Loading…

เภสัชมหิดลจัดบรรยายพิเศษโดยอาจารย์อาคันตุกะจาก Toyama Prefectural University ประเทศญี่ปุ่น

236 ครั้ง   16 พฤศจิกายน 2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์ และ อาจารย์ ดร.ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Tatsuya MURAKAMI อาจารย์อาคันตุกะจาก Department of Pharmaceutical Engineering, Faculty of Engineering, Toyama Prefectural University ประเทศญี่ปุ่น ในโอกาสเดินทางมาเยือนคณะฯ เพื่อบรรยายพิเศษ หัวข้อ ‘High-density lipoprotein engineering for age-related macular degeneration treatment’ โดยมีคณาจารย์และนักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง ณ ห้องบรรยาย 406 อาคารราชรัตน์ 

นอกจากนี้ Prof. Dr. Tatsuya MURAKAMI ยังได้ร่วมประชุมกับผู้บริหารคณะฯ เพื่อหารือแนวทางพัฒนาความร่วมมือระหว่างสองสถาบัน โดยมี อาจารย์ ดร.ภก.กษิรวรรษ แสวงรัตน์ จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเดินทางมาประชุมที่คณะฯ ด้วย หลังจากนั้นในช่วงบ่าย คณะฯ โดย ดร.อัมพร สงคศิริ ได้นำ Prof. Dr. Tatsuya MURAKAMI และ อาจารย์ ดร.ภก.กษิรวรรษ แสวงรัตน์ เข้าเยี่ยมชม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยได้รับความอนุเคราะห์ในการนำชมมหาวิทยาลัยมหิดล จาก กองวิเทศสัมพันธ์ ม.มหิดล

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล