คำไว้อาลัย

จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ "ครูประดิษฐ์"
   

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง เสริมสิริ วินิจฉัยกุล ภาควิชาชีวเคมี

1217  Views  

"พระคุณที่ยิ่งกว่า  พระคุณที่สาม"

ดิฉันเป็นศิษย์คนหนึ่งของ "ท่านอาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร" ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรียนหลักสูตร 5 ปี รุ่นที่ 4 พ.ศ. 2502-2507 จบเป็นบัณฑิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ท่านอาจารย์คือ ครูผู้สอนวิชา Physical Pharmacy เรียนชั้นปีที่ 4 และวิชา Manufacturing Pharmacy เรียนชั้นปีที่ 5

 

ท่านอาจารย์ ร้ํูจักดิฉันตั้งแต่ยังเด็ก อายุุประมาณ 8-9  ขวบ อยู่ชั้นประถมปีที่ 2   เพราะท่านเป็นเพื่อนกับพี่สาวของดิฉันคือ ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง สสี ปันยารชุน การที่ดิฉันได้เป็นเภสัชกรหญิง และได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ในรั้วจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก็ด้วยการสนับสนุนจากท่านอาจารย์ ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการคณะฯ

 

เมื่อมีการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตั้งอยู่บนถนนศรีอยุธยา ท่านอาจารย์ได้รับตำแหน่ง คณบดี ดิฉันได้ย้ายตามท่านมาเมื่ิอ พ.ศ. 2514 มาเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน และมาร่วมเป็นผู้บุกเบิกคณะใหม่ ที่ทุกอย่างดูเหมือนเริ่มต้นจาก 0 จากตึกเก่าของคณะวิทยาศาสตร์ที่อยู่ติดถนนศรีอยุธยาซึ่งเป็นถนนใหญ่ ท่านอาจารย์ให้เหตุผลว่า "ต่อไปเราจะตั้งร้านขายยาของคณะฯ ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง ทำเลริมถนนใหญ่จะดีกว่าแน่"  นี่คือ วิสัยทัศน์เริ่มแรกของท่านอาจารย์

 

จากการที่มีท่านอาจารย์เป็นผู้นำของภารกิจบุกเบิกตั้งคณะฯ  จึงได้เห็นความทุ่มเท ความเหน็ดเหนื่อย ความอดทน ได้เรียนรู้หลาย ๆ อย่างของการเป็นผู้นำ อาทิ 

1) การรับบุคลากรเข้าทำงาน ท่านมีเหตุผลว่า "ต้องการรับอาจารย์ใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากที่ต่าง ๆ กัน  เพื่อจะได้ความแตกต่าง 

2) ผลที่ตามมาจากข้อ 1)  ทำให้ท่านมีความรู้สึกว่า "เหมือน ยุงรำคาญ ที่มาร้องใกล้หูเวลานั่งเล่นตอนค่ำๆ”

3) จากการอยู่กับคนหมู่มาก มาจากที่ต่าง ๆ กัน เป็นแหล่งฝึกความอดทน "ผมกลัวเหลือเกินว่า วันหนึ่งมันจะระเบิดออกมาเมื่อทนไม่ไหว" 

4) อาจารย์พอใจหรือยังคะที่คณะฯ เจริญมาถึงขั้นนี้แล้ว? คำตอบคือ "สิ่งที่ผมอยากเห็นที่สุดก่อนเกษียณ อยากเห็นคณะฯ เราเปิดสอนระดับปริญญาเอก"

 

สิ่งที่ดิฉันได้รับจากท่านอาจารย์เป็นข้อคิดเสมอมาก็คือ  "การเป็นลูกน้องที่ดีนั้น ง่ายกว่าการเป็นหัวหน้าที่ดี มากมายหลายเท่าจริงๆ”

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

ย้อนกลับไปในช่วงที่นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 13 ข้ามฟากมาเรียนต่อปีที่ 3 ถึงปีที่ 5 ที่คณะเภสัชศาสตร์โดยตรง เราโชคดีที่ได้มีโอกาสเรียนวิชา Pharmacy Orientatio...

ภก. พรชัย ศรีศุภวินิจ เขียนในนามศิษย์รุ่น 13 รุ่นที่ 13

อาจารย์ประดิษฐ์ในภาพจำของผม ถ้าคนที่ไม่รู้จักอาจารย์ต้องมองว่าอาจารย์เป็นคนดุเข้าหายากแต่ สาหรับผมที่เป็นบัณฑิตรุ่น 3 เราจะสัมผัสได้ว่าอาจารย์เป็นคนจริงจังกับการงานแต่ก็มีเมตตาและใส่ใจกับลูกศิษย์...

ฑีฆายุ ชัยะโสตถิ รุ่นที่ 3

 ปาจรีย์ประดิษฐ์ไท้  เทียบบิดรแห่งศิษย์เภสัชกร  ท่านสร้างรังสฤษฏ์สถาพร      เภสัช มหิดลนาคุณก่ออนันต์กว้าง  เกริกฟ้าเกรียงไกร &nbs...

ศิษย์เก่า รุ่นที่ 3

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา