Loading…

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาหยอดตาที่ไม่ควรมองข้าม

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาหยอดตาที่ไม่ควรมองข้าม
อ. ดร. อัญชลี จินตพัฒนากิจ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
208,049 ครั้ง เมื่อ 12 นาทีที่แล้ว
2010-03-09

เนื่องจากตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย และเป็นอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึก อย่างคำที่ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ”ดังนั้นการถนอมดวงตาให้อยู่ในสภาพดีและใช้งานได้นานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และกระทู้ข่าวใน internetออกมาเป็นระยะๆ เกี่ยวกับการสูญเสียความสามารถในการมองเห็น ตาบอด หรือบางครั้งถึงกับสูญเสียดวงตาจากการใช้ยาหยอดตา ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากใช้ยาหยอดตาที่ไม่ผ่านมาตรฐานรับรองจากอ.ย.

ดวงตาเป็นเนื้อเยื่อที่บอบบางมากและติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นยาเตรียมทุกประเภทที่ต้องสัมผัสกับนัยน์ตาโดยตรงจึงต้องปราศจากเชื้อโรค แบคทีเรีย และเชื้อรา โดยปกติแล้วยาหยอดตาควรมีค่าความเป็นกรดด่างหรือค่าพี เอช (pH)7.4 และมีค่า Tonicity ใกล้เคียงกับน้ำตาเพื่อให้เวลาหยอดตาแล้วไม่รู้สึกระคายเคืองต่อหากไม่สามารถกำหนด pH ดังกล่าวได้ อาจเตรียมยาหยอดตาให้มีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.5 –7.6 ซึ่งเป็นระดับที่สามารถถูกบัพเฟอร์โดยน้ำตาให้อยู่ใน pH 7.4 ได้ ดังนั้นในการผลิตจึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง ผลิตยาตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา (Good Manufacturing Practice : GMP) เพื่อให้ยาปราศจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ และมีค่าความเป็นกรดด่าง และ tonicity ให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันของการใช้ยาหยอดตาคือ “อายุการใช้งาน” หลายต่อหลายครั้งที่พบว่าปัญหาการติดเชื้อที่ตา เกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่หมดอายุ หรือยาหยอดตาที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์หลังจากการเปิดใช้ สำหรับยาหยอดตาที่ไม่เคยเปิดใช้ สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานเท่าที่มีระบุวันหมดอายุไว้ข้างขวด หรือให้ใช้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากวันผลิตในกรณีที่ไม่ได้ระบุวันหมดอายุไว้ข้างขวด โดยทั่วไปยาหยอดตาชนิดขวดจะมีการเติมสารป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (preservative)ซึ่งจะมีฤทธิ์เต็มที่ภายในหนึ่งเดือนหลังจากเปิดใช้งานครั้งแรก จากนั้นก็ค่อยๆเสื่อมประสิทธิภาพลงทีละน้อย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาหยอดตาเกิน 1 เดือน หลังการเปิดใช้ครั้งแรก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับดวงตาได้ สำหรับยาหยอดตาบางประเภทที่ไม่มีการผสมสารป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ส่วนมากจะมีอายุการใช้งาน 1 วันหลังจากการเปิดใช้ ดังนั้นเมื่อใช้ครบ 24 ชั่วโมงแล้วใช้ไม่หมด ส่วนที่เหลือควรจะต้องทิ้งไป

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
: 1.  The United States Pharmacopeia/ The National Formulary (USP32/NF27), United States Pharmacopeial Convention, Inc., 2009.

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

ทำความรู้จักกับอินูลิน (Inulin) และประโยชน์ของอินูลินต่อสุขภาพ 5 วินาทีที่แล้ว
ยาเม็ดคุมกำเนิด : ข้อควรระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นที่รบกวนประสิทธิภาพและความปลอดภัย 6 วินาทีที่แล้ว
ยาเม็ดโปแทสเซียมไอโอไดด์ ( ไอโอดีนเม็ด ) (KI) ป้องกันสารกัมมันตรังสี ไอโอดีน 131 7 วินาทีที่แล้ว
ยาดมมีอันตรายหรือไม่ 8 วินาทีที่แล้ว
ยาที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 14 วินาทีที่แล้ว
ยาหอม..มรดกทางภูมิปัญญา ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ 1 นาทีที่แล้ว
แอสไพริน (aspirin) 1 นาทีที่แล้ว
กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง 1 นาทีที่แล้ว
วิตามินดี...ประโยชน์ดีๆ มีมากกว่าที่คิด 1 นาทีที่แล้ว
ความเครียดและภาวะปวดกล้ามเนื้อ 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล