Loading…

โรคไลม์ (Lyme disease)

โรคไลม์ (Lyme disease)

อาจารย์ ดร.ทนพ. เมธี ศรีประพันธ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

31,519 ครั้ง เมื่อ 1 วันที่แล้ว
2019-07-24


ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ปี 2562 ที่ผ่านมา มีการนำเสนอและแชร์ข่าวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันหรือในอดีตแทบจะไม่เคยได้ยินข่าวหรือรายงานการระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยเลย โดยโรคนี้มีแมลงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เห็บ” (คนไทยจะคุ้นเคยกับชื่อแมลงชนิดนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากแมลงชนิดนี้สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงที่มีความใกล้ชิดกับคน เช่น สุนัขหรือแมว) เป็นพาหะในการนำเชื้อมาสู่คน ซึ่งโรคที่จะกล่าวถึงในบทความเรื่องนี้คือโรคไลม์ (Lyme disease) นั่นเอง 
โรคไลม์ (Lyme disease) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายเกลียวสว่าน ชื่อว่า Borrelia burgdorferi (บอร์รีเลีย เบริ์กโดเฟอรี่) ซึ่งพาหะที่สำคัญในการนำโรคมายังคนคือตัว “เห็บ” ปกติเชื้อชนิดนี้จะทำให้เกิดการติดเชื้อในสัตว์ โดยสัตว์ที่เป็นแหล่งกักตุนเชื้อโรคหรือรังโรคที่สำคัญได้แก่ สุนัข แมว ม้า กวาง วัว ควาย หนู เป็นต้น เมื่อเห็บไปดูดเลือดสัตว์เหล่านี้และไปกัดสัตว์อื่นๆ หรือกัดคนเพื่อดูดเลือดทำให้มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อ ส่งผลให้สัตว์หรือคนที่ถูกกัดเป็นโรคได้ ส่วนใหญ่การระบาดของโรคนี้จะอยู่ในพื้นที่ของประเทศแถบอเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย 
สำหรับประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานการระบาดและรายงานผู้ป่วยโรคไลม์ มาก่อนในอดีต อย่างไรก็ตามเคยมีการศึกษาวิจัยในประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า สามารถตรวจพบแอนติบอดีรวมถึงสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคไลม์ในสุนัข แต่ไม่พบเชื้อในตัวเห็บที่เก็บมาจากสุนัขที่ถูกนำไปศึกษาในงานวิจัยดังกล่าว (

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

ที่ 4)           สำหรับผู้ป่วยคนไทยที่มีรายงานการติดเชื้อครั้งนี้เป็นผู้ที่มีประวัติการเดินทางไปต่างประเทศที่เป็นแหล่งระบาดของโรคดังกล่าวและอาจถูกเห็บกัดทำให้ได้รับเชื้อมา ซึ่งยืนยันจากการตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อดังกล่าวในเลือด อาการที่พบ           บริเวณที่ถูกเห็บกัดจะมีลักษณะแผลเรียบสีแดง และขยายวงกว้างออกไป โดยมีชื่อเรียกลักษณะที่เกิดขึ้นว่า erythema migrans (ดังภาพที่ 1) นอกจากนี้อาจมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมาอีกนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาจมีอาการปวดทางข้อ อาการทางระบบประสาท อาจเกิดการอัมพาตหรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อซีกใดซีกหนึ่งของใบหน้า รวมถึงมีภาวะใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจตื้น ถ้าไม่มีการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ ปวดหัวรุนแรง ปวดข้อ เอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกอย่างรุนแรง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ นอกจากนี้อาจมีปัญหาด้านการรับรู้ การจดจำ การพูด และอารมณ์แปรปรวนตามมาได้ รวมถึงมีโอกาสที่จะเกิดภาวะผิดปกติที่หัวใจและปอดร่วมด้วย ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ การวินิจฉัย           แพทย์จะวินิจฉัยโรคจากการตรวจร่างกาย ซักประวัติการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไลม์ รวมถึงประวัติการสัมผัสสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรค นอกจากนี้ผู้ที่สงสัยการติดเชื้อจะถูกตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี (สามารถตรวจได้ภายใน 3-6 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ) รวมถึงอาจใช้วิธีตรวจโดยใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยาเข้าร่วมด้วย ถ้าผู้ป่วยมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดข้อหรืออาการทางระบบประสาท จะมีการประเมินภาวะดังกล่าวเพื่อประกอบการวินิจฉัยร่วมด้วย การรักษา           ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วจะทำให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเช่น Doxycycline, Amoxicillin หรือ Ceftriaxone เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการติดตามอาการรวมถึงเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนระหว่างและภายหลังการรักษาเช่นกัน การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการไปในบริเวณที่มีเห็บชุกชุมหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดรวมถึงใช้ยาป้องกันแมลงกัดทุกครั้งเมื่อไปเที่ยวป่าหรือเข้าไปในบริเวณที่มีหญ้าขึ้นสูงและรก
  • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัยและพื้นที่เลี้ยงสัตว์ เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของเห็บและแมลงอื่นๆ
  • หมั่นรักษาความสะอาดของสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่ของเห็บรวมถึงลดโอกาสการแพร่เชื้อจากเห็บสู่คน
  • ถ้าโดนเห็บกัดให้รีบดึงตัวเห็บออก จากนั้นทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำเปล่า น้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล หมั่นสังเกตอาการ ถ้าพบว่ามีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที
เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา