เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือก (ตอนที่ 1)


รศ.ดร.อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชาเภสัชวินิฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 31,908 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 21/08/2554
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


เนื่องจากประเทศไทยมีการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นการแพทย์กระแสหลัก ดังนั้น การแพทย์อื่นๆ แม้แต่การแพทย์แผนไทยจึงถูกจัดว่าเป็นการแพทย์ทางเลือก แต่ก็นับว่าเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเอง และใช้เป็นเวชศาสตร์ป้องกันได้ รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ในธุรกิจบริการสุขภาพ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “สปา” อนึ่ง การแพทย์แผนไทยใช้สมุนไพรที่มีในประเทศไทยเป็นหลัก จึงเป็นการนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการดูแลสุขภาพในระดับบุคคล ถ้าคนไทยทุกคนมีสุขภาพดีด้วยสมุนไพรไทย จะช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ จึงเท่ากับได้ช่วยชาติในทางอ้อม
การแพทย์แผนไทยนั้นมีความเชื่อมโยงกับการแพทย์ของอินเดีย ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการได้รับการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรทวาราวดี (พ.ศ. 800-1400) ภาษาเขียนของคนในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากภาษาคฤณหรือปัลลวะ จากอินเดียตอนใต้ ซึ่งมีหลักฐานจารึก “เย ธัมมา” ที่องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม และที่อื่นๆอีกมากมาย ต่อมามีการปรับเปลี่ยนและลดรูปตัวอักษรของไทยจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม อย่างไรก็ดี การแพทย์แผนไทยมีหลักการแพทย์ที่สำคัญซึ่งตรงกับอายุรเวท และการแพทย์สิทธาของอินเดีย

รูปที่ 1 จารึก เยธัมมา ด้วยอักษรคฤณที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม


รูปที่ 2 ตัวอักษรไทยในปัจจุบันเทียบเคียงกับอักษรคฤณ หรือ ปัลลวะ

มนุษย์ประกอบด้วยไตรธาตุ
ตามหลักไตรธาตุ หรือ ไตรโทษะ (Tridosha) ของอายุรเวท มีหลักการว่า ร่างกายของมนุษย์จะเป็นปกติสุขได้นั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลย์ของระบบทั้ง 3 ในตัวบุคคลนั้น คือ วาตะ ปิตตะ คัพพะ บางทีเรียก กผะ (Kapha) และบางตำราเรียก ศเลษมะ (Slesama) ซึ่งตรงกับภาษไทยว่าเสมหะ ไตรธาตุของคนไทยจึงรู้จักกันในนาม วาตะ ปิตตะ เสมหะ โรคใดๆ ก็ตามที่การแพทย์ตะวันตกจัดเป็นโรคชื่อต่างๆ ในอดีตกาลและอนาคตกาล ล้วนตกอยู่ในระบบของ วาตะ ปิตตะ และ เสมหะ ทั้งสิ้น 
การแพทย์ตะวันออกมีแนวคิดว่าบุคคลไม่เหมือนกัน และมีความแตกต่างกันไปได้ตาม Prakruti (ปกติ) ของแต่ละคน เช่น อาจเป็นผู้ที่มีการทำงานของธาตุใดธาตุหนึ่งเด่น เช่น วาตะโดชาเด่น ปิตตะโดชาเด่น คัพพะโดชาเด่น หรือมีส่วนผสมของ 2 ธาตุเด่นกว่าอีกธาตุหนึ่ง เช่น วาตะ-ปิตตะ วาตะ-คัพพะ คัพพะ-ปิตตะ และมีการทำงานของทั้ง 3 ธาตุ สมดุลย์กัน รวมเป็น 7 ประเภท อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่า ประเภทใดจะดีกว่าใคร เพียงแต่ให้รู้ว่าควรจะประพฤติอย่างไรเพื่อช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุลย์ และแข็งแรง โดยมีลักษณะของธาตุทั้ง 3 ที่นำมาใช้สังเกตได้ (โดยย่อ) คือ

วาตะปิตตะคัพพะ
แห้ง*มันมัน
เบาเบาหนัก*
ไม่แน่นอนเอาจริงเอาจังสม่ำเสมอ
เคลื่อนที่ได้ของไหลเหนียวข้น
ผอมบางกรดหนาแน่น
หยาบของเหลวเรียบ
เร็วแหลมคมช้า
* เอกลักษณ์ของแต่ละธาตุ

ดูแลสุขภาพตนเอง
ดังนั้น เมื่อร่างกายมีความแห้งมากนั่นคือพลังวาตะสูงมาก เช่น ผิวแห้ง ผมแห้ง ปากแตก หรืออาการท้องผูก พลังปิตตะสูงเมื่อมีความร้อนสูง เช่นในกรณีที่เป็นไข้ หรือเกิดอาการอักเสบขึ้น และเมื่อรู้สึกว่าร่างกายหนัก แสดงว่ามีพลังคัพพะมากเกินไปทำให้น้ำหนักเกิน เซลลูไลท์ การบวมน้ำ หรือ ฉุ 
สภาวะปกติ (prakruti) ของแต่ละคนไม่เปลี่ยนแปลง แต่สภาวะของโทษะ (doshas) หรือความไม่ปกติ เปลี่ยนแปลงได้ ตามสภาพแวดล้อม พฤติกรรมและอารมณ์ของเรา รวมทั้งอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อความสมดุลย์และการแปรเปลี่ยนของการทำงานของระบบธาตุทั้ง 3 การที่แต่ละคนรู้จักธรรมชาติของตนเองจึงมีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ลม ซึ่งมีธรรมชาติคือความแห้ง เมื่อบุคคลใดมีวาตะโดชาเด่น จึงทำให้ผิวแห้งและแตกง่าย อีกลักษณะหนึ่งของลมคือความเย็น ดังนั้นคนที่มีวาตะเด่นจึงต้องทำตัวให้อบอุ่นอยู่เสมอ ปิตตะ คือความร้อน อาหารที่มีลักษณะที่มีความมัน รสจัด ร้อนและมีน้ำมัน จะเพิ่มพลังปิตตะ ทำให้ผิวมันและ เป็นสิว ผู้ที่มีปิตตะเด่น จึงต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความมัน และควรเลือกเครื่องเทศที่ให้ความเย็นและช่วยในการย่อยอาหารจำพวกไขมัน การนอนที่มากเกินไปเป็นธรรมชาติของคัพพะ จึงเพิ่มคัพพะโดชา ความเฉื่อยชาจะเพิ่มน้ำหนักตัว ดังนั้นผู้ที่มี คัพพะเด่นจึงต้องทำให้ร่างกายและจิตใจตื่นตัวอยู่เสมอ

บุคลิกลักษณะตามโดชา
เนื่องจากการทำงานของร่างกายขึ้นอยู่กับระบบวาตะ ปิตตะ และ คัพพะ ดังนั้น โดชาจึงกำหนดบุคลิกและลักษณะต่างๆ ของบุคคล

(ตอนต่อไป ท่านอยู่ในโดชาใด)

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


22 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้