Loading…

ภาชนะเก็บยา..ที่ถูกต้องตามตำรายา

ภาชนะเก็บยา..ที่ถูกต้องตามตำรายา
ภก. บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
56,446 ครั้ง เมื่อ 4 นาทีที่แล้ว
2014-05-11

ตำรายา (Pharmacopoeia) เป็นตำราอ้างอิงทางเภสัชกรรมที่ระบุถึงคุณลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบ (raw material) และผลิตภัณฑ์ยา(drug product) เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยา นอกจากนี้ตำรายายังได้กำหนดประเภทและคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ในการบรรจุยาอีกด้วย ตำรายาได้นิยามประเภทของภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ยาไว้หลายประเภทเนื่องด้วยรูปแบบของยาที่มีความหลากหลาย แต่ทั้งนี้คุณลักษณะของภาชนะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บยาเม็ดและยาเม็ดแคปซูลโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ ภาชนะปิดสนิท (Well-close) ภาชนะปิดแน่น (Tight) และภาชนะกันแสงแดด (Light-resistant) โดยตำรายาของประเทศอเมริกา (The United States Pharmacopoeia) ได้กำหนดนิยามของภาชนะทั้ง3 ประเภท ดังนี้

  1. ภาชนะปิดสนิท (Well-closed)คือ ภาชนะที่ป้องกันของเหลวและของแข็งจากภายนอกเข้ามาปนเปื้อนตัวยาสำคัญและสามารถป้องกันการสูญหายของตัวยาสำคัญภายใต้สภาวะปกติหรือที่ระบุเฉพาะระหว่างการควบคุม ขนส่ง จัดเก็บ และแจกจ่ายตัวอย่างของภาชะบรรจุประเภทนี้ได้แก่ ซองยาซิปล๊อค กระปุกยาฝาเกลียวที่ไม่มีขอบซีล ตลับแบ่งยา เป็นต้น
  2. ภาชนะปิดแน่น (Tight)คือ ภาชนะที่ป้องกันของเหลว ของแข็ง หรือไอระเหยจากภายนอกเข้ามาปนเปื้อนตัวยาสำคัญ สามารถป้องกันการสูญหายของตัวยาสำคัญ และป้องกันการเกิดเป็นผลึก การเยิ้มเหลว หรือการระเหย ภายใต้สภาวะปกติหรือที่ระบุเฉพาะระหว่างการควบคุม ขนส่ง จัดเก็บ และแจกจ่ายตัวอย่างของภาชะบรรจุประเภทนี้ได้แก่ กระปุกยาชนิดฝาปิดสนิท กระปุกยาชนิดฝาล๊อคหรือกระปุกยาที่มีขอบซีลยาง เป็นต้น ต้องสังเกตลักษณะกายภาพของยาที่รับประทาน หากพบว่าเม็ดยามีลักษณะที่ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยทาน ควรงดทานยาดังกล่าวและปรึกษาเภสัชกร
  3. ภาชนะกันแสง (Light-resistant)คือภาชนะที่ป้องกันผลจากแสงที่สามารถเกิดกับตัวยาสำคัญได้ โดยภาชนะดังกล่าวอาจจะมีความสามารถป้องกันแสงได้ด้วยคุณสมบัติของตัวเอง หรือจากการเคลือบป้องกันแสงไว้บนผิววัตถุของภาชนะ ในกรณีภาชนะที่ใสและไม่มีสีหรือภาชนะที่โปร่งแสงสามารถป้องกันแสงได้ด้วยการเคลือบภาชนะให้ทึบแสงหรือจากการใช้บรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ เช่น กล่องบรรจุ หีบ ห่อ เป็นต้น ซึ่งบนภาชนะดังกล่าวจะต้องมีการระบุแจ้งเก็บให้พ้นแสงแดด (ภายใต้ภาชนะเคลือบทึบแสงหรือบรรจุภัณฑ์) จนกว่าจะมีการใช้ ตัวอย่างของภาชะบรรจุประเภทนี้ ได้แก่ ซองยาซิปล๊อคสีชา กระปุกยาชนิดแก้วสีชา (amber bottle) กระปุกยาพลาสติกทึบแสง ตลับยาชนิดทึบแสง เป็นต้น


แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า ยาไหนควรเก็บไว้ในภาชนะอะไร?
ในตำรายาได้กำหนดมาตรฐานของภาชนะบรรจุยา(dispensing capsules and tablet) ที่เหมาะสมในการบรรจุยาเม็ดและแคปซูล โดยระบุไว้ในคุณลักษณะเฉพาะของตัวยาสำคัญ(monograph) ซึ่งเภสัชกรหรือผู้ป่วย/ผู้ใช้ยาสามารถค้นคว้าได้ในตำรายา ในกรณีที่ตำรายาไม่ได้ระบุภาชนะที่เหมาะสมไว้ ภาชนะที่ควรพิจารณาลำดับแรก คือ ภาชนะปิดแน่น (tight) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการป้องกันที่ดีกว่าภาชนะปิดสนิท (well-closed) ส่วนคุณสมบัติการป้องกันแสงนั้น พิจารณาได้จากข้อมูลความคงตัวของตัวยาสำคัญต่อแสงซึ่งสามารถค้นคว้าได้จาก

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
ทางวิชาการหรือวารสารงานวิจัย ตารางที่ 1 แสดงตัวอย่างยาสามัญ รูปแบบของยา และภาชนะบรรจุที่เหมาะสมโดยทั่วไปภาชนะที่บรรจุยาจะเป็นประเภทภาชนะปิดแน่นหรือภาชนะปิดสนิท สำหรับยาบางตัวที่ไวต่อแสงนั้น ตำรายาจะมีการระบุให้ภาชนะมีคุณสมบัติกันแสงด้วย เช่น วิตามินซี (Ascorbic acid) หรือ ฟูโรซีไมด์ (Furosemide)   จะเห็นได้ว่าการเก็บจัดยาไว้ในภาชนะที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ตัวยาสำคัญจากเราไปก่อนเวลาอันควร ทำให้เรามั่นใจได้ว่ายาที่เราทานเข้าไป จะคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของการรักษา รวมถึงความปลอดภัยจากการได้รับสารเคมีที่เกิดจากการเสื่อมสลายตัวของตัวยาสำคัญได้ด้วย
เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล