Loading…

ยาฉีด...ใครๆก็ฉีดเองได้จริงหรือ?

ยาฉีด...ใครๆก็ฉีดเองได้จริงหรือ?
อ. ดร. อัญชลี จินตพัฒนากิจ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
81,185 ครั้ง เมื่อ 1 ช.ม.ที่แล้ว
2010-03-09

หลายครั้งที่เจอคนเข้ามาถามหายาฉีดในร้านขายยา จากการสอบถามพบว่าซื้อเพื่อนำไปฉีดเอง สงสัยเหลือเกินว่าคนที่มาถามหานั้น รู้หรือไม่ว่าการฉีดยาเข้าสู่ร่างกายโดยขาดทักษะ ความรู้และความเข้าใจนั้นมันเสี่ยงต่อความปลอดภัยของตัวเองขนาดไหน

ถึงแม้ว่าการฉีดยาจะเห็นผลเร็ว แต่ก็มีวิธีการที่ยุ่งยาก สิ้นเปลือง อีกทั้งวิธีการให้จะต้องถูกต้อง จำเป็นต้องใช้วิธีทำให้ปราศจากเชื้ออย่างแท้จริง ตั้งแต่การเตรียมจนกระทั่งถึงการให้ยา นอกจากนี้การให้ยาโดยการฉีดจำเป็นต้องให้โดยแพทย์ พยาบาล หรือผู้ที่ได้รับการฝึกมาพิเศษ มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ได้รับได้ ดังนั้นการให้ยาโดยวิธีนี้จึงกระทำเมื่อจำเป็น และเมื่อไม่สามารถให้โดยวิธีอื่นได้

โดยทั่วไปอันตรายจากการให้ยาฉีดอาจแบ่งเป็น 3 อย่างคือ

1. อันตรายที่เกิดจากยาฉีดเอง

ส่วนใหญ่เกิดจากตัวยาสำคัญหรือตัวยาอื่นๆในยาฉีดที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหลอดเลือด ซึ่งยาประเภทนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการให้ยา

2. อันตรายที่เกิดจากการให้ยาฉีด

ที่พบมากคือความเจ็บปวดและอาการแทรกซ้อนจากการให้ยา ซึ่งอาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ เช่นวิธีการให้ยาฉีด เทคนิคการฉีด จำนวนยาที่ฉีด ขนาดของเข็มที่ใช้ ชนิดของตัวยา เป็นต้น การฉีดยาไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดหลอดเลือดดำอักเสบ เนื้อเยื่อตายบริเวณที่ฉีด นอกจากนี้ถ้าการให้ยาฉีดไม่มีการควบคุมให้ปราศจากเชื้อ อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้ง่ายขึ้น (septicemia)

3. อันตรายอื่นๆ

สำหรับยาฉีดในแอมพูลที่ทำด้วยแก้ว ปัญหาที่พบได้บ่อยคือการที่มีเศษแก้วจากการหักหลอดแอมพูลหลุดเข้าไปในเข็มฉีดยา ถ้ามีการฉีดเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะมีขนาดหรือจำนวนเท่าใดก็ตาม ก็สามารถทำอันตรายให้ถึงชีวิต

อีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังคือการแบ่งยาฉีดมาใช้จากแอมพูล โดยทั่วไปยาฉีดที่บรรจุในแอมพูลเป็นยาฉีดที่จะให้แก่คนไข้ครั้งเดียว ถ้าใช้ไม่หมดส่วนที่เหลือจำเป็นต้องทิ้งเพราะอาจมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ หากมีการนำยาส่วนที่เหลือมาใช้ต่อไปก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้

ยาฉีดบางประเภทอยู่ในรูปแบบผง ก่อนใช้ต้องละลายตัวยาด้วยตัวทำละลายก่อนฉีดเข้าสู่ร่างกาย ถ้าเลือกใช้ตัวทำละลายไม่ถูกต้องก็อาจก่อให้เกิดการละลายไม่สมบูรณ์ การตกตะกอน ตลอดจนเกิดอาการข้างเคียงขึ้นได้

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
: 1. เฉลิมศรี ภุมมางกูร. 2525  ยาเตรียมปราศจากเชื้อที่ใช้ในโรงพยาบาล.  ศูนย์บริการหนังสือ-ข่าวสารทางการแพทย์และสาธารณสุข

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

การปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ 1 วินาทีที่แล้ว
รู้ให้ชัดกับ ยาแก้อักเสบ 1 วินาทีที่แล้ว
เผลอลืมให้ยาสัตว์เลี้ยงไป...ควรทำอย่างไรดี 2 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) 6 วินาทีที่แล้ว
ฟ้าทะลายโจร ยังไม่มีหลักฐานป้องกันรักษาโควิด-19 โคโรน่าไวรัสได้ 9 วินาทีที่แล้ว
ยาที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 10 วินาทีที่แล้ว
ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 12 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย 15 วินาทีที่แล้ว
ทรามาดอล (Tramadol) เหยื่อของการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด 16 วินาทีที่แล้ว
น้ำกัดเท้า...โรคที่มาพร้อมหน้าฝน 19 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล