เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


Long COVID-19


อาจารย์ ดร.ภก. วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://st1.thehealthsite.com/wp-content...only&w=710
อ่านแล้ว 3,118 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 26/05/2565
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว
https://tinyurl.com/2kqlsk47
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/2kqlsk47
 

          เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมหลังจากรักษาโรคติดเชื้อ SARS CoV-2 หรือโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) หายแล้ว ยังมีอาการไอ หรือเหนื่อยเพลียอยู่ทั้งที่กักตัวครบ 10 วันแล้วและไม่มีสาเหตุอื่น องค์การอนามัยโลก (World health organization; WHO) ให้คำนิยามภาวะดังกล่าวว่า “Post COVID-19 condition” หรือที่เราเรียกกันว่า “Long COVID” หรือ “Post COVID syndrome” ซึ่งภาวะดังกล่าวจะปรากฏในผู้ที่มีประวัติยืนยันการติดเชื้อ SARS CoV-2 มักเกิดขึ้น 3 เดือนหลังมีอาการ และเป็นอย่างน้อย 2 เดือนโดยไม่สามารถหาสาเหตุอื่นได้ อาจเกิดต่อเนื่องจากการติดเชื้อหรือเกิดขึ้นภายหลังก็ได้เช่นกัน 

ภาพจาก : https://akm-img-a-in.tosshub.com/indiatoday/images/story/202105/Covid-protection.jpg?pQD451sl63bBhqLU8Gj7hAZP1oJX_tmi&size=1200:675 

          ปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกการเกิดของภาวะนี้อย่างแน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะมีการตอบสนองของร่างกายโดยการหลั่ง cytokine ชนิดต่าง ๆ ในระหว่างติดเชื้อไวรัส SARS CoV-2 ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด สมอง หัวใจ และเกิดอาการต่าง ๆ ตามมาภายหลังการติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยงที่พบในหลาย ๆ การศึกษาคือ ผู้ป่วยเพศหญิง อายุมาก ภาวะอ้วน มีโรคประจำตัว มีอาการมากกว่า 5 อาการในช่วง 1 สัปดาห์แรก เป็นต้น  

อาการ Long COVID ที่พบบ่อย

สำหรับอาการที่พบบ่อยในผู้ที่มีภาวะ Long COVID ได้แก่

  • เหนื่อยเพลีย
  • หายใจลำบาก
  • การทำงานของหัวใจผิดปกติ
  • ปัญหาเรื่องความจำและสภาพจิตใจ
  • การได้กลิ่นผิดปกติ
  • อารมณ์ผิดปกติ
  • นอนไม่หลับ

การรักษา  Long COVID

          แพทย์จะประเมินผู้ป่วยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุอื่นก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ Long COVID เมื่อวินิจฉัยภาวะ Long COVID แล้ว แพทย์จะประเมินระดับความรุนแรงตามอาการแสดงของผู้ป่วย และรักษาตามแนวทางปฏิบัติต่อไป 

          การรักษาโดยส่วนใหญ่จะเป็นการให้ความรู้เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจในภาวะดังกล่าว เพื่อเป็นการลดความเครียดและกังวลของผู้ป่วยและครอบครัวจากภาวะดังกล่าวด้วย โดยการรักษาจะเป็นการดูแลแบบองค์รวมกับสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งอาจจะมีทั้งการใช้ยา เช่น การใช้ยาในกลุ่ม Benzodiazepines ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนไม่หลับ และการรักษาที่ไม่ใช่ยา เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย จะแนะนำการทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย และการทำจิตบำบัดมาใช้ในการรักษาตามระดับความรุนแรงของผู้ป่วย เป็นต้น 

          จากการสำรวจของกรมการแพทย์พบว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อ SARS CoV-2 แม้ขณะติดเชื้อจะมีอาการไม่มาก แต่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาว ทำให้คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทั่วไปลดลงจากก่อนการติดเชื้อ แม้ว่าในระลอกนี้ (ตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคม พ.ศ.2565) จะเป็นการติดเชื้อ SARS CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่ค่อยมาก แต่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่พบภาวะ Long COVID ซึ่งจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาและอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาว 

          ถ้าท่านหรือคนใกล้ชิดติดเชื้อ SARS CoV-2 แล้วควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติอื่น ๆ ภายหลังการติดเชื้อ หากมีความผิดปกติควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนท่านที่ยังไม่เคยติดเชื้อดังกล่าว ควรยึดข้อปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA ได้แก่

Distancingเว้นระยะระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น
Mask wearingสวมใส่หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
Hand washingล้างมือบ่อย ๆ
Temperatureตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าใช้บริการ เพื่อคัดกรองผู้ที่อาจไม่สบาย
Testingตรวจหาเชื้อ SARS CoV-2
Applicationติดตั้งและใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” และ “หมอชนะ” ก่อนเข้า-ออกสถานที่ทุกครั้งและเข้ารับการฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม

หากรู้สึกมีอาการผิดปกติให้รีบพามาโรงพยาบาล รวมทั้งการใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยากับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ” 

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. กรมการแพทย์. การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย (Post COVID syndrome) หรือ ภาวะ Long COVID สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข [cited 2022 May 19]. Available from: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=157&fbclid=IwAR22ngEtAxRbwbDm0xXsGqVncXklWk9i_hK-WK3lE2UfZGO6kY2KsUqaF-A 
  2. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือประชาชนเคร่งครัดมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 [cited 2022 May 19]. Available from: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=18373&deptcode=brc 
  3. Raveendran AV, Jayadevan R, Sashidharan S. Long COVID: An overview. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews. 2021 May;15(3):869–75.
  4. WHO. A clinical case definition of post COVID-19 condition by a Delphi consensus, 6 October 2021 [cited 2022 May 19]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Post_COVID-19_condition-Clinical_case_definition-2021.1 
  5. Yong SJ. Long COVID or post-COVID-19 syndrome: putative pathophysiology, risk factors, and treatments. Infectious Diseases. 2021 Oct 3;53(10):737–54.

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


Long COVID-19 1 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คำเตือน บทความ/ข้อมูล/สื่อ ในรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและสังคม โดยไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือประกอบการทำใดๆ อันผิดกฎหมาย หากหน่วยงานใดมีความประสงค์ใช้สื่อทุกรูปแบบของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อเผยแพร่ในนามของหน่วยงาน ขอให้ติดต่อขออนุญาตมาที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ploypann.chi@mahidol.edu , kulwadee.kit@mahidol.edu) หากมีข้อสงสัยประการใดโปรดสอบถามที่โทร. 02 849 6056 - 7

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้