใส่
ศันสนะ(สัน-สะ-นะ) การยกย่อง การสรรเสริญ การบอกเล่า
เภสัชกรแพทย์ปรุงยา ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องยาตั้งแต่การจัดหาวัสดุที่ใช้เป็นยาไปจนกระทั่งถึงควบคุมดูแลจ่ายยาให้คนไข้ ผู้ที่มีใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเภสัชกรรม
ศิษย์เก่าผู้ที่เคยเรียนจบจากสถาบันการศึกษานั้น ๆ
ไกรยิ่ง ใหญ่ มาก เกิน กล้า เก่ง
วรรษปี
วศะ(วะ-สะ) อำนาจ การบังคับบัญชา
วยายาม(พยายาม) พากเพียร ตั้งมั่น ตั้งใจ มานะ บากบั่น
เวทความรู้ ความรู้ทางศาสนา
วิศิษฏ์(วิ-สิด) เลิศ ยอดเยี่ยม ประเสริฐ
วิภาวี(วิ-พา-วี) ผู้รู้แจ้งชัด นักปราชญ์
วิทย์ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ
วิจิตรวบรวม สังเกต เห็นแจ้ง รู้แจ้ง
วินิจฉัยตัดสิน ชี้ขาด ลงความเห็น พิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ตรึกตรอง
น้อมค้อม โน้ม โอนลงเป็นการแสดงความเคารพ โอนอ่อนตาม
สำนึกรู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกปีติปลาบปลื้ม
น้อมนำมานำไปโดยกิริยาอ่อนน้อม
น้อมจิตใจใจ ความรู้สึก อารมณ์ทางใจ
น้อมนำนำไปโดยกิริยาอ่อนน้อม
ให้มอบ สละ อุทิศ ยก
ครูผู้สั่งสอน หรือถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์
สดใสผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ไม่มัวหมอง แจ่ม
นิรันดรตลอดไปไม่เว้นว่าง ไม่มีที่สิ้นสุด เสมอไป
รำไพงามผุดผ่อง 
พรรณชนิด ประเภท
รจนาประพันธ์ ร้อยกรอง
รมเยศ(รม-มะ-เยด) (กลอน) น่าบันเทิงใจ น่าสนุก พึงใจ งาม
รอบคอบทั่ว ถ้วนถี่ ดูอย่างละเอียดทั่วถึง ไม่หลงลืม ไม่เผอเรอ
รู้
  1. เข้าใจ เข้าใจกระจ่าง ทราบ
รัตน์คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษ และมีค่ามาก
วิเศษยอดเยี่ยม ล้ำเลิศ เลิศลอย
สาส์น(สาด) คำสอน คำสั่งสอน
สิขร(สิ-ขอน) จอม ยอด
ลึกซึ้งลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง
สิทธิ์อำนาจอันชอบธรรม อำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ได้อย่างอิสระโดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย
สิทธาจารย์(สิด-ทา-จาน) อาจารย์ผู้สำเร็จ
เภสัชกรแพทย์ปรุงยา ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องยาตั้งแต่การจัดหาวัสดุที่ใช้เป็นยาไปจนกระทั่งถึงควบคุมดูแลจ่ายยาให้คนไข้ ผู้ที่มีใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเภสัชกรรม
ล้วนแท้ แท้   ๆ ไม่มีอะไรเจือปน
อาลัยห่วงใย ห่วงหา มีใจผูกพัน หวนคิดถึง ระลึกถึงด้วยความเสียดาย
น้อมบูชาแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะ ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใส
อัญเชิญเชิญด้วยความเคารพนับถือ
พระไตรรัตน์แก้ว ๓ ประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน หมายถึง พระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธรัตนะ พระธรรม เรียกว่า ธรรมรัตนะ พระสงฆ์ เรียกว่า สังฆรัตนะ รัตนตรัย ก็เรียก. ตรีรัตน์ น. แก้วทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, โดยมากใช้ ไตรรัตน์
พุทธคุณคุณความดีของพระพุทธเจ้าอย่างย่อ มี ๓ ประการ ได้แก่ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ
หนุนรองให้สูงขึ้น ดันให้สูงขึ้น ที่เพิ่มเติม
สวัสดิ์(สะ-หฺวัด) (สก. สฺวสฺติ มค. โสตฺถิ) น. ความสะดวก ความสุข ความสำราญ โชค ลาภ เคราะห์ดี ความเจริญ
นิรัติศัย(นิ-รัด-ติ-ไส) พิเศษยิ่ง ประเสริฐยิ่ง
ธรรมคุณ(ทำ-มะ-คุน) น. คุณของพระธรรม (ศน.) ความดีของพระธรรมอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า มี ๖ ประการ คือ ๑. สฺวากฺขาโตเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว คือถูกต้องทุกประการ ๒. สนฺทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติจะได้รับผลเห็น ด้วยตนเองแน่ ๓. อกาลิโก ไม่ขึ้นอยู่กับกาลสมัย จึงไม่เป็นสิ่งที่ล้าสมัย คือทันสมัย ๔. เอหิปสฺสิโก ท้าให้พิสูจน์ได้ ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา คือ เหมาะแก่คนทุกชั้น ๖. ปจฺจตฺตํเวทิตพฺโพ วิญญูชน จักเห็นจริงเฉพาะตน
พร้อมคำแสดงให้รู้ว่าทำกิริยาร่วมกัน หรือในเวลาเดียวกัน ครบครัน สมบูรณ์
เพิ่มพูนเติมให้มากขึ้น เสริมให้มากขึ้น
เสริมเพิ่ม เติม ต่อเติม หนุน
บุญการทำความดีตามหลักคำสอนทางศาสนา ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ ความดี กุศลธรรม
สังฆคุณสังฆคุณและข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ ๔ พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลักสำคัญมากในการสืบต่อพระพุทธศาสนาซึ่ง ได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
เอื้อเอาใจใส่ มีน้ำใจ เห็นแก่
น้ำใจใจจริง ความจริงใจ นิสัยใจคอ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ได้รับมาหรือตกทอดมาเป็นของตัว อาจ สามารถ
สุขความสบายกายสบายใจ เช่น ชีวิตย่อมมีทั้งทุกข์ และสุขปะปนกัน มักใช้คู่กับคำว่า เป็น เช่น อยู่เย็นเป็นสุข สบายกายสบายใจ เช่น อยู่ที่นี่สุขสบายดีไม่ต้องเป็นห่วง
เทอญเถิด ใช้เป็นคำลงท้ายข้อความที่ตั้งใจให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มักใช้ในการให้ศีลให้พร

 

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

From here, we can go everywhere!"  จบเภสัชฯมหิดล ด่านศึกษาอาจารย์ว่า จะเป็นเปรียบเพ็ญแขFrom here we can goeverywhereวรรคนี้แลวาทะ คณบดีจะนางงามทรามวัยวิไลลักษณ์ไทยเทศตาปร...

ภก.กิตติภพ (ไพบูลย์) โรจน์วนาการ รุ่นที่ 5

จำได้ว่าปอง (รศ.ดร.ภญ.จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์) ชวนไปพบท่านที่ห้อง ท่านต้อนรับลูกศิษย์อย่างเป็นกันเองเหมือนคนในครอบครัว และบอกว่าประตูห้องเปิดเสมอ ฟังวิสัยทัศน์ท่านแล้ว เป็นหลักการที่เกินกว่าเภสัชฯ หากเป...

ภญ.ธนูทิพย์ กรรณสูต รุ่นที่ 11

ย้อนกลับไปในช่วงที่นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 13 ข้ามฟากมาเรียนต่อปีที่ 3 ถึงปีที่ 5 ที่คณะเภสัชศาสตร์โดยตรง เราโชคดีที่ได้มีโอกาสเรียนวิชา Pharmacy Orientatio...

ภก. พรชัย ศรีศุภวินิจ เขียนในนามศิษย์รุ่น 13 รุ่นที่ 13

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา