Loading…

คณาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ร่วมเป็นวิทยากรในงาน Bangkok Wild Watch 2024 @ Rot Fai Park สำรวจชีวิตป่าเมืองกรุง สำรวจสุขภาพเมือง

72 ครั้ง   21 ธันวาคม 2567

เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2567 คณาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ.เบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน เข้าร่วมเป็นวิทยากรในงาน \"Bangkok Wild Watch 2024 @ Rot Fai Park สำรวจชีวิตป่าเมืองกรุง สำรวจสุขภาพเมือง\" จัดโดย มูลนิธิโลกสีเขียว โดยคณาจารย์ทั้ง 3 ท่านได้ร่วมเป็นวิทยากรในทีมสำรวจพรรณพืช ซึ่งเป็น 1 ใน 9 ทีมของกิจกรรมดังกล่าว ณ สวนวชิรเบญจทัศน์ (สวนรถไฟ) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสทำความรู้จักกับพรรณพืชนานาชนิด ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกความสมบูรณ์ของเมือง และได้ทำความรู้จักบทบาทและความสัมพันธ์อื่นๆ ของต้นไม้และพรรณพืชนานาชนิด

กิจกรรมดังกล่าว ประกอบด้วยทีมสำรวจย่อย 9 ทีม ได้แก่ กลุ่มพรรณพืช กลุ่มไลเคน กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กลุ่มนก กลุ่มแมงมุม กลุ่มแมลง กลุ่มสัตว์หน้าดิน กลุ่มสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และ กลุ่มปลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ อีกทั้งยังทำให้ประชาชนในเมืองหลวงได้เปิดโลกมหัศจรรย์มากมายในธรรมชาติ และตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสังคมและสิ่งแวดล้อม 

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน และเปเาหมายที่ 15 : ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา