หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Rivotril 0.5 mg. 1/2 tab ก่อนนอน คุณหมอไม่ได้ให้กิน เเต่ให้บด ผสมน้ำ 10-15 นาที อมกลั้วทั่วปาก 10 นาที เเล้วบ้วนทิ้ง คุณหมอสั่ง 20 เม็ด ให้ทำเเบบนี้จนครบ 40 วันทุกคืนก่อนนอน สอบถามเภสัชว่า ยามีฤทธิ์เพื่อรักษาอะไร เเละมีผลข้างเคียงอย่างไรครับ

ถามโดย คำรบ เผยแพร่ตั้งแต่ 06/12/2019-17:16:43 -- 61,007 views
 

คำตอบ

Rivotril® เป็นชื่อการค้าที่มีตัวยาสำคัญคือ clonazepam ซึ่งเป็นยาที่ใช้ต้านอาการชัก อย่างไรก็ตามมีการใช้ clonazepam ในขนาดต่ำเพื่อใช้รักษากลุ่มอาการแสบร้อนช่องปาก (burning mouth syndrome) ให้ยาโดยการรับประทานหรือทำเป็นยาบ้วนปาก ในกรณีที่ใช้บ้วนปากนั้นผลจากการศึกษาโดยใช้ยาความแรง 0.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร บ้วนปากในปริมาณเล็กน้อย วันละ 2-4 ครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ พบว่ายาให้ผลทุเลาอาการแสบร้อนช่องปากได้ กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบชัดเจน แต่เชื่อว่ายายับยั้งความเจ็บปวดโดยออกฤทธิ์ผ่านตัวรับชนิดกาบา-เอ (GABA-A receptors) ที่อวัยวะส่วนปลาย (ภายในช่องปาก) และที่สมอง สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบเมื่อให้ยา clonazepam แบบเฉพาะที่โดยการบ้วนปาก เช่น อาการง่วงหลับ สงบประสาท อารมณ์เปลี่ยนแปลง สับสน Keywords: clonazepam, burning mouth syndrome, กลุ่มอาการแสบร้อนช่องปาก

Reference:
1. Rivotril® clonazepam 0.5 mg and 2 mg tablets. Canada; 2018. https://www.rochecanada.com/PMs/Rivotril/Rivotril_PM_E.pdf
2. de Castro LA, Ribeiro-Rotta RF. The effect of clonazepam mouthwash on the symptomatology of burning mouth syndrome: an open pilot study. Pain Med 2014;15(12):2164-5.
3. Tan SN, Song E, Dong XD, Somvanshi RK, Cairns BE. Peripheral GABA-A receptor activation modulates rat tongue afferent mechanical sensitivity. Arch Oral Biol 2014;59:251-7.
4. Kuten-Shorrer M, Treister NS, Stock S, Kelley JM, Ji DY, Woo S-B, et al. Topical clonazepam solution for the management of burning mouth syndrome. Oral Abstract Proceedings of the Annual Meeting of the American Academy of Oral Medicine, Atlanta, GA, April 6-9, 2016. https://www.oooojournal.net/article/S2212-4403(16)30324-8/pdf
5. Besson M, Matthey A, Daali Y, Poncet A, Vuilleumier P, Curatolo M, et al. GABAergic modulation in central sensitization in humans: a randomized placebo-controlled pharmacokinetic-pharmacodynamic study comparing clobazam with clonazepam in healthy volunteers. Pain 2015;156:397-404.

Keywords:
-





อื่นๆ ระบบประสาท

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้