Loading…

งานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดโครงการฝึกปฏิบัติงานทางวิชาชีพ สาขาเภสัชกรรมคลินิก สำหรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Meiji Pharmaceutical University ประจำปี 2567

18 ครั้ง   12 ธันวาคม 2567

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ศิตาพร ยังคง รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา รองคณบดีฝ่ายหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ศยามล สุขขา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาชีพ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ฟ้าใส จันท์จารุภรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรม เข้าร่วมการปฐมนิเทศและให้การต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาตรี จำนวน 3 คน จาก Meiji Pharmaceutical University ประเทศญี่ปุ่น ณ ห้องบรรยาย 404 อาคารราชรัตน์

นักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง 3 คน ซึ่งประกอบด้วย 1) Mr. Taisei Hanai 2) Ms. Karin Kobayashi และ 3) Ms. Mayu Soga ได้เดินทางมาเข้ารับการฝึกปฏิบัติงานทางวิชาชีพในสาขาเภสัชกรรมคลินิก ณ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล และแหล่งฝึกงานภายนอก ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมนักศึกษาต่างชาติจาก Meiji Pharmaceutical University ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการฝึกอบรมทางวิชาชีพในสาขาเภสัชกรรมคลินิกให้แก่นักศึกษาต่างชาติ และส่งเสริมโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญทางวิชาชีพ ระหว่างคณาจารย์ เภสัชกรวิชาชีพประจำแหล่งฝึกงาน และนักศึกษา ผ่านความร่วมมือในระดับนานาชาติ ตลอดจนส่งเสริมภาพลักษณ์ของคณะฯ และแหล่งฝึกงานภายนอก ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล อันเป็นการตอบสนองต่อการพัฒนาความเป็นนานาชาติของคณะฯ ต่อไป

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังตอบสนองพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา