Loading…

ภาควิชาเภสัชวินิจฉัยจัดโครงการนักสมุนไพรวัยทีน

406 ครั้ง   28 กุมภาพันธ์ 2566

เมื่อวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.30 - 12.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย จัดโครงการนักสมุนไพรวัยทีน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานและร่วมให้ต้อนรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย จำนวน 21 คน ณ ห้องปฏิบัติการกล้องจุลทรรศน์ ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์ 

สำหรับโครงการนักสมุนไพรวัยทีน ประกอบด้วย (1) กิจกรรมการพิสูจน์เอกลักษณ์ และ (2) การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นในสมุนไพร โดยมีคณาจารย์จากภาควิชาเภสัชวินิจฉัยเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ 1) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วีณา สาธิตปัตติพันธ์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวินิจฉัย 2) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปองทิพย์ สิทธิสาร 3) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ณัฏฐินี อนันตโชค 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมนึก บุญสุภา 5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ธฤตา กิติศรีปัญญา 6) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นัฏฐ์ภัสสร ชาติสัมปันน์ และ 7) อาจารย์ ดร.ภญ.ชุติมา เพ็ชรประยูร ร่วมกันถ่ายทอดความรู้ด้านสมุนไพรแก่ชุมชน เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้มีความเข้าใจทักษะในการพิสูจน์เอกลักษณ์ และการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นในสมุนไพร

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน และเผยแพร่บทบาทของเภสัชกรด้านสมุนไพรให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนที่อยู่บริเวณใกล้กับคณะฯ นอกจากนี้ กิจกรรมบริการวิชาการดังกล่าว ยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน โดยผลักดันบทบาทของเภสัชกรด้านสมุนไพรให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา