คำไว้อาลัย

จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ "ครูประดิษฐ์"
   

โดย พจนีย์ สุริยะวงค์ ลูกศิษย์ และอาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา

1068  Views  

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ผู้อยู่ในความทรงจำของดิฉัน

เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ม.แพทยศาสตร์ ที่เรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ดิฉันรับรู้ได้ว่า อาจารย์ประดิษฐ์ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ที่จะอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ปฏิบัติงานได้สมศักดิ์ศรี ให้เป็นคนใฝ่รู้และซื่อสัตย์สุจริต 

เมื่ิอมาทำงานเป็นอาจารย์ที่คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ได้เป็นเพื่อนร่วมงาน (ผู้ใต้บังคับบัญชา) ของ อาจารย์ประดิษฐ์ ดิฉันก็ได้ประจักษ์ชัดในความทรงจำ ว่าอาจารย์มีเรื่องที่น่าชื่นชมอีกมากมาย การทำงานด้วย มีความอบอุ่น เมื่ออาจารย์ประดิษฐ์ มอบหมายงานให้ทำ ท่านจะบอกเสมอว่า ขอให้ทำให้เต็มที่ มีปัญหาขอให้บอก อาจารย์จะรับผิดชอบ และแก้ปัญหาให้ ทำให้ทำงานได้ด้วยความสบายใจ หรือเมื่อมีการประเมินงาน/บุคคล ท่านจะมีความเป็นกลาง เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

ความรู้ ประสบการณ์การทำงาน ที่ได้รับจาก อาจารย์ประดิษฐ์ ดิฉันก็ได้จดจำ และนำมาใช้ประโยชน์ตลอดการทำงานจนเกษียณงาน และใช้ในการดำรงชีวิตมาจนปัจจุบัน

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร จะอยู่ในความทรงจำของดิฉันตลอดไป

 

ด้วยความรักและเคารพ

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

“อาจารย์ขา..สวัสดีค่ะ” นี่คือ คำพูดติดปากของ*น้าหลา* พร้อมกับยกสองมือขึ้นประนมไหว้อย่างสวยงาม ทุกครั้งที่เดินสวนกับ อาจารย์ทุกท่านในคณะเภสัชตั้งแต่ปี3-5 คณะเภสัชของเราในสมัยน้าหลาเป็นคณะเล็ก ๆ มีอาจาร...

นภาพร อัชชนียะสกุล รุ่นที่ 9

เมื่อข้ามฟากมาอยู่ปี 3 ที่คณะเภสัช นั้น ผมข้ามมาด้วยความผิดหวัง ในตอนนั้นอยากเรียนแพทย์ แต่ต้องมาเรียนเภสัช จึงไม่ยอมมาเรียน แต่กลับไปอยู่บ้านที่สระบุรีเฉยๆ เที่ยวเล่นไปวันๆ อาจารย์ประดิษฐ์จึงให้ อ.พิ...

เจริญ จูพาณิชย์ รุ่นที่ 4

อาจารย์ประดิษฐ์ ท่านเป็นคณบดีที่ให้มีนโยบายการสอบซ่อมเป็นครั้งแรก เพื่อไม่ให้ต้องเรียนซ้ำชั้นปี ตอนนั้นผมเพิ่งข้ามไปเรียนคณะเภสัช ตอนปี 3 และผมเป็น นศ.รุ่นแรกที่ได้เข้าสอบซ่อม ซึ่งท่านสร้างคุณูปก...

พิชัย อัศวศักดิ์สกุล รุ่นที่ 7

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา