Loading…

เบต้ากลูแคนจากเห็ดแครง

เบต้ากลูแคนจากเห็ดแครง
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. วีณา จิรัจฉริยากูล ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
34,003 ครั้ง เมื่อ 2 นาทีที่แล้ว
2016-10-19
เห็ดแครงหรือเห็ดตีนตุ๊กแก มีชื่อวิทยาศาสตร์ Schizophyllum commune นิยมนำมารับประทานในรูปของแกงกระทิหรือลาบ นอกจากสารอาหารในเห็ดแครง เช่น โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เห็ดแครงยังมีสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ยับยั้งการอักเสบและมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน สารที่แสดงฤทธิ์ทางชีวภาพในเห็ดส่วนใหญ่ประกอบด้วยสาร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโพลีแซคคาไรด์หรือกลัยแคนหรือเส้นใยอาหาร (dietary fiber) และกลุ่มไอโซพรีนอยด์ สารโพลีแซคคาไรด์ในเห็ดแครง มีชื่อว่า ชิโซฟิลแลน (schizophyllan) ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็ง โครงสร้างเคมีของชิโซฟิลแลน ประกอบด้วยหน่วยย่อยซึ่งเป็นน้ำตาลกลูโคส 2-8 หน่วย เชื่อมต่อกันแบบ β(1-->3) และมีแขนงแยกที่กลูโคสตัวที่ 5 ซึ่งเชื่อมต่อกันแบบ β(1-->6) หรือ β(1-->3) (ดังแสดงในรูปหน่วยย่อย) หน่วยย่อยนี้จะซ้ำกันนับพันครั้ง ทำให้ชิโซฟิลแลนเป็นกลูแคนหรือเบต้ากลูแคนที่มีโมเลกุลใหญ่ (macromolecule) มีน้ำหนักโมเลกุล 450,000 ดาลตัน

ชิโซฟิลแลนเป็นยาร่วมในการรักษาโรคมะเร็ง (adjuvant therapy) คล้ายคลึงกับเลนติแนน (lentinan) ซึ่งเป็นเบต้ากลูแคนที่แยกได้จากเห็ดชิตาเกะ (shitake, Lentinus edodes) ชิโซฟิลแลนใช้รักษามะเร็งปอดที่รักษาด้วยการผ่าตัดไม่ได้ มะเร็งมดลูก และมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยพัฒนาเป็นยาฉีดเข้ากล้าม (i.m.) ใต้ผิวหนัง (s.c.) ใต้ผิวหนังหน้าท้อง (i.p.) และเข้าเส้นเลือดดำ (i.v.) ขนาดที่ใช้ 20 มก. 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ หรือ 40 มก. 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์
งานวิจัยเห็ดแครงในประเทศไทย พบว่า สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลของเห็ดแครง มีฤทธิ์ต้านอักเสบ โดยยับยั้งที่เมแทบอลิซึมของโปรสตาแกลนดิน (prostaglandin E2) สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอล มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยยับยั้งการหลั่งไซโตไคน์ (cytokine) ชนิด TNF-? และ IL-6 ตามลำดับ

นอกจากคุณสมบัติต้านมะเร็งของเบต้ากลูแคนที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เบต้ากลูแคนยังปรับสภาพอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ระดับคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาล ความต้านทานต่อโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เบต้ากลูแคนสามารถเป็นตัวพายานาโน ก่อเจลและกระตุ้นการสะสมคอลลาเจนซึ่งช่วยสมานแผล และยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ดังกล่าว ทำให้เบต้ากลูแคนมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอาหารเสริม ยาจากธรรมชาติ และเครื่องสำอาง
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Appendix B: Common Laboratory Tests. In. Chisholm-Burns MA, Wells BG, Schwinghammer TL, Malone PM, Kolesar JM, Rotschafer JC, Dipiro JT, editors. Pharmacotherapy principles & practice. The McGraw-Hill Companies, Inc. 2008: 1545.
  2. Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) CKD Work Group. KDIGO 2012 clinical practice guideline for the evaluation and management of chronic kidney disease. Kidney inter., Suppl 2013; 3:1–150.
  3. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558 (Clinical Practice Recommendation for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease in Adults 2015).
  4. Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) CKD–MBD Work Group. KDIGO clinical practice guideline for the diagnosis, evaluation, prevention, and treatment of chronic kidney disease–mineral and bone disorder (CKD–MBD). Kidney Inter., Suppl 2009; 76:S1–130.
  5. Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) Anemia Work Group. KDIGO clinical practice guideline for anemia in chronic kidney disease. Kidney Inter., Suppl 2012; 2:279–335.
-->

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

ผลิตภัณฑ์ เห็ดหลินจือ ปลอดภัยหรือไม่ ?? 1 วินาทีที่แล้ว
อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกิน 2 วินาทีที่แล้ว
รอบรู้เรื่องธาตุกัมมันตรังสี 4 วินาทีที่แล้ว
ถั่งเช่า ช่วยเพิ่มสมรรถภาพ จริงหรือ? 4 วินาทีที่แล้ว
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับการใช้กัญชา 6 วินาทีที่แล้ว
เข้าถ้ำ เข้าป่า ระวังติดเชื้อที่แฝงอยู่ 6 วินาทีที่แล้ว
การรักษาแผลเป็นโดยการใช้สารสกัดจากหัวหอม 7 วินาทีที่แล้ว
โรคเกาต์ (gout) ดูแลอย่างไรดี 8 วินาทีที่แล้ว
โรคไขมันพอกตับ : ยาที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับและยาที่ใช้รักษา 8 วินาทีที่แล้ว
ห่อตัวทารกอย่างไร ปลอดภัยจากโรคไหลตาย 13 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล