Loading…

ยาเม็ดกับรูปแบบที่แตกต่าง

ยาเม็ดกับรูปแบบที่แตกต่าง

นศภ. สุพัตรา ผ่องใส นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

27,503 ครั้ง เมื่อ 1 วันที่แล้ว
2014-10-05

ปัจจุบันผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการรับประทานยาเม็ดมากกว่าฉีดยา ทายา หรือสูดพ่นยา เนื่องจากยาเม็ดเป็นรูปแบบที่รับประทานง่าย พกพาสะดวกโดยทั่วไปยาเม็ดเป็นรูปแบบที่มีความหลากหลาย ไม่เพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอก แต่รวมถึงวิธีการใช้อีกด้วย ยาเม็ดบางชนิดรับประทานวันละ 3-4ครั้ง แต่บางชนิดรับประทานเพียงวันละ 1-2 ครั้ง หรือ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ความหลากหลายของรูปแบบยาเม็ดนี้เกิดจากปัญหาของยา เช่น ยามีค่าครึ่งชีวิตในร่างกายสั้น หรือถูกทำลายด้วยกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาเม็ดและมีจำหน่ายในรูปแบบที่หลากหลาย โดยการพัฒนาหรือปรับปรุงการปลดปล่อยยาออกจากเม็ดยา ทำให้สามารถควบคุมการปลดปล่อยยาได้ยาวนานขึ้น รักษาระดับยาในร่างกายให้คงที่และเพียงพอต่อการออกฤทธิ์ของยาเป็นระยะเวลานานทำให้ลดความถี่ในการใช้ยา ควบคุมให้เกิดการปลดปล่อยยา ณ ตำแหน่งที่ต้องการให้ยาถูกดูดซึมหรือออกฤทธิ์ เพิ่มความคงตัวของยาในทางเดินอาหารรวมถึงเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาจากผู้ป่วยรูปแบบยาเม็ดที่ได้พัฒนาหรือปรับปรุงการปลดปล่อยยา เรียกยาเม็ดรูปแบบนี้ว่า modified release tablets ซึ่งผลิตภัณฑ์ยาในกลุ่มดังกล่าว มักมีการใช้คำย่อหรือสัญลักษณ์ เพื่อบ่งบอกเอกลักษณ์ของรูปแบบการปลดปล่อยยานั้นๆ ตามหลังชื่อการค้า เช่น Cardil CR, Isoptin SR, Mucosolvan PL, Klacid MR, Xatral XL เป็นต้น ซึ่งคำย่อต่างๆมีความหมายดังนี้

MR ย่อมาจาก modified releaseหมายถึง รูปแบบที่มีการควบคุมการปลดปล่อยยาด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ให้มีระดับยาคงที่ในช่วงระยะเวลาที่นานขึ้น หรือให้เกิดการปลดปล่อยยาณ ตำแหน่งที่ต้องการให้ยาดูดซึมหรือออกฤทธิ์ ซึ่งถือว่าเป็นคำเรียกที่มีความหมายรวมทั้ง CR, XL, ER, SR และ PL

CR ย่อมาจาก controlledrelease เป็นรูปแบบที่มีอัตราการปลดปล่อยยาคงที่ เป็นระยะเวลานาน และทำให้ระดับยาในเลือดคงที่ตลอดระยะเวลาที่มีการปลดปล่อยยาออกจากเม็ด

PL ย่อมาจาก prolonged release ส่วน XL และ ER เป็นตัวย่อที่ย่อมาจาก extended release เหมือนกัน และ SR ย่อมาจาก sustained release ทั้ง XL, ER,PL และ SR เป็นรูปแบบที่มีการปลดปล่อยยาอย่างช้าๆ เป็นระยะเวลานาน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้นเหมือนๆ กัน แต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้ PL เป็นรูปแบบที่ไม่มีการปลดปล่อยยาออกมาทันทีในช่วงแรกหลังรับประทานยา จึงต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งกว่าระดับยาในเลือดจะสูงถึงระดับที่ให้ผลการรักษา SRเป็นรูปแบบที่มีการปลดปล่อยยาออกมาได้ทันทีในช่วงแรกหลังรับประทานยาทำให้ระดับยาในเลือดสูงถึงระดับที่ให้ผลการรักษา ส่วน XL และ ER เป็นรูปแบบที่มีการรักษาระดับยาในเลือดให้คงที่อยู่ในระดับที่ให้ผลการรักษาเป็นระยะเวลานาน โดยส่วนใหญ่ประมาณ 8 หรือ 12 ชั่วโมง ใน

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

บางเล่มใช้ตัวย่อ XL, ER, PL และ SR แทนกันได้อีกรูปแบบหนึ่งคือ delayed release หมายถึง รูปแบบที่ไม่มีการปลดปล่อยยาออกมาทันทีหลังรับประทานยา แต่จะปลดปล่อยยาภายหลังจากที่รับประทานยาไปได้ระยะเวลาหนึ่ง ตัวอย่างรูปแบบยาที่จัดเป็น delayed release เช่น enteric-coated ตัวยาจะถูกปลดปล่อยเมื่อเม็ดยาเคลื่อนไปอยู่ในลำไส้           อย่างไรก็ตามปัญหาหลักของการใช้ยาเม็ดรูปแบบ modified release คือการใช้ยาไม่ถูกวิธีของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางรายนำเม็ดยาไปหัก บด แบ่งหรือเคี้ยว ทำให้เม็ดยาสูญเสียการควบคุมการปลดปล่อยยาออกจากเม็ดยา และอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับยาเกินขนาดจนนำไปสู่อาการพิษหรืออาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวในการใช้ยาประเภทนี้ ตัวอย่างยาเม็ดรูปแบบ modified release ที่มีการสั่งใช้บ่อยและผู้ป่วยควรระมัดระวังการใช้ยา ได้แสดงไว้ในตารางข้างล่างนี้พร้อมทั้งข้อควรระวังในการใช้ยาและข้อบ่งใช้ของยาดังกล่าว     ชื่อสามัญ (ชื่อการค้า) ข้อบ่งใช้ แบ่ง/แกะแคปซูล บด เคี้ยว Alfuzosin (Xatral XL tablet) รักษาภาวะต่อมลูกหมากโต X X Nifedipine (Adalat CR) รักษาความดันโลหิตสูง X X Omeprazole (Losec MUPS) ยับยั้งการหลั่งกรด ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร X X Omeprazole (Losec MUPS/Miracid) / X Pantoprazole (Controloc) * X X Rabeprazole (Pariet) * X X Clarithromycin (Klacid MR) รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย X X Itraconazole (Sporal) ** รักษาโรคติดเชื้อรา / X Phenytoin (Dilantin 100 mg Kapseal) ** รักษาภาวะชัก / X Diclofenac (Voltaren SR) บรรเทาอาการปวด อักเสบ X X Gliclazide (Diamicron MR) รักษาโรคเบาหวาน X X Ambroxol (Mucosolvan PL) ละลายเสมหะ / X Salbutamol (Volmax) ** ขยายหลอดลม บรรเทาอาการหอบหืด X X   / หมายถึง สามารถแบ่งเม็ดยาหรือแกะแคปซูลได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามยาที่ควบคุมการปลดปล่อยไม่แนะนำให้หัก แบ่ง บด หรือเคี้ยวเม็ดยา ผู้ป่วยอาจได้รับยาในขนาดที่มากเกินไป (อาจทำให้เกิดพิษจากยา) หรือน้อยเกินไป (อาจทำให้ได้รับขนาดยาไม่เพียงพอต่อการรักษา) หรือระบบควบคุมการปลดปล่อยถูกทำลาย X หมายถึงไม่สามารถแบ่งเม็ดยา แกะแคปซูล หัก บดหรือเคี้ยวเม็ดยาได้ เพราะทำให้สูญเสียการควบคุมการปลดปล่อยยาจากเม็ดยา * หมายถึง รูปแบบ enteric-coated tablet ** หมายถึง รูปแบบ extended-release tablet    

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา