การทำสมาธิส่งผลดีต่อสมองอย่างไร?
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยิ่งรัก บุญดำ ช่วยบุญ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
3,287 ครั้ง เมื่อ 3 นาทีที่แล้ว | |
2024-01-30 |
การทำสมาธิคืออะไร?
การทำสมาธิเป็นกิจกรรมการฝึกฝนใจรูปแบบหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มความสนใจต่อสิ่งเร้าที่อยู่เบื้องหน้า หรือความตั้งอกตั้งใจในการทำกิจกรรม ณ ขณะนั้น การทำสมาธิเป็นกิจกรรมที่มนุษย์เราปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานหลายพันปี ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น การฝึกกำหนดลมหายใจเข้า-ออก หรือการพยายามเพ่งความสนใจไปที่ร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อมรอบตัว อย่างพร้อม ๆ กัน โดยขณะที่กำลังทำสมาธินั้น เราจะต้องพยายามควบคุมจิตใจของตนให้สนใจอยู่กับกิจกรรมที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะส่งผลให้เราเกิดความตระหนักรู้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ต่อความคิดของตนเอง ความรู้สึกที่เกิดขึ้น และการกระทำที่เกิดขึ้นขณะนั้น ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนยังสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลให้เราสามารถควบคุมความสนใจ ความเครียด และอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น เมื่อเราต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยาก เราก็จะสามารถจัดการอารมณ์ความรู้สึกให้เย็นขึ้นได้อย่างไม่ง่ายดาย
การเปลี่ยนแปลงของสมองขณะทำสมาธิ
กระบวนการของสมองที่เกิดขึ้นขณะทำสมาธิ จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้ (cognition) ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายถึงความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น การเพ่งความสนใจ การตัดสินใจ การเรียนรู้ และ การจำ เป็นต้น กระบวนการดังกล่าวจะทำให้เราเข้าใจและมีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่เราทำสมาธินั้น เราได้ใช้กระบวนการรับรู้มากมาย เราต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการเพ่งความสนใจไปที่เป้าหมาย ถ้าความคิดความสนใจเกิดหลุดลอยไป เราก็จะต้องพยายามรวบรวมความคิดและจิตใจให้กลับมาเพิ่งความสนใจต่อเป้าหมายอีกครั้ง
ความพยายามที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นเป็นการออกกำลังกายสมองที่ดีมาก ทำให้สมองของเราสามารถเพ่งความสนใจต่อเป้าหมายได้นานขึ้น มีงานวิจัยที่พบการเพิ่มขึ้นของคลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ฝึกสมาธิขณะที่ต้องเพ่งความสนใจในการทำแบบทดสอบที่น่าเบื่ออย่างยาวนาน การเพิ่มขึ้นของไฟฟ้าสมองเป็นตัวบ่งบอกว่าเซลล์ประสาทในสมองมีการติดต่อกันมากขึ้น นอกจากนี้พบว่าในช่วงที่ความคิดเราหลุดลอย และเราพยายามดึงความคิดกลับมานั้น ยังเป็นการเพิ่มทักษะความยืดหยุ่นทางความคิด (cognitive flexibility) ซึ่งเป็นทักษะในการเปลี่ยนความคิดไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การหยุดเล่นโทรศัพท์เมื่อถึงเวลาไปประชุม การทำสมาธิจะช่วยให้เซลล์สมองเปลี่ยนการติดต่อจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว หากเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของสมองดังกล่าวกับเรื่องของอารมณ์ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้ที่ทำสมาธิจึงสามารถปล่อยวางความคิดจากอารมณ์ที่เป็นลบ แล้วไปให้ความสนใจต่ออารมณ์ที่เป็นบวกได้อย่างไม่ยากเย็น
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝน การทำสมาธิเพียงวันเดียวไม่สามารถทำให้สมองของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เราต้องฝึกทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ การเริ่มต้นทำสมาธินั้นอาจจะเป็นเรื่องยาก พึงระลึกว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบตั้งแต่วันแรก แค่เพียงการที่เราสามารถดึงความคิดที่หลุดลอยไปให้กลับมาสนใจต่อการทำสมาธิได้นั้น ก็เป็นการฝึกกระบวนการรับรู้รูปแบบหนึ่งแล้ว
Image by Freepik
รางจืด สมุนไพรแก้พิษและล้างพิษ 1 วินาทีที่แล้ว | |
ออกกำลังกายอย่างไรดี ? 5 วินาทีที่แล้ว | |
การใช้สมุนไพร อายุรเวท รักษามะเร็ง 11 วินาทีที่แล้ว | |
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน 1 นาทีที่แล้ว | |
แก้วมังกร 1 นาทีที่แล้ว | |
หน้ากากอนามัยกับโควิด-19 1 นาทีที่แล้ว | |
ไขข้อข้องใจ...การตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) 1 นาทีที่แล้ว | |
การใช้ยาในหญิงมีครรภ์ : ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ 1 นาทีที่แล้ว | |
ดูแลไตอย่างไร...ให้อยู่กับเราไปนานๆ 1 นาทีที่แล้ว | |
ยาคุม 24+4: วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับผู้หญิงไทยยุคใหม่ 1 นาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome