คำไว้อาลัย

จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ "ครูประดิษฐ์"
   

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. จันทรา ชัยพานิช คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2536-2540) คณบดีคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2540-2559)

1160  Views  

ด้วยความเคารพรักจาก ศิษย์

นักศึกษาเภสัชศาสตร์รุ่นแรก ๆ ที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร หลังท่านกลับจากศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีดิฉันร่วมอยู่ด้วยคนหนึ่ง ซึ่งเป็นประมาณปี พ.ศ. 2502 หลังจากนั้นดิฉันได้รับความเมตตาจากท่านในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ปี พ.ศ. 2515 ท่านรับดิฉันเข้าเป็นอาจารย์ภาควิชาเภสัชเคมีซึ่งมี ศาสตราจารย์ ไฉน สัมพันธารักษ์ เป็นหัวหน้าภาควิชา ต่อมาท่านได้ให้โอกาสดิฉันทำงานในตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิชาการในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งคณบดีอีกด้วย

ท่านอาจารย์ประดิษฐ์เป็นผู้ที่มีบุคลิก สง่างาม เรียบง่าย สุขุม เป็นครูที่มีเมตตาต่อศิษย์ เป็นผู้บริหาร นักพัฒนาที่ทำงานอย่างมีหลักเกณฑ์ เที่ยงตรง เป็นกลาง ฉับไว ทันเหตุการณ์เสมอ ดิฉันได้เรียนรู้วิธีทำงานของท่านและยึดถือมาเป็นหลักในการทำงานด้วยความระลึกถึงพระคุณของท่านเสมอมา

ในโอกาส 100 ปีชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร นี้ ในฐานะศิษย์ ดิฉันขอกราบระลึกถึงพระคุณของท่านด้วยความเคารพรักและกราบระลึกถึงพระคุณที่ท่านได้ก่อตั้ง ได้สร้าง คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท (มหิดล) ขึ้น พร้อมวางรากฐานทุกอย่าง รอบด้าน ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกล โครงการที่ท่านริเริ่มไว้ได้รับการดำเนินต่อและต่อยอด เป็นแนวทางให้คณะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง เป็นสากลในด้านวิชาการ และผลิตเภสัชบัณฑิตเป็นจำนวนมากที่มีความรู้และคุณธรรมทำงานด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอันเป็นที่น่าชื่นชมและภาคภูมิใจอย่างยิ่ง

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

 ปาจรีย์ประดิษฐ์ไท้  เทียบบิดรแห่งศิษย์เภสัชกร  ท่านสร้างรังสฤษฏ์สถาพร      เภสัช มหิดลนาคุณก่ออนันต์กว้าง  เกริกฟ้าเกรียงไกร &nbs...

ศิษย์เก่า รุ่นที่ 3

จำได้ว่าเคยถูกเรียกเข้าไปในห้องของคณบดี ซึ่งห้องอาจารย์อยู่ด้านหน้าสุดของตึก คือ เดินขึ้นบันได 2-3 ขั้น เลี้ยวซ้ายก็ถึงห้องอาจารย์ ตอนที่อาจารย์เรียกเข้าไป คือ เราตีปิงปอง โต๊ะอยู่หน้าห้องเรียนนักศึกษ...

ยุพา วิภาสวัชรโยธิน รุ่นที่ 8

อาจารย์ประดิษฐ์ ท่านเป็นคณบดีที่ให้มีนโยบายการสอบซ่อมเป็นครั้งแรก เพื่อไม่ให้ต้องเรียนซ้ำชั้นปี ตอนนั้นผมเพิ่งข้ามไปเรียนคณะเภสัช ตอนปี 3 และผมเป็น นศ.รุ่นแรกที่ได้เข้าสอบซ่อม ซึ่งท่านสร้างคุณูปก...

พิชัย อัศวศักดิ์สกุล รุ่นที่ 7

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา