สารบำรุงตาจากพืชมีสี
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
23,873 ครั้ง เมื่อ 4 ช.ม.ที่แล้ว | |
2016-10-14 |
ดวงตาทำหน้าที่เป็นอวัยวะรับความรู้สึกด้านการมองเห็น เป็น 1 ใน 5 อวัยวะรับความรู้สึกของมนุษย์ เราใช้ดวงตาของเราตั้งแต่เกิดและใช้ไปจนตราบเท่าอายุขัย โดยไม่ได้ใส่ใจกับการทะนุถนอมและบำรุงดวงตาเท่าที่ควร ถ้าเรานอนวันละ 6 ชั่วโมงนั่นคือเราใช้ดวงตาวันละ 18 ชั่วโมง เดือนละ 540 ชั่วโมง ปีละ 6480 ชั่วโมง ดังนั้น อาการเสื่อมถอยของสุขภาพตาจึงหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถชะลอได้ หากเรารู้วิธีการป้องกัน และรู้จักสารอาหารที่จะเข้าไปฟื้นฟูสภาพหรือบำรุงเซลล์ต่างๆ ภายในดวงตา องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ประชากรโลกมีความผิดปกติทางสายตา 285 ล้านคน ตาบอด 391 ล้านคน อีก 246 ล้านคนมองเห็นได้น้อย 90% เป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำ และ 82% ของผู้ที่ตาบอดมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่น่าเสียดายคือ 80% ของความผิดปกติทางสายตาสามารถป้องกันและรักษาได้ (1)
ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคตาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 1,759,044 รายต่อปี ผ่าตัดต้อกระจก 82,666 ราย ต้อหิน 3,983 ราย จอประสาทตา 3,684 ราย ตาเหล่ 1,391ราย และเปลี่ยนกระจกตา 375 ราย (2) หากประชาชนรู้วิธีการป้องกันความเสื่อมของตาและกินสารอาหารที่สามารถชะลอการเสื่อมของดวงตาให้มากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่จำนวนผู้ป่วยหรือพิการทางสายตาจะลดลง
ส่วนประกอบที่สำคัญของดวงตา (3)
ตาขาว (Sclera) คือส่วนที่นอกเหนือไปจากตาดำ อยู่ชั้นนอกสุดเห็นเป็นสีขาวต่อกับกระจกตา
ตาดำ หรือ ม่านตา (Iris) คือส่วนที่เราเห็นเป็นสีของลูกตา มีสีต่างๆ กันตามเชื้อชาติและพันธุกรรม มีกล้ามเนื้อเพื่อการหดม่านตาซึ่งจะอยู่รอบๆ รูม่านตา (Pupil) และกล้ามเนื้อขยายม่านตา เพื่อปรับปริมาณแสงที่จะผ่านเข้าทางรูม่านตาไปสู่เลนส์ตาในปริมาณที่พอเหมาะ
รูม่านตา (Pupil) คือช่องตรงกลางของม่านตา ทำหน้าที่ให้แสงผ่านเข้าไปสู่เลนส์ตา
กระจกตา(Cornea) คือเนื้อเยื่อโปร่งใสที่อยู่ด้านหน้าสุดของดวงตา ทำหน้าที่ให้แสงผ่านเข้าไปภายในดวงตา เมื่อกระจกตาขุ่น หรือถูกทำลายจะมีผลกระทบต่อการมองเห็น สามารถทำการเปลี่ยนกระจกตาได้จากการรับบริจาค
เลนส์ตา หรือ แก้วตา (Lens) มีลักษณะเป็นเลนส์นูนใส ยืดหยุ่นได้ ทำหน้าที่โฟกัสลำแสงจากภาพให้ไปตกบนจุดรับภาพของจอตา
จอรับภาพหรือจอตา (Retina) ส่วนที่ทำให้เรามองเห็นภาพได้ มีเซลล์รับแสงสองชนิด (Rod cell และ Cone cell) และเซลล์ประสาท Rod cell มีความไวต่อการรับแสง เราจึงมองเห็นในที่สลัวได้ แต่ไม่สามารถบอกสีได้ ส่วนเซลล์รูปกรวย (cone cell) สามารถแยกความแตกต่างของสีได้แต่ต้องการแสงสว่างมากจึงบอกสีของวัตถุได้ถูกต้อง
จุดรับภาพชัด (Macula) บริเวณเล็กๆ บน Retina ที่สามารถรับภาพได้ชัดที่สุดมีพื้นที่เพียง 5.5 มม ตรงกลางเป็นรอยบุ๋มคือ fovea มีพื้นที่ 1.55 มม เป็นบริเวณที่เห็นภาพได้ชัดสุด มีเซลล์แบบกรวย (Cone cell) หนาแน่นที่สุด มีเม็ดสี zeaxanthin มากกว่าบริเวณอื่นๆ ของจอตา ซึ่งมีเม็ดสี lutein มากกว่า เนื่องจากมาคูลามีสีเหลืองจึงดูดซับแสงสีฟ้าและยูวีที่เข้ามาในลูกตาเป็นเสมือนแว่นกันแดดให้จอตา
วุ้นตา (Vitreous humor) คือของเหลวที่อยู่ในช่องหลังแก้วตาจนถึงจอตา มีปริมาตร 4 มิลลิลิตร ใสไม่มีสี หนืดกว่าน้ำ 2 เท่า มีส่วนประกอบเป็นน้ำ ประมาณ 98% ที่เหลือเป็น Collagen, Hyaluronan และโปรตีน วุ้นตาทำหน้าที่คงรูปของลูกตา และเป็นแหล่งอาหารแก่ แก้วตา เนื้อเยื่อ Ciliary body และจอตา เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นตาจะค่อยๆคลายความหนืดลง เมื่ออายุ 80 ปี มากกว่าครึ่งหนึ่งของวุ้นตาจะกลายเป็นน้ำใส ในผู้ป่วยสายตาสั้น วุ้นตาจะเริ่มเสื่อมเร็วกว่าคนทั่วไป การเสื่อมของวุ้นตา จะทำให้บริเวณที่เคยยึดเกาะกับจอตาที่ค่อนข้างแน่นหลุดออก จนอาจนำไปสู่ภาวะจอตาหลุดลอกได้ในผู้ที่มีสายตาสั้นมาก
เมื่อรู้จักส่วนประกอบของดวงตาแล้ว มาทำความรู้จักกับโรคตายอดฮิต 4 อันดับ ได้แก่ (2,4,5)
ความเสื่อมของส่วนประกอบดวงตาเกิดจากรังสี 2 ชนิด คือสีม่วง หรือ ยูวี (UV ray) และสีฟ้า (blue ray) ซึ่งมีอยู่ในแสงแดดดังแสดงในรูป
รังสียูวีเป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูงอยู่เหนือแสงสีม่วงและน้ำเงินในแสงแดด ประมาณ 99% ของยูวีถูกดูดซับไว้ที่ส่วนต้นของลูกตา และบางส่วนสามารถเข้าถึงจอตาได้ มีสองชนิดหลักคือ ยูวีเอ และยูวีบี ยูวีเอ มีขนาดความยาวคลื่น 315-400 นาโนเมตร มีผลทำให้ผิวคล้ำขึ้นและอาการแก่ของผิวหนังตลอดจนมะเร็งผิวหนัง ส่วนยูวีบีมีขนาดความยาวคลื่น 280-315 นาโนเมตร ทำให้เกิด sunburn และมะเร็งผิวหนังรอบดวงตา (6,7) แสงสีฟ้าหรือ Blue light อยู่ในช่วงแสงที่ตามองเห็นได้ เป็นองค์ประกอบ 25-30% ในแสงแดด มีความยาวคลื่น 415- 455 nm มีอันตรายต่อจอตา และอาจทำให้จอตาเสื่อมในที่สุด เซลล์ชั้นนอกสุดของจอตา (Retinal Pigment Epithelium, RPE) เมื่อสัมผัสกับแสงสีฟ้า (blue ray) ทำให้เซลล์ตายได้ เพราะแสงสีฟ้ามีพลังงานสูงพอที่จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระภายในลูกตาจึงมีผลทำให้เซลล์ตาย
พืชผักผลไม้ที่มีสีหลายๆ ชนิด มีสารต้านอ๊อกซิไดส์ที่สามารถชะลอความเสื่อมสภาพและบำรุงสุขภาพตาได้ สารเหล่านี้ ได้แก่
เพื่อเป็นการชะลอความเสื่อมของดวงตาจึงควรกินพืชผักผลไม้ที่มีสีเหลือง แสด แดง เขียว น้ำเงินและม่วง ดังตัวอย่างข้างบนเป็นประจำและหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับแสงแดดจ้า ควรป้องกันสายตาด้วยแว่นกันแดดที่กันยูวี
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) 1 วินาทีที่แล้ว | |
กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย 1 วินาทีที่แล้ว | |
โรคกระเพาะ...เหตุจากยา 2 วินาทีที่แล้ว | |
แป๊ะตำปึง 3 วินาทีที่แล้ว | |
มะรุม พืชที่ทุกคนอยากรู้ 9 วินาทีที่แล้ว | |
ลดความอ้วนด้วยยาชุด...อันตราย 13 วินาทีที่แล้ว | |
ใบทุเรียนเทศรักษามะเร็งได้ (จริงหรือ?) … ที่นี่มีคำตอบ 26 วินาทีที่แล้ว | |
ปวดไมเกรน ... ระวัง ปัญหายาตีกันของ ergotamine 27 วินาทีที่แล้ว | |
ภาวะอักเสบหลายระบบในเด็ก (multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C) 34 วินาทีที่แล้ว | |
ยาเลื่อนประจำเดือน .. ที่นี่มีคำตอบ 35 วินาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome