หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หากต้องการเสริมฮอร์โมนทดแทน โดยการดื่มน้ำมะหร้าวแทนน้ำถั่วเหลืองจะได้หรือไม่คะ แล้วประสิทธิภาพต่างกันแค่ไหนคะ

ถามโดย hipoko เผยแพร่ตั้งแต่ 03/01/2011-16:49:00 -- 13,124 views
 

คำตอบ

ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) เป็นสารที่พบในพืช ไฟโตเอสโตรเจนมีส่วนโครงสร้างบางส่วนคล้ายกับ estradiol ซึ่งเป็นเอสโตรเจนที่พบในร่างกาย สารนี้จึงสามารถจับกับเอสโตรเจนรีเซปเตอร์ (estrogen receptor) และทำให้เกิดผลคล้ายกับเอสโตรเจนได้ จากการศึกษาพบว่า ฤทธิ์และความสามารถของไฟโตเอสโตรเจนในการกระตุ้นเอสโตรเจนรีเซปเตอร์ ประมาณ 10-2 – 10-4 เท่าของ 17B estradiol ซึ่งเป็นสารที่พบในร่างกาย โดยสรุป ไฟโตเอสโตรเจน เป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจนในมนุษย์ ซึ่งมีฤทธิ์เอสโตรเจนอ่อนๆ ไฟโตเอสโตรเจนถูกแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามโครงสร้างทางเคมี (chemical structure) โดยสารกลุ่มที่มีฤทธิ์เอสโตรเจน (estrogenic activity) มากที่สุด คือ flavones, flavonols, flavanones, lignans, chalcones และ isoflavones ซึ่งสารที่พบโดยส่วนใหญ่ในผลไม้ ผัก และเมล็ดธัญพืช ได้แก่ isoflavones และ lignans จากการหาข้อมูล พบว่า น้ำเต้าหู้ประกอบด้วยไฟโตเอสโตรเจน 17,556 ไมโครกรัม/ 100 กรัม ส่วนน้ำมะพร้าวประกอบด้วยไฟโตเอสโตรเจน 1,125x10-4 ไมโครกรัม/ 100 กรัม ซึ่งจะเห็นได้ว่าในน้ำเต้าหู้มีปริมาณไฟโตเอสโตรเจนที่สูงกว่าน้ำมะพร้าวมาก ดังนั้น หากต้องการต้องการปริมาณเอสโตรเจนเท่าเดิม จะต้องรับประทานปริมาณมากขึ้นค่ะ ข้อมูลเปรียบเทียบ Fatty acid profile ระหว่างน้ำมะพร้าว (coconut water) และนมถั่วเหลือง (soybean milk) Fatty acid Soymilk (% of total fatty acid) Coconut water (g/100) Young 206 g (water) Young 565 g (6 months) Mature 393 g (12 months) Saturated 6:0 - 0.001 - - 8:0 - 0.014 ND ND 10:0 - 0.011 0.0007 0.0028 12:0 - 0.088 0.002 0.0274 14:0 0.07 0.035 0.0023 0.019 15:0 0.02 - - - 16:0 10.7 0.017 0.0219 0.032 17:0 0.07 - 0.0009 0.0016 18:0 3.79 0.01 0.0039 0.0108 20:0 0.28 - 0.0016 0.0033 22:0 0.39 - - - 24:0 0.09 - - - Monounsaturated 16:1 - 0 0.0011 0.0007 16:1 (n-7) 0.05 - - - 17:1 0.004 - - - 18:1 - 0.008 0.0194 0.015 18:1 (n-9) 20.4 - - - 18:1 (n-7) 1.56 - - - 20:1 - - 0.0049 0.0019 22:1 - - 0.0011 0.0023 Polyunsaturated 18:2 t 0.03 - - - 18:2 (n-6) 54.8 0.02 0.0114 0.0032 18:3 (n-3) 7.53 - - - 20:4 (n-6) - - 0.0014 0.0022 ND = Non detectable

Reference:
1. Baber R. Phytoestrogens and post reproductive health. Maturitas. 2010;66:344-9.
2. Gunter G.C. Kuhnle, Caterina Dell’Aquila, Sue M. Aspinall, Shirley A. Runswick, Annemiek M.C.P. Joosen, Angela A. Mulligan, et al. Analytical Methods Phytoestrogen content of fruits and vegetables commonly consumed in the UK based on LC–MS and C-labelled standards. Food Chemistry 116. 2009;542–554.
3. Busakorn Punthmatharith, Prakong Tangpraprutgul, Sukanya Werawatgoompa. Sex hormone determination in tender coconut water.
4. Penalovo JL., et al. 2004. Fatty acid profile of traditional soymilk. Eur Food res Technol. 219: 251-53
5. Yong JWH., et al. 2009. The chemical composition and biological properties of coconut (Cocos nucifera L.) water. Molecules. 14: 5144-64.

Keywords:
-





ฮอร์โมน

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้