เชื้อโรคในแหล่งน้ำธรรมชาติ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จากนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 เพื่อประกอบการเรียนวิชาเภสัชจุลชีววิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
36,609 ครั้ง เมื่อ 10 นาทีที่แล้ว | |
2015-11-08 |
ปัจจุบันความนิยมของสถานที่ท่องเที่ยวคลายร้อนมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ทะเล น้ำตก แก่ง รวมถึง สวนน้ำที่สร้างขึ้นมา ซึ่งทุกวันนี้ประเทศไทยมีสวนน้ำเปิดให้บริการเป็นจำนวนมาก เมื่อพูดถึงการท่องเที่ยวตามแหล่งน้ำ ผู้คนจะนึกถึงแต่ ความสนุกสนาน ความเย็นสบาย และความสดชื่น แต่จะมีสักกี่คนที่นึกถึงความสะอาด และปลอดภัยของตนเอง โดยทั่วไปสวนน้ำในแต่ละแห่งมีระบบฆ่าเชื้อที่ได้มาตรฐาน คือระบบคลอลีน ระบบเกลือ และระบบโอโซน แต่สำหรับการท่องเที่ยวตามแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงสวนน้ำที่ไม่มีระบบรักษาความสะอาดที่ได้มาตรฐาน หรือแม้กระทั่งสวนน้ำที่มีผู้คนไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่เราไม่คาดคิด ทำให้ติดเชื้อก่อโรคต่างๆได้หลังจากการเล่นน้ำ รายงานการติดเชื้อจากสวนน้ำส่วนมากพบในต่างประเทศส่วนในประเทศไทยมีรายงานน้อย หนึ่งในเชื้อที่ติดจากสวนน้ำเหล่านั้นคือ Naegleria fowleri ที่มีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับเชื้อและอาการต่างๆ ที่เราอาจได้รับจากเชื้อในแหล่งน้ำ เพื่อให้รู้เท่าทันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือในสวนน้ำที่ไม่มีระบบรักษาความสะอาดที่ได้มาตรฐาน สามารถจำแนกอาการเป็นกลุ่ม ได้ดังนี้
ส่วน N. fowleri เป็น โปรโตซัวจำพวกอะมีบา ซึ่งอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำอุ่นที่มนุษย์สร้างขึ้น มีวงจรชีพด้วยกันทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ Cysts ระยะ trophozoite และระยะ flagellate
ระยะที่ N. fowleri สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์คือระยะ trophozoite และ flagellate โดยการติดเชื้อเกิดจากน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ เข้าทางจมูกทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย เช่น การสำลัก โดยเชื้อสามารถเคลื่อนที่ไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบ primary amebic meningoencephalitis (PAM) ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทส่วนกลางได้ โดยอาการจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1: อาการจะเริ่มใน 1-9 วันหลังการติดเชื้อ ปวดหัว มีไข้ มึนหัว และอาเจียน
ระยะที่ 2: เกิดอาการโคม่า เห็นภาพหลอน คอแข็ง ไม่รู้สึกตัว ชัก มักเสียชีวิตภายใน 1-18 วันหลังติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง โดย N. fowleri จะกินเนื้อสมองทำให้การทำงานในระบบประสาทส่วนกลางไม่ทำงาน
ระยะแรกของโรคนี้มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่อาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรง ทำให้รักษาไม่ทันการ จึงมีอัตราการเสียชีวิตสูงโดยพบว่าผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อนี้เพียง 3 ใน 133 คน ซึ่งการรักษานั้นยังไม่แน่ชัด มักให้ยาชื่อ Miltefosine ร่วมกับยาอื่น เป็นเวลา 28 วัน
ยา Miltefosine นั้นเดิมเป็นยารักษามะเร็งเต้านมและโรคลิชมาเนีย ซึ่งจากการทดลองพบว่า ยาตัวนี้มีฤทธิ์ต้าน protozoa ตระกูล Balamuthia Acanthamoeba และ N. fowleri
ถึงแม้ว่า N. fowleri สามารถก่อโรครุนแรง แต่โอกาสติดเชื้อมีน้อย เนื่องจากเชื้อไม่ทนต่อน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีนตามสระว่ายน้ำ และ โมโนคลอรามีน ทำให้มีความเสี่ยงน้อยที่จะติดเชื้อชนิดนี้จึงไม่เป็นที่น่าวิตกกังวลมากนัก แต่หากมีอาการตามความข้างต้นหลังจากการเล่นน้ำแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที
การป้องกันสำหรับผู้ที่ลงเล่นน้ำไม่ควรกลืนหรือหายใจให้น้ำเข้าทางจมูกและปาก ก่อนลงสระควรล้างตัวให้สะอาด และไม่ปล่อยสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ลงสระ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นเพื่อลดโอกาสติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ เพื่อสุขอนามัยที่ดี
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 4): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีส้ม 1 นาทีที่แล้ว | |
ผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีนโควิด-19 และการเฝ้าระวัง 1 นาทีที่แล้ว | |
การปฐมพยาบาลด้วยสมุนไพร: สมุนไพรสำหรับอาการภายนอก 1 นาทีที่แล้ว | |
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน 1 นาทีที่แล้ว | |
การนอน .. เพื่อชะลอวัยและเพื่อสุขภาพ 1 นาทีที่แล้ว | |
การทิ้งและทำลายยาที่ถูกต้อง 1 นาทีที่แล้ว | |
สมุนไพรแก้ไอ 1 นาทีที่แล้ว | |
ข้อควรรู้เบื้องต้นเรื่อง “แอนติเจน เทสต์ คิท” เพื่อคัดกรองโรคโควิด-19 1 นาทีที่แล้ว | |
ภาชนะเก็บยา..ที่เหมาะสมต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน 2 นาทีที่แล้ว | |
การใช้สมุนไพร อายุรเวท รักษามะเร็ง 2 นาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome