หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Proton pump inhibitors (PPIs) กับภาวะขาดเหล็กและการเกิดโรคโลหิตจาง

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน ตุลาคม ปี 2561 -- อ่านแล้ว 6,299 ครั้ง
 
ยากลุ่ม proton pump inhibitors หรือ PPIs เป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารโดยออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ proton pump หรือเอนไซม์ hydrogen/potassium adenosine triphosphatase (หรือ H+/K+ ATPase) การใช้ยาเป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่าง รวมถึงภาวะขาดเหล็กและการเกิดโรคโลหิตจางจากการขาดเหล็ก (iron deficiency anemia) (ดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง “Proton pump inhibitors (PPIs) กับการใช้ที่เกินความจำเป็นหรือไม่?” ใน “ข่าวยา” ประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน ตุลาคม ปี 2561 ได้ที่ https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1480)

เหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของฮีโมโกลบิน (hemoglobin) การขาดเหล็กทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิด microcytic anemia ได้ ทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ลดลง ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานถึงผลการศึกษาแบบ case-control study เพื่อศึกษาถึงภาวะกรดในกระเพาะอาหารน้อย (hypochlorhydria) จากการใช้ยา PPIs ได้แก่ omeprazole, pantoprazole, lansoprazole, rabeprazole, esomeprazole และ dexlansoprazole กับภาวะขาดเหล็ก มีผู้เข้าร่วมในการศึกษาทั้งสิ้น 53,612 คน ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ของการใช้ PPIs กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดเหล็ก โดยขึ้นกับขนาดยาและระยะเวลาที่ใช้ยา หากพิจารณาผลในผู้ที่ใช้ยานานกว่า 1 ปีพบว่าความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดเหล็กไม่ได้เพิ่มขึ้นไปอีก นอกจากนี้เมื่อเร็วๆ นี้มีรายงานถึงการเกิดโรคโลหิตจางชนิด microcytic anemia ในผู้ป่วยอายุ 52 ปีรายหนึ่งซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease หรือ GERD) และรับประทาน omeprazole เรื่อยมาเป็นเวลานานถึง 25 ปี ในรายงานคาดว่าโรคโลหิตจางดังกล่าวเกิดเนื่องจากการดูดซึมเหล็กจากทางเดินอาหารลดลง อันเป็นผลมาจากกรดในกระเพาะอาหารมีปริมาณลดลงเพราะการใช้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs

อ้างอิงจาก:

(1) Tran-Duy A, Connell NJ, Vanmolkot FH, Souverein PC, de Wit NJ, Stehouwer CDA, et al. Use of proton pump inhibitors and risk of iron deficiency: a population-based case-control study. J Intern Med 2018. doi: 10.1111/joim.12826; (2) Imai R, Higuchi T, Morimoto M, Koyamada R, Okada S. Iron deficiency anemia due to the long-term use of a proton pump inhibitor. Intern Med 2018;57:899-901.

คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
proton pump inhibitors PPIs ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร proton pump hydrogen/potassium adenosine triphosphatase H+/K+ ATPase omeprazole esomeprazole lansoprazole dexlansoprazole pantoprazole rabeprazole ภาวะขาดเหล็ก การเกิดโรคโลหิ
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.3 ยาชุด Non-prescribed polypharmacy

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้