คำไว้อาลัย

จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ "ครูประดิษฐ์"
   

โดย รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง สุทิน ศิริไพรวัน ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

835  Views  

มีผู้ขอให้เขียนสั้นๆเพื่อรำลึกถึงผู้ที่มีคุณูปการใหญ่หลวงต่อวิชาชีพเภสัช ต่อคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้แต่นึกในใจว่าโจทย์นี้ยาก เพราะคุณความดีของท่านไม่สามารถเขียนสั้นๆได้ แต่อยากจะยกตัวอย่างสั้นๆในเรื่องวิสัยทัศน์อันยาวไกลของอาจารย์ในการที่จะสร้างคณะการศึกษาขึ้นมาได้สักคณะหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย  เริ่มตั้งแต่จะไปตั้งคณะอยู่ตรงไหนดี  พวกอาจารย์รุ่นบุกเบิกเคยเรียนถามท่านอาจารย์ประดิษฐ์ว่า  มหาวิทยาลัยมีที่มากมายให้ท่านเลือกว่าคณะเภสัชฯใหม่นี้อยากจะไปอยู่บริเวณถนนโยธีไหม  เพราะมีหลายคณะที่จะเปิดใหม่ไปอยู่ที่นั่น  จะได้สร้างตึกใหม่ตามแบบที่ต้องการ  แต่ท่านอาจารย์ไม่เอา ท่านกลับเลือกตึกเก่าของคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งเก่าโทรมมากเพราะใช้มานานหลายปี  ที่อยู่บนถนนศรีอยุธยา ด้านหลังเป็นกรมทหาร และมีตึกทำการเก่าๆของสหประชาชาติอยู่ด้านข้าง ท่านบอกพวกเราว่าตึกจะสร้างใหม่เมื่อไหร่ก็ได้  แต่ที่ดินดีๆหาไม่ได้  เราก็เลยพากันมาอยู่ที่ตึกเก่านี้  ห้องปฏิบัติการและห้องบรรยาย เก่าทุกอย่าง  ตู้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ 1 ห้องมีเกือบ 100 ตู้  มีถุญแจอยู่ครบทั้งพวง แต่ต้องหาเองว่ากุญแจแต่ละดอกเป็นของตู้ไหน แต่พวกอาจารย์ทุกคนก็ทำเป็นห้องปฏิบัติการที่ทำงานได้ครบถ้วนสำหรับสอนนักเรียนจนได้  ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป  สำนักงานของสหประชาชาติก็ย้ายออก  เราได้ที่เพิ่มขึ้น  ต่อมาก็มีการสร้างตึกเพิ่ม ทุบตึกเก่าทิ้งสร้างตึกใหม่  ทำให้คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนถนนศรีอยุธยาอยู่จนทุกวันนี้   นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆเพียงเรื่องเดียวเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของท่านที่ทำให้เรารำลึกถึงท่านอาจารย์ด้วยความเคารพและยกย่องท่านมาตลอด

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

อาจารย์ประดิษฐ์ในภาพจำของผม ถ้าคนที่ไม่รู้จักอาจารย์ต้องมองว่าอาจารย์เป็นคนดุเข้าหายากแต่ สาหรับผมที่เป็นบัณฑิตรุ่น 3 เราจะสัมผัสได้ว่าอาจารย์เป็นคนจริงจังกับการงานแต่ก็มีเมตตาและใส่ใจกับลูกศิษย์...

ฑีฆายุ ชัยะโสตถิ รุ่นที่ 3

ในปี 2525 ดิฉันเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสพบท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร อาจารย์ได้เล่าถึงเรื่องราวการทำงานโรงพยาบาลอำเภอของรุ่นพี่มหิดลรุ่น 6-7 และอาจารย์ได้ให้คำแนะ...

รศ.ดร.จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ รุ่นที่ 11

อาจารย์ประดิษฐ์ ท่านเป็นคณบดีที่ให้มีนโยบายการสอบซ่อมเป็นครั้งแรก เพื่อไม่ให้ต้องเรียนซ้ำชั้นปี ตอนนั้นผมเพิ่งข้ามไปเรียนคณะเภสัช ตอนปี 3 และผมเป็น นศ.รุ่นแรกที่ได้เข้าสอบซ่อม ซึ่งท่านสร้างคุณูปก...

พิชัย อัศวศักดิ์สกุล รุ่นที่ 7

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา