Loading…

บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 8

บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 8
รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
21,279 ครั้ง เมื่อ 2 นาทีที่แล้ว
2012-01-29
กล่องผนึกฝา
กล่องเป็นบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิซึ่งไม่สัมผัสโดยตรงกับยา มีประโยชน์สำหรับยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ใช้ในลักษณะการบริการตนเองของลูกค้า เพราะให้ขีดความสามารถในการนำเสนอสินค้า ให้ความแข็งแรงในการป้องกันผลิตภัณฑ์ที่แตกง่าย และสามารถแสดงฉลากได้มากตามต้องการเหนือภาชนะที่ใช้บรรจุยาโดยตรง ปัจจุบันนี้ มีการนำกล่องพับมาใส่ภาชนะบรรจุยา1
การใช้กล่องแบบสอดปลายฝากล่อง (tuck end carton) ดังแสดงในรูปที่ 1(A) ไม่เป็นที่นิยมในการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ต้านการแกะ หากจำเป็นต้องใช้จะต้องอาศัยการต้านการแกะแบบที่ถูกต้องมาร่วม คือ การใช้ห่อแบบฟิล์มหด การผนึกด้วยเทปหรือกาว สำหรับกล่องที่เหมาะสมจะเป็นกล่องแบบผนึกฝา (seal end carton)1, 2 การปิดผนึกอาจใช้กาวหรือวิธีหลอมร้อนของพอลิเมอร์หรือโคพอลิเมอร์ที่เหมาะสม1, 3 นอกจากนี้ยังสามารถกันฝุ่นดี เพราะมีปีกกันฝุ่น (dust flap) 2 ด้าน รวมทั้งการปิดผนึกของฝากล่องทั้งสอง2

ภาชนะบรรจุแอโรซอล
ภาชนะบรรจุแอโรซอลที่ใช้สำหรับเภสัชผลิตภัณฑ์ ปรกติทำด้วยเหรียญอลูมิเนียมที่ถูกดึงหรือรีดให้ขึ้นรูปเป็นภาชนะ มีการเคลือบภายในภาชนะหากมีปัญหาความไม่เข้ากันกับผลิตภัณฑ์ สารที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นละอองฝอยเมื่อฉีดพ่นคือ สารขับดันไฮโดรคาร์บอนซึ่งจะอยู่ในสถานะของเหลวขณะเย็นลง และใช้เติมลงในภาชนะพร้อมกับผลิตภัณฑ์ หัวฉีดจะประกอบอยู่ในปลอกโลหะติดประเก็นซึ่งถูกกดจีบบนปากภาชนะ หลอดจุ่มเป็นหลอดพอลิเอธิลีนความยาวเหมาะสม นำมาจุ่มในผลิตภัณฑ์และต่อแนบกับหัวฉีดซึ่งจะดึงผลิตภัณฑ์ขึ้นไปเมื่อเปิดหัวฉีดพร้อมทำงาน (activated) มีการทำให้หัวฉีดวัดขนาดฉีดจำเพาะของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ปริมาณที่พ่นจ่ายออกมาได้ตามต้องการ ภาชนะบรรจุแอโรซอล จึงมีคุณลักษณะต้านการแกะโดยการการออกแบบการใช้งานนั่นเอง1, 4, 5 การแสดงฉลากจะต้องพิมพ์ฉลากโดยตรงบนกระป๋อง จะต้องไม่ใช้ฉลากกระดาษ เพราะสามารถลอกออกได้และปิดฉลากใหม่แทน4

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
  2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์. Collaborative Learning for Packaging Design Using VR and KM. (http://innomedialab.com/covrkm/E-learning/s13.html).
  3. Kauffman TF, Puletti PP. Bonding method employing sprayable hot melt adhesives for case and carton sealing. United States Patent 4956207.
  4. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  5. Sciarra JJ, Cutie NJ. Pharmaceutical aerosols. In: In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 589-618.
  6. Harris T. How aerosol cans work. HowStuffWorks. (http://science.howstuffworks.com/innovation/everyday-innovations/aerosol-can3.htm)

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 1 วินาทีที่แล้ว
ออกกำลังกายอย่างไรดี ? 1 วินาทีที่แล้ว
การรักษาแผลเป็นโดยการใช้สารสกัดจากหัวหอม 1 วินาทีที่แล้ว
ท้องผูกและการใช้ยาระบาย 2 วินาทีที่แล้ว
ยาลดไขมัน...ผลไม่พึงประสงค์ต่อกล้ามเนื้อ 2 วินาทีที่แล้ว
รอบรู้เรื่องธาตุกัมมันตรังสี 2 วินาทีที่แล้ว
ยาคุมฉุกเฉิน ... เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้ 2 วินาทีที่แล้ว
ยาห้าราก : ตำรับยาสมุนไพรแก้ไข้ 2 วินาทีที่แล้ว
ยาเลื่อนประจำเดือน .. ที่นี่มีคำตอบ 2 วินาทีที่แล้ว
รู้เท่าทันการใช้ฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยหมดประจำเดือน 10 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล