Eng |
รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ และ รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ ** ภาคเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ** ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คำตอบ ใบและดอกกัญชามีสารออกฤทธิ์หลายชนิด รวมถึง THC ด้วย แต่ปริมาณ THC ที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับปริมาณกัญชาที่ใช้ และวิธีการปรุง อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบแม้จะช่วยเพิ่มความอยากอาหาร ทำให้รู้สึกอร่อยขึ้น แต่ก็สามารถทำให้เกิดอาการมึนงง อาเจียน ใจสั่น หน้ามืด เป็นลมขึ้นได้ เนื่องจากแต่ละคนมีการตอบสนองต่อ THC แตกต่างกัน ดังนั้น หากไม่ตั้งใจจะรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม ควรสอบถามผู้จำหน่ายถึงส่วนประกอบของอาหารก่อนทุกครั้ง
คำตอบ การใช้กัญชามีผลทำให้เกิดฤทธิ์กดสมอง ทำให้เกิดอาการง่วงซึม มีความสุข คลายเครียด เคลิ้ม และประสาทหลอนได้ แม้ว่าการทดลองใช้เพียงครั้งเดียวจะไม่ใช่การเสพติด แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการอยากทดลองหรือใช้ซ้ำเพื่อให้ได้ฤทธิ์ของกัญชาที่อยากให้เกิดขึ้น จึงสามารถพัฒนาไปเป็นการใช้อย่างต่อเนื่องจนเกิดการเสพติดได้ในที่สุด
คำตอบ สาร THC ในกัญชามีผลกดการทำงานของสมอง ให้เกิดอาการง่วงซึม เคลิ้ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทรงตัวลำบาก หรือหากใช้ปริมาณมาก ก็ทำให้เกิดอาการหลอนได้ (ปริมาณการใช้ที่จัดว่า “มาก” นี้มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล) โดยเฉพาะหากได้รับร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้น หากได้รับกัญชาเข้าสู่ร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ เพราะอาจทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ ช้าลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรที่ต้องอาศัยสมาธิหรือความตั้งใจสูงด้วย
คำตอบ การศึกษาทางการแพทย์พบว่า สารในกัญชามีผลต่อพัฒนาการของสมอง ทำให้ความจำแย่ลง รวมถึงทำให้ระดับสติปัญญา (IQ) ลดลง และทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำมีขนาดเล็กลงด้วย นอกจากนี้ เด็กหรือเยาวชนที่ใช้กัญชาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจิตเภทได้มากขึ้นด้วย ดังนั้น จึงไม่ควรให้เด็กหรือเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ทดลองใช้หรือใช้กัญชา เพราะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายทั้งระยะสั้นและระยะยาวมาก นอกจากนี้ สารในกัญชายังสามารถผ่านรกและน้ำนมได้ จึงมีผลต่อพัฒนาการของสมองของทารกในครรภ์ อาจทำให้ทารกมีระดับสติปัญญาที่วัดโดยใช้ค่า IQ ลดลงด้วย
คำตอบ ขณะนี้กัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์ค่อนข้างจำกัดอยู่เฉพาะในบางโรค บางสภาวะเท่านั้น ยาแผนปัจจุบันหลายชนิดมีผลช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ดีอยู่แล้ว โดยที่มีอาการไม่พึงประสงค์น้อย ไม่มีผลต่ออารมณ์หรือจิตใจ ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้ใช้กัญชาทดแทนยาแผนปัจจุบัน แต่อาจใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันได้ ทั้งนี้ ต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรให้ทราบทุกครั้งว่าใช้กัญชาอยู่ เนื่องจากสารในกัญชามีผลเปลี่ยนแปลงการทำงานของเอนไซม์ในตับที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพยาแผนปัจจุบันหลายชนิด จึงอาจส่งผลทำให้ผลการรักษาหรือการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ของยาแผนปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปได้
คำตอบ อาการพิษจากกัญชา ได้แก่ วิตกกังวล มึนศีรษะ ปากแห้ง เคลิ้ม หลอน กล้ามเนื้ออ่อนแรง การรับรู้ต่าง ๆ ผิดปกติ อาจพบการหัวเราะหรือพูดมาก ตาแดง หัวใจเต้นเร็ว อาเจียนรุนแรง ในบางรายอาจรุนแรงจนเกิดอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งปัจจุบันไม่มียาต้านพิษของกัญชาโดยตรง หากเกิดอาการพิษขึ้น การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละคน ทั้งนี้ หลังจากหยุดใช้กัญชาแล้ว อาการพิษจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 4-6 ชั่วโมง แต่ก็ยังต้องใช้เวลาเป็นวัน กว่าจะกลับมาเป็นปกติ
-