Eng |
รศ.ดร.อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บุคลิกลักษณะตามโดชา
เนื่องจากการทำงานของร่างกายขึ้นอยู่กับระบบวาตะ ปิตตะ และ คัพพะ ดังนั้น โดชาจึงกำหนดบุคลิกและลักษณะต่างๆ ของบุคคล
วาตะ | ปิตตะ | คัพพะ |
สูงมากหรือ เตี้ยและผอม | สูงปานกลางมีกล้ามเนื้อปานกลาง | รูปร่างบึกบึน |
โครงสร้างรูปร่างค่อนข้างแคบ | น้ำหนักปานกลาง | โครงสร้างรูปร่างค่อนข้างกว้าง |
ผอม เพิ่มน้ำหนักได้ยาก | เหงื่ออกมากเวลาอากาศร้อน | อ้วนง่าย |
ผิวหน้าค่อนข้างคล้ำ | ผิวอ่อนนุ่มค่อนข้างอุ่น | เหงื่อน้อย |
มีปริมาณเส้นผมปานกลาง | ผิวหน้าขาวผ่องหรือชมพู | ผิวหนังค่อนข้างชื้นและเย็น |
ตาเล็กค่อนข้างแคบ หรือจมลึกในเบ้า | เส้นผมสีอ่อนหรือแดงและอ่อนนุ่ม | ผิวหน้าค่อนข้างซีด |
ตาสีดำหรือสีเทา | ตามีขนาดปานกลาง | ผมดกหนา ออกสีน้ำตาล |
ฟันยื่น | ตาสีฟ้า เทา หรือน้ำตาลอ่อน | ตามีขนาดใหญ่ |
ฟันซี่ใหญ่หรือเล็กเกินไป | ฟันขนาดมาตรฐาน สีเหลืองอ่อน | ตาสีฟ้าหรือน้ำตาล |
มีความอดทนน้อย | แข็งแรง มีความอดทนสูง | ฟันขาว เหงือกแข็งแรง |
ชอบอากาศอบอุ่นมากกว่าหนาวเย็น | ชอบอากาศเย็นมากกว่าร้อนหรืออุ่น | ฟันซี่ใหญ่ |
มักมีอาการท้องอืด | ถ่ายอุจจาระง่าย | การเคลื่อนไหวช้าแต่มั่นคง |
น้ำเสียงเบา ต่ำ ห้าวหรือแหบพร่า | พูดจาตรงประเด็น | มีความอดทนสูง |
พูดเร็ว | ชอบอาหารรสหวาน เบา รสไม่จัด | การขับถ่ายเป็นปกติ |
ชอบอาหารรสหวาน เค็ม รสจัด หรือ อาหารชุ่มไขมัน | ไม่สบายใจ หากขาดอาหารบางมื้อ | สามารถข้ามอาหารบางมื้อได้ |
ผู้ชาย- ชีพจรเต้นมากกว่า 70 ครั้ง/นาที | ผู้ชาย- ชีพจร 60-70 ครั้ง/นาที | พูดช้า |
ผู้หญิง- ชีพจรเต้นมากกว่า 80 ครั้ง/นาที | ผู้หญิง- ชีพจร 70-80 ครั้ง/นาที | ชอบอาหารไขมันต่ำ รสหวานนค่อนข้างเผ็ด |
ผู้ชาย- ชีพจรต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที | ||
ผู้หญิง- ชีพจรต่ำกว่า 70 ครั้ง/นาที | ||
รวม | รวม | รวม |
จากการสำรวจตัวเองจะพอสรุปได้ว่าท่านมีโดชาใดเด่น ซึ่งอาจมี 2 โดชาที่เด่นกว่าอีก 1 โดชา เนื่องจากหลักการของการดูแลสุขภาพคือการรักษาสมดุลย์ของ วาตะ ปิตตะ เสมหะ ดังนั้นจึงต้องระวังสิ่งที่จะมากระตุ้นให้โดชาที่เด่นอยู่แล้ว อันได้แก่ อาหาร สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรม ถ้าร่างกายรักษาสมดุลย์ไว้ได้ก็จะแข็งแรงเป็นปกติสุข
อาหารที่เหมาะสมกับโดชา
วาตะโดชาเด่น
ธรรมชาติของวาตะคือ เย็น แห้ง และไม่สม่ำเสมอ (irregular) ดังนั้น อาหารที่ช่วยปรับสมดุลย์คือ อาหารที่อบอุ่น ชุ่มชื้น และรับประทานสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสขม ฝาด เผ็ด อาหารแห้งหรือเย็นเกินไป ควรรับประทาน อาหารสหวาน เปรี้ยว เค็ม อาหารที่ค่อนข้างมัน อาหารที่ค่อนข้างอุ่น เช่น สตูว์ อาหารจานเดียวเหมาะสม ไม่ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายในมื้อเดียว เช่น บุฟเฟต์ ทานอาหารวันละ 3-4 มื้อ ใช้เกลือหรือเครื่องเทศเล็กน้อยเพื่อช่วยในการย่อย ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้มาก ในช่วงฤดูหนาว ช่วงเวลาบ่าย พื้นที่ที่มี อากาศหนาวเย็น หรือลมแรง พลังวาตะจะสูงขึ้น ดังนั้นจึงต้องระวังการรับประทานในช่วงนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะบรรยากาศที่รับประทานอาหารควรมีลักษณะสงบ ไม่รับประทานเมื่อมีความไม่สบายใจ อาหารที่มีถั่วเป็นส่วนประกอบควรมี ขมิ้น คิวมิน ผักชี ขิง กระเทียม หรือ มหาหิงค์ ร่วมอยู่ด้วย ควบคุมปริมาณอาหารจำพวกถั่วไม่เกิน 10-20 % ใช้น้ำสลัดจำพวกครีมหรือน้ำมันสลัดได้
ปิตตะโดชาเด่น
ผู้ที่มีปิตตะโดชาเด่นมักมีความหิวรุนแรง อาหารที่รับประทานควรเป็นอาหารที่หนัก มีความเย็นแห้ง แต่ไม่ถึงกับกรอบหรือมีน้ำมันมากเกินไป มื้อกลางวันควรเป็นมื้อหลัก อาหารที่ช่วยปรับสมดุลย์ควรมีรสขม หวาน ฝาด มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น อาหารหนัก พยายามหลีกเลี่ยง เกลือ อาหารที่ปรุงให้สุกมากเกินไป ใส่เครื่องเทศมากเกินไป อาหารเพิ่มไขมัน อาหารเปรี้ยวจัด เค็มจัด เนื้อแดง ไข่ การดื่มสุรา กาแฟ อาหารมื้อดึก ในฤดูร้อน ตอนเที่ยงวันและเที่ยงคืน อากาศร้อน แดดจัด พลังปิตตะจะสูง จึงควรระวังเป็นพิเศษในช่วงเหล่านี้ อาหารจีน ญี่ปุ่น เหมาะกับผู้ที่มีปิตตะโดชาเด่น มากกว่าอาหารเม็กซิกัน อิตาเลียน อินเดีย
คัพพะเด่น
เป็นกลุ่มเดียวที่งดอาหารมื้อเช้าได้ อาหารที่ช่วยปรับสมดุลย์คือ อาหารเบาๆ เช่น สลัด รสขม เผ็ด ร้อน ฝาด ใช้เกลือเพียงเล็กน้อย ไฟเบอร์สูง ไขมันต่ำ สุกพอประมาณ ช่วงเวลาที่เหมาะกับการรับประทานคือ 10.00-18.00 น. ทานอาหารเมื่อหิว ดื่มน้ำเมื่อกระหาย หลังทานอาหารควรเดินเล่น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่หนัก น้ำมันมาก เค็ม และเย็นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการดื่มช็อคโกแล็ตหรือไอสครีมในตอนกลางคืน และ การนอนหลังรับประทานอาหาร ชาวคัพพะเด่นสามารดื่มน้ำร้อน และ ไวน์ร่วมกับอาหารได้ อนึ่ง พลังคัพพะเพิ่มสูงในตอนเช้าตรู่ ตอน บ่ายใกล้ค่ำ และในฤดูหนาว จึงควรระวังเป็นพิเศษ ในช่วงนี้ หลีกเลี่ยงอาหารเช้าที่หนัก และมื้อดึก มีคำแนะนำ ให้อดอาหารอาทิตย์ละ 1 วัน
ผู้ที่มีสองโดชาเด่น
สำหรับผู้ที่มีสองโดชาเด่นจึงต้องระวังในช่วงเวลาที่มีการเพิ่มของโดชานั้นๆ เช่น ผู้ที่มีปกติเป็นวาตะ-ปิตตะ ในฤดูฝนหรือหนาว ปฏิบัติตามผู้ที่มีวาตะเด่น และในฤดูร้อนก็ปฏิบัติตามผู้ที่มีปิตตะเด่น ผู้ที่มีปกติเป็นปิตตะ-คัพพะ ในฤดูร้อนก็ปฏิบัติตามผู้ที่มีปิตตะเด่น ส่วนในฤดูฝนหรือหนาว ปฏิบัติตามผู้ที่มีคัพพะเด่น ผู้ที่มีปกติเป็นวาตะ-คัพพะ ในฤดูฝนหรือหนาว ปฏิบัติตามผู้ที่มีคัพพะะเด่น และในฤดูร้อนก็ปฏิบัติตามผู้ที่มีวาตะเด่น