โรคเบาหวานกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
21,970 ครั้ง เมื่อ 3 ช.ม.ที่แล้ว | |
2021-05-21 |
การศึกษาหลายการศึกษาให้ผลสอดคล้องกันว่า นอกจากภาวะสูงอายุแล้ว ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ซึ่งเป็นสาเหตุการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 : COVID-19) ที่มีโรคอื่นร่วมด้วย จะมีอาการแสดงที่รุนแรงและมีความเสี่ยงต่ออัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคร่วมด้วย โดยโรคที่พบร่วมซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุด คือโรคความดันโลหิตสูง รองลงมาคือโรคเบาหวาน และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรัง ตามลำดับ(1,2) นอกจากนั้นโรคชนิดอื่น เช่นโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคปอด ล้วนมีผลส่งเสริมทำให้อาการแสดงจากโรค COVID-19 รุนแรงขึ้น และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น
ภาพจาก : https://images.hindustantimes.com/img/2021/05/05/550x309/pjimage_-_2021-05-05T201914.985_1620226240294_1620226250832.jpg
ผู้เป็นเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุโรค COVID-19 ได้มากกว่าคนปกติหรือไม่
แม้โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมอาการแสดงที่รุนแรงและอาจก่อให้เกิดการเสียชีวิตจากโรค COVID-19 ได้ (1) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 มีโอกาสติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ได้ไม่แตกต่างจากคนปกติ เพียงแต่หากผู้ป่วยเบาหวานเกิดการติดเชื้อแล้วจะมีโอกาสเกิดอาการแสดงที่รุนแรงมากกว่า ทั้งนี้อ้างอิงจากผลการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ซึ่งวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลจากผลการศึกษาทางคลินิกจำนวน 14 การศึกษา มีผู้ป่วยโรค COVID-19 จำนวน 29,909 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 จำนวน 1,445 คน พบว่าผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย มีความเสี่ยงการเสียชีวิตมากกว่าคนปกติอย่างมันัยสำคัญทางสถิติมากกว่า 2 เท่า (OR = 2.41, 95%CI: 1.05–5.51, p = 0.037)(1)
ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีอาการแสดงจากการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 รุนแรงกว่าคนปกติ (2)
สาเหตุที่คาดว่าเกี่ยวข้อง ได้แก่
แนวทางรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ป่วยเป็นโรค COVID-19
หากผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน แสดงมีอาการทางเดินหายใจ ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อย มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ที่ต้องสงสัยการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ให้รีบไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลทันที การมารักษาช้าอาจเสี่ยงต่อการอาการแสดงที่รุนแรงอันอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ (3)
การศึกษาทางคลินิกพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรค COVID-19 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ (uncontrolled diabetes) จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและต้องใช้เวลารักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่าคนปกติ (4) ดังนั้นวิธีการสำคัญที่สุดในการรักษา คือ ผู้ป่วยควรต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ร่วมกับการติดตามรักษาอาการแสดงอื่นๆจากโรค COVID-19 โดยหากผู้ป่วยสามารถรับประทานยาได้ ควรรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดที่ทานอยู่เดิม ไม่ควรหยุดยาหรือปรับเปลี่ยนยาเอง และหากต้องรักษาตัวในสถานพยาบาลต้องแจ้งรายละเอียดชนิดยาที่ใช้อยู่ให้แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบ เพื่อพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมตามระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย (3)
โดยสรุป ผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งมีความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุการป่วยโรค CVOID-19 ดังนั้นการปฎิบัติตัวอย่างถูกวิธีในการป้องกันการติดเชื้อตามแนวทางของกรมควบคุมโรค (3) เช่น การหมั่นล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง เว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ใกล้ชิดคนอื่นให้น้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น เป็นต้น ร่วมกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ระดับปกติ และสิ่งสำคัญคือต้องกระตุ้นความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันร่างกายโดยการหมั่นดูแลให้ร่างกายแข็งแรงโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการเข้าข่ายการติดเชื้อให้รีบตรวจยืนยันการติดเชื้อและเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด
ยาในน้ำนมแม่ ตอนที่ 3 : ยาแก้ปวด-ลดไข้และยาแก้ข้ออักเสบ 1 วินาทีที่แล้ว | |
ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 14 วินาทีที่แล้ว | |
ยาเลื่อนประจำเดือน .. ที่นี่มีคำตอบ 14 วินาทีที่แล้ว | |
การทำสมาธิส่งผลดีต่อสมองอย่างไร? 16 วินาทีที่แล้ว | |
กลิ่นตัว ปัญหากวนใจที่แก้ไขได้ 17 วินาทีที่แล้ว | |
กินยาพร้อมนม ได้ผลหรือไม่ ? 19 วินาทีที่แล้ว | |
ยาแก้ไอ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan) และการนำไปใช้ ในทางที่ผิด 19 วินาทีที่แล้ว | |
ยาที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 22 วินาทีที่แล้ว | |
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) 36 วินาทีที่แล้ว | |
ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ลืมกินยาตามเวลา อันตรายหรือไม่ 38 วินาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome