Loading…

เภสัชมหิดลร่วมจัดแสดงผลงานในกิจกรรม Unlock Mahidol Research and Commercialization : ปลดล็อคการบริหารผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์

100 ครั้ง   23 ธันวาคม 2567

เมื่อวันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ปัทมพรรณ โลมะรัตน์ รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก.อาณัฐชัย ม้ายอุเทศ หัวหน้าหน่วยวิจัยชีวเภสัชศาสตร์เพื่อสุขภาวะวัยชรา (Centre of Biopharmaceutical Science for Healthy Ageing; BSHA) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมจัดแสดงผลงานในกิจกรรม “Unlock Mahidol Research and Commercialization : ปลดล็อคการบริหารผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์“ ณ ห้องอเนกประสงค์ 322 ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา 

โดยผลงานที่ได้จัดแสดงในกิจกรรมนี้ คือ “Herbal extract from Thai food recipes for the strengthening of the immune system” ซึ่งมาจากโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. โดยมีความร่วมมือกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้แผนงาน RAINS for Thailand Food Valley ภาคกลางของมหาวิทยาลัยมหิดล (โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา เป็นหัวหน้าโครงการแผนงานฯ) ซึ่งเป็น 1 ใน Flagship project “ผลิตภัณฑ์โภชนเภสัช (Nutraceutical)” ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญ 

กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกระบวนการปฏิบัติงาน และรับฟังกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการผลักดันผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ 

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน เป้าหมายที่ 12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา