หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษาแบบอภิวิเคราะห์: ประสิทธิภาพของ meperidine (pethidine) ในการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบ

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มีนาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 3,847 ครั้ง
 
แม้ว่าแนวทางการรักษาจะไม่แนะนำให้ใช้ยาบรรเทาอาการปวดในกลุ่ม opioids เป็นยาตัวแรกในการรักษาภาวะปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน แต่ในทางปฏิบัติแพทย์โดยเฉพาะแถบอเมริกาเหนือมีการใช้ยาในกลุ่มนี้มาก และการศึกษาทางคลินิกในปัจจุบันยังมีน้อย และไม่สามารถสรุปผลการรักษาได้ ดังนั้นจึงทำการศึกษาทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและอภิวิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิภาพและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้ยากลุ่มนี้เทียบกับยาบรรเทาอาการปวดในกลุ่มอื่นๆ โดยทำการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Cochrane Central Register of Controlled Trial, Medline, EMBASE, CINAHL , LILACS และ emergency and headache medicine conference proceeding โดยการศึกษาแบบ randomization จะเป็นการศึกษาที่เปรียบเทียบผลการรักษาภาวะปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน ระหว่างการได้รับยาฉีดกลุ่มโอปิออยด์เทียบกับยาบรรเทาปวดที่ไม่ใช่กลุ่มโอปิออยด์ โดยมี primary outcome คือ อาการปวดที่บรรเทา แต่หากไม่มีข้อมูลในส่วนนี้จะใช้ข้อมูลจากการได้รับยาบรรเทาปวดหรือการเปลี่ยนแปลงของ visual analog scale (VAS) นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย dihydroegotamine, antiemetic alon e หรือ ketorolac และในแต่ละการศึกษาจะคำนวณค่า odd ratio (OR) สำหรับการบรรเทาอาการปวดศีรษะ ผลการสืบค้นข้อมูลพบ 11 การศึกษาที่มีเข้าตามเกณฑ์ในการคัดเลือก พบว่ามี 4 การศึกษา (n= 254) ที่มีการศึกษาการใช้ meperidine เทียบกับ dihydroegotamine 4 การศึกษา (n= 248) ที่มีการศึกษาการใช้ meperidine เทียบกับ antiemetic และ 3 การศึกษา (n= 123) ที่มีการศึกษาการใช้ meperidine เทียบกับ ketorolac ผลการศึกษาพบว่า meperidine มีประสิทธิภาพน้อยกว่า dihydroegotamine ในการบรรเทาอาการปวดศีรษะ (OR=0.30; 95% CI 0.09 to 0.97) และมีแนวโน้มที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายากลุ่ม antiemetic (OR=0.46; 95% CI 0.19 to 1.11) แต่อย่างไรก็ตาม meperidine มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ ketorolac (OR=1.75; 95% CI 0.84 to 3.61) เมื่อเทียบกับ dihydroegotamine แล้ว meperidine ทำให้เกิดอาการง่วงซึม (OR=3.52; 95% CI 0.87 to 14.19) และมึนงง (OR=8.67; 95% CI 2.66 to 28.23) ได้มากกว่า แต่เมื่อเทียบกับ antiemetic แล้ว meperidine จะทำให้เกิด akathisia (OR=0.10; 95% CI 0.02 to 0.57) น้อยกว่า นอกจากนี้ meperidine และ ketorolac ยังมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร (OR=1.27; 95% CI 0.31 to 5.15) และอาการง่วงซึม (OR=1.70; 95% CI 0.23 to 12.72) ได้ใกล้เคียงกัน จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าบุคคลากรทางการแพทย์ควรพิจารณาเลือกใช้ยาตัวอื่นๆ นอกเหนือจาก meperidine แบบฉีดในการรักษาผู้ที่มีภาวะปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้