แป๊ะตำปึง
รองศาสตราจารย์ ดร.วีณา จิรัจฉริยากูล ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
127,748 ครั้ง เมื่อ 1 วันที่แล้ว | |
2012-04-15 |
แป๊ะตำปึง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura procumbens (Lour.) Merr. เป็นยาเย็น ตำรายาไทยและจีนใช้ใบสดตำละเอียดผสมสุราพอกปิดฝี แก้ฟกบวม แก้คัน แก้พิษอักเสบ แก้พิษแมลงกัดต่อย งูสวัด เริม
งานวิจัยสมุนไพรแป๊ะตำปึงที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 พบว่า สารสกัดอัลกอฮอล์จากส่วนเหนือดินมีคุณสมบัติต้านอักเสบในสัตว์ทดลอง และพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์หลายชนิด ได้แก่ kaempferol ในรูปอิสระและกลัยโคไซด์ quercetin ในรูปอิสระและกลัยโคไซด์ ฟลาโวนอยด์เป็นสารที่อาจแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ ได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดแป๊ะตำปึง 2.5% เป็นตัวยา ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งมักจะมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ (chemotherapy related mucositis) พบว่าสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของอาการได้อย่างมีนัยสำคัญ สมุนไพรแป๊ะตำปึงยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเริมในหลอดทดลอง ซึ่งสารกลุ่มที่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว ได้แก่ กลุ่ม dicaffeoyl quinic acids, sitosteryl- และ stigmasteryl glucosides และ 1, 2-bis-dodecanoyl-3-alpha-D-glucopyranosyl-sn-glycerol ได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดแป๊ะตำปึงเป็นตัวยาในผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปาก พบว่า ปริมาณไวรัสมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก้
![]() |
แอสไพริน (aspirin) 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
10 คำถามเกี่ยวกับหน้ากากอนามัย 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ภัยเสี่ยงถึงชีวิต (Heat Stroke) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ก่อนกินกลอย...ดูกันให้ดีๆ ก่อนนะ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง...ใช้อย่างไร 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ห้องแยกผู้ป่วยและแนวทางการกักตัวที่บ้านเพื่อลดการแพร่เชื้อของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกิน 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ทำความเข้าใจ \"ภาวะเปราะบาง\" ในผู้สูงอายุ: สัญญาณ สาเหตุ และแนวทางการดูแล 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
มาทำความรู้จักกับ สาขาวิชาเภสัชวินิจฉัย 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยารักษาสิว isotretinoin อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม 2 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome